หัวข้อการวิจัย : การสร้างสื่อวีดีทัศน์เพื่อพัฒนาวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบงสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2
ชื่อผู้วิจัย : นางรพีพรรณ อุ่นนันกาศ
บทคัดย่อ
การสร้างสื่อวีดีทัศน์เพื่อพัฒนาวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบงสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 มีวัตถุประสงค์. เพื่อจัดทำกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเอง สำหรับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2โรงเรียนบ้านห้วยบงสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 และ เพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบงสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 ประกอบด้วย เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 12 คน จำแนกเป็นเด็กชาย 5 คน และเด็กหญิง 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเครื่องมือ คือ สร้างแบบสัมภาษณ์ลักษณะของเครื่องมือ มีจำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับสังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่2โรงเรียนบ้านห้วยบง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ฉบับที่ 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมด้านความอดทนอดกลั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับสังเกตสังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่2โรงเรียนบ้านห้วยบง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
โดยแบบสังเกตพฤติกรรมหาความเชื่อมั่น ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) แบบสอบถามฉบับ ที่ 1 ได้ค่าAlpha =0.984, แบบสอบถามฉบับที่ 2 ได้ค่า Alpha = 0.84การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows หาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า
การประเมินการสร้างสื่อวีดีทัศน์เพื่อพัฒนาวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบงสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 โดยในเรื่องความรับผิดชอบนั้นแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กอนุบาลปีที่ 2 ระดับคะแนนของพฤติกรรมก่อนการทดสอบ โดยรวมอยู่ในระดับที่ยังไม่มีการปฏิบัติเลย ( =1.31) แต่หลังจากมีการใช้ สื่อวีดีทัศน์เพื่อพัฒนาวินัยในตนเองไป พบว่า ระดับคะแนนพฤติกรรมความอดทนอดกลั้น มีระดับคะแนนของพฤติกรรมหลังการทดสอบเฉลี่ย 14 ครั้ง โดยรวมอยู่ในระดับที่มีการปฏิบัติ ( =2.39) ทั้ง 4 รูปแบบ คือ ระดับคะแนนเฉลี่ยการรักษาของส่วนรวมมีการปฏิบัติมาก ( =2.44) รองลงมาคือ การตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ( =2.38) และน้อยที่สุดคือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง ( =2.35) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาการกระจายของข้อมูลหลังการทดสอบ พบว่า ข้อมูลมีการกระจายมากที่สุด ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (S.D. = 0.23) และข้อมูลที่มีการกระจายน้อยที่สุด ได้แก่ การรักษาของส่วนรวม (S.D. = 0.18)
ส่วนเรื่องความอดทนอดกลั้นนั้นเด็กอนุบาลปีที่ 2 ระดับคะแนนของพฤติกรรมก่อนการทดสอบ โดยรวมอยู่ในระดับที่ยังไม่มีการปฏิบัติเลย ( =1.39) แต่หลังจากมีการใช้ สื่อวีดีทัศน์เพื่อพัฒนาวินัยในตนเองไป พบว่า ระดับคะแนนพฤติกรรมความอดทนอดกลั้น มีระดับคะแนนของพฤติกรรมหลังการทดสอบเฉลี่ย 14 ครั้ง โดยรวมอยู่ในระดับที่มีการปฏิบัติ ( =2.47) ทั้ง 3 รูปแบบ คือ ระดับคะแนนเฉลี่ยของการรู้จักรอคอย มีการปฏิบัติมาก ( =2.51) รองลงมาคือ การพากเพียรทำสิ่งยากจนสำเร็จ ( =2.48) และการควบคุมอารมณ์ตนเอง ( =2.41) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาการกระจายของข้อมูลหลังการทดสอบ พบว่า ข้อมูลมีการกระจายมากที่สุด ได้แก่ การรู้จักรอคอยและความพากเพียรทำสิ่งยากจนสำเร็จ(S.D. = 0.24) และข้อมูลที่มีการกระจายน้อยที่สุด ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ตนเอง (S.D. = 0.21)