Advertisement
|
เวลาที่ลูกป่วยไม่สบายทีไร ทำเอาหัวใจคุณพ่อ คุณแม่เต้นไม่เป็นจังหวะทุกที เพราะสงสารลูกและถ้าแลกได้ก็อยากจะเป็นคนป่วยแทนลูกซะเอง ยิ่งเวลาไปหาหมอ แล้วคุณหมอสั่งยามาให้ลูกหลายขนาน แต่เจ้าตัวเล็กกลับโยเยไม่ยอมทานยา แถมยังพ่นยาออกมา หรืออาเจียนเอาอาหารที่ทานเข้าไปแล้วออกมาด้วย ทำเอาคุณพ่อคุณแม่แทบจะเป็นลมเลยทีเดียว วันนี้ผู้เขียนจึงมีเทคนิคการป้อนยาลูกที่ได้ผลดีมาฝากท่านผู้อ่านครับ
เทคนิคการป้อนยาลูก
1. อธิบายให้ลูกฟังในภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย ว่าลูกไม่สบาย ถึงแม้ยาจะมีรสชาติขม แต่ยาก็จะช่วยทำให้ลูกหายป่วย ดังนั้นการบอกลูกให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการทานยาจะช่วยส่งผลให้ลูกมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทานยาตั้งแต่ต้น
2. ต้องตรวจดูฉลากยาให้ชัดเจน เกี่ยวกับปริมาณยา จำนวนครั้ง และเวลาที่ให้ด้วย อ่านคำอธิบายภายในกล่องอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพ้ยาไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม
3. ในกรณีเด็กเล็กมาก อาจผสมกับอาหารบด น้ำผึ้ง แยมหรือไอศกรีม เป็นต้น
4. ในกรณีเป็นยาเม็ดอาจต้องบด แล้วผสมกับอาหารได้
5. หลีกเลี่ยงการผสมยาลงในน้ำ หรือนม เพราะยาอาจตกตะกอนอยู่ก้นขวด หรือจับตัวติดที่ข้างขวด และในบางครั้งเด็กอาจทานไม่หมด ทำให้ได้รับปริมาณยาไม่ครบถ้วน
6. หากเป็นยาน้ำต้องเขย่าขวดก่อนทานยา ใช้หลอดสำหรับป้อนยา คล้ายยาหยอดตา หลอดฉีดยา ในกรณีใช้ถ้วยป้อนยา หรือช้อนป้อนยาอาจทำให้เด็กรับรู้ถึงรสชาติได้มากกว่าหลอดฉีดยา
|
7. คุณพ่อ คุณแม่ต้องใช้ความอดทน เพราะการแสดงความโกรธจะทำให้ลูกดื้อและต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม
8. หากลูกเป็นเด็กเล็กอาจอุ้มในท่าที่สะดวก และปลอดภัยไว้ในวงแขน และให้ลูกเล่นของเล่นที่ชอบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ลูก
9. การให้ยาเด็กเล็กหรือเด็กวัยเตาะแตะ ควรเป็นยาน้ำเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาตรง ๆ กับลิ้น โดยการป้อนยาทางกระพุ้งแก้ม เพื่อลูกจะไม่ต้องลิ้มรสขมของยามากนัก และจะช่วยไม่ให้ลูกพ่นยาออกมา
10. เมื่อลูกทานยาได้ ให้ชมลูกทันที หรือ ให้รางวัล โดยการอ่านหนังสือเล่มโปรดให้ลูกฟัง หรือป้อนอาหารที่ลูกชอบ
11. อาจพูดคุยกับคุณหมอ ในตัวยาบางประเภทที่มีรสชาดิขม ว่าสามารถเพิ่มรสหวานลงไปได้หรือไม่
12. อาจให้ลูกบีบจมูกในขณะที่ทานยาเพื่อลูกจะไม่รับรู้รสชาดิของยา และนั่นจะเป็นการช่วยในการลดการรับรู้รสชาดิของยา
13. เตรียมน้ำไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ต้องทนกับรสชาติขมของยานานเกินไป และอาจให้เด็กได้ทานขนมที่ชอบโดยตกลงกันก่อนทานยา
14. การให้ลูกแปรงฟันหลังจากทานยาก็จะช่วยลบรสชาติขมของยาได้บ้าง
15. ควรเก็บยาไว้ในที่ปลอดภัยและพ้นจากมือเด็ก
ผู้เขียนเชื่อว่าทั้ง 15 วิธีในการป้อนยาเจ้าตัวเล็กนี้ จะช่วยลดปัญหาในการที่เจ้าตัวเล็กวิ่งหนี หรือแอบไปซ่อนตัวเมื่อถึงเวลาต้องทานยาได้อย่างแน่นอน…ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุก ๆ ท่านครับ
|
|
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000155960
อันดับในชาร์ท: 0
วันที่ 23 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,419 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,330 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,957 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,033 ครั้ง |
เปิดอ่าน 146,937 ครั้ง |
|
|