รางวัลเกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา 2005
|
ดร.เทพ พงษ์พานิช (รุ่น 32)
|
เมื่อผ่านประตูใหญ่เข้ามาสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สิ่งที่สดุดตาคือที่ป้ายสี่แยก มีข้อความ
“ Welcome to Maejo University, The Home of Cowboys.”
ดร. เทพ พงษ์พานิช
ได้ให้ความหมายและเน้นให้พวกเรา ” เคาบอยแม่โจ้”
ต้องมีและต้องจดจำไว้คือ
มีความเป็นสุภาพชน
มีความอดทน
เป็นคนขยันขันแข็ง
มีความคิดสร้างสรรค์
มีน้ำใจ มีวินัย สามัคคี เคารพผู้อาวุโส
มีวิญญาณของนักสู้ที่กล้าหาญ
ชาญฉลาดต่อการแก้ไขปัญหา ดุจดังลูกแม่โจ้
ในวาระครบรอบ 70 ปี แม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดงาน รำลึกสู้อ้อมอกแม่โจ้ 70 ปี ระหว่างวันที่ 5 -12 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ณ สนามอินทนิล มิศิษย์เก่าแม่โจ้มาร่วมงานเป็นพิเศษในวันรำลึกความหลัง คืนวันที่ 10 ธันวาคม มีศิษย์เก่าและครอบครัวมาร่วมงานมากกว่า 5,000 คน ถือเป็น HomeComing Night เพื่อรำลึกถึงแม่ผู้ให้ความรู้ (Alma Mater) ได้มีพิธีเปิดลานจัตุรัสนานาชาติและหอเกียรติยศ (Maejo Hall of Fame) มีรูปปั้น “ เคาบอยโจ้” อยู่หน้าหอเกียรติยศ และถือเป็นงานประวัติศาสตร์ของพวกเราชาวแม่โจ้ที่สำคัญยิ่งอีกงานหนึ่ง
มีการจัดทำ String tie และหมวกเคาบอยสำหรับจำหน่ายให้แก่ศิษย์เก่า เป็นสัญญาลักษณ์ Maejo Cowboy ทำให้ คำว่า เคาบอยแม่โจ้ แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
***
หากมองย้อนกลับไป ในยุคที่ คุณพระช่วงฯ เริ่ม สร้างแม่โจ้ นั้น พวกเรา ชาวแม่โจ้ได้เรียนรู้ปรับตนเองมากมายหลายอย่าง
จากข้อคิดเห็นของศิษย์เก่า รุ่น 2
ถมยา บุณยเกตุ กล่าวว่า
แม่โจ้ได้ให้อะไรแก่ข้าพเจ้ามากมาย เช่น
1.ให้ความรู้ ปัญญา และความสามารถในวิชาการเกษตรเกือบทุกสาขา ติดตัวไปเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทางพืชหรือสัตว์และปศุสัตว์
2.สอนให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความมานะ อดทน บึกบึน ต่อสู้กับงาน สามารถทำงานได้ทุกชนิด ไม่เลือกงาน มีความเพียรพยายามจนเป็นผลสำเร็จ
3. สอนให้เป็นผู้รู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ (Sense of Responsibility)
4. มีความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้วิชาและอบรมสั่งสอน (Seniority)
5. มีใจรักเพื่อนฝูง และหมู่คณะ (Unity)
6. รักศักดิ์ศรี รู้จักสิทธิและหน้าที่ของการงานเป็นนักเรียนในสถาบันแม่โจ้ (Honour)
7. สอนให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา (Order)
ฯลฯ
ฉะนั้นเปรียบเสมือน แม่โจ้เป็นช่างปรุงแต่งให้นักเรียนพร้อมที่จะรับและเผชิญกับงานการทุกชนิด โดยมีความอดทนและมั่นใจเสมอ ไม่มีการย่อท้อ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลของงานปรากฏว่าสำเร็จเสมอ เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของนักเรียนแม่โจ้
*****
จะเห็นว่ากว่าจะมาเป็น แม่โจ้เคาบอย ได้นั้น แม่โจ้ได้หล่อหลอมบุคลิกความเป็น แม่โจ้ มากนานแสนนาน หลายรุ่น สืบทอดต่อๆกันมาโดยเฉพาะอาจารย์ประสงค์ วรยศ รุ่น 14 ที่จบปริญญาโท จากเท็กซัส ได้นำเอาเรื่องราวเคาบอย การแต่งกาย และตำนานเคาบอยตะวันตกมาเล่าให้พวกเราฟัง สร้างฝันและจุดประกายเคาบอยให้ลูกศิษย์ซึมซับมากมาย และในจำนวนนั้นก็มี ดร.เทพ พงษ์พานิช รุ่น 32 และได้ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา และได้ผูกพันธกิจทางการศึกษากับมหาวิทยาลัย Oklahoma State University จึงทำให้ความหมายและอัตตลักษณ์ ของ เคาบอย หรือ คาวบอย แม่โจ้ เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 2004 ซึ่ง มาจนถึง รุ่น 70 จึงได้มาเป็น แม่โจ้ เดอะโฮมออฟเคาบอย ( Maejo University, The Home of Cowboys) ได้ในวันนี้
*****
|
Frank Eaton |
มื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2547 ได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา โดย ดร. เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เดินทางไปทำความตกลงพันธกิจความผุกพันทางการศึกษาด้วยตนเอง
โอกลาโฮมาเป็นมลรัฐหนึ่งที่มีตำนานเกี่ยวกับการอพยพของผู้คนในอดีตเพื่อแสวงหาอิสรภาพและที่ทำกิน เรื่องราวของอินเดียนแดงและเคาบอยมีมากมาย ให้เห็นทั้งจากภาพยนตร์และหนังสืออ่าน ผู้รักษากฎหมายหรือมือปราบที่ดีๆผู้คนชื่นชอบ จนกระทั่งมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมานำมาเป็น สัญญาลักษณ์ (mascot) เพื่อให้นักศึกษาได้ระลึกถึง คนดีที่สังคมต้องการ นั่นคือภาพของ Frank Eaton นักสู้ผู้พิทักษ์คุณธรรมแห่งโอกลาโฮมา และก็เป็น เคาบอยในดวงใจ ของ Oklahoma State University ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา ตลอดมาจนตราบทุกวันนี้
คณาจารย์จากแม่โจ้หลายท่านก็ได้ไปเรียนต่อที่โอกลาโฮมาและกลับมาเป็นผู้บริหารที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้หลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ดร. ธรรม เทศนา ดร. สุรพล สงวนศรี ดร. สราญ เพิ่มพูน และ ดร. เทพ พงษ์พานิช อธิการบดี คนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันนี้
ในปี พ.ศ. 2547 คำว่า เคาบอยแม่โจ้ จึงเป็นรูปธรรมให้เห็นมากขึ้น เมื่อมหาวิทยาลัย จัดงานฉลองครบรอบ แม่โจ้ 70 ปี มีคำว่า Welcome to Maejo University, The Home of Cowboys เด่นสดุดตา อยู่ที่ด้านหน้าประตูเข้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ดร. เทพ พงษ์พานิช ในฐานะหน้าที่ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นผู้ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลเกียรติ์ยศประจำปี 2548 จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา
(2005 Distinguished Alumni Award. Dr. Thep Phongpanich,Ed.D. 1978, Maejo University,Chiang Mai, Thailand) จึงทำให้แม่โจ้เคาบอย เป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
คำว่า Maejo University, The Home of Cowboys จึงเป็นที่รู้จักแก่คณาจารย์นักศึกษามหาวิทยาลัยโอกลาโฮมามากขึ้นและคงเป็นเคาบอยคู่แฝดระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย ภาพของเคาบอย Frank Eaton ที่ได้ชื่อใหม่ว่า “ Pistol Pete ” เป็นสัญญาลักษณ์ฝังใจของบรรดาชาวโอกลาโฮมาและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา ได้แผ่ขยายความหมายเกิดความผูกพันมายังเพื่อน“ เคาบอยแม่โจ้” (OSU Cowboy.The original Pistol Pete, (Frank Eaton)has inspired many OSU alumni to retain their bonds with Oklahoma State University .His legacy is now extended to looking over the Maejo Cowboys as well as the OSU Cowboys.) เป็นความผูกพันที่สองมหาวิทยาลัยจะร่วมมือทำงานร่วมกันตลอดไป.
***
|
คำไว้อาลัย
แด่อาจารย์ผู้มีวิสัยทัศน์เพื่อแม่โจ้์
ผมเขียนเรื่องราวต่อไปนี้ถือว่าเป็นตัวแทนแม่โจ้รุ่น 32 ทุกคนด้วย ถือว่าได้มีส่วนร่วมในการที่กล่าวถึงอาจารย์ืประสงค์ วรยศ ผู้ซึ่งพวกเรารู้จักท่านดี ในช่วงปี พ.ศ 2510 ที่รุ่น 32 เข้ามาเรียนแม่โจ้เป็นครั้งแรก แต่ว่าใครจะเรียนอยู่แม่โจ้ต่อไปอีก 3 ปี (ปวช.) หรือ 5 ปี (ปวส.) ในขณะนั้น็้แล้วแต่
ภาพของอาจารย์ประสงค์ ในขณะนั้นในความรู้สึกของพวกเราและได้เห็นด้วยตาของพวกเราทุกคน รู้สึกเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ได้พบเห็นอาจารย์หนุ่มโสด(ในขณะนั้น) ของแม่โจ้สร้างสีสันสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน สร้างชีวิตให้มีชีวาของนักศึกษาแมโจ้ขณะนั้น ท่านจะคอยพูดกระตุ้นให้เราฟังๆแล้วจะรู้สึกรักแม่โจ้ทันที ที่สำคัญอยากไปเรียนเมืองนอกด้วย ศิษย์หลายคนไปเรียนสหรัฐอเมริกาเพราะไปตามกระแสกระตุ้นความคิดจากอาจารย์ผู้นี้ รวมถึงตัวผมและเพื่อนร่วมรุ่นอีก 4-5 คนด้วย
อีกภาพท่านคือ Cowboy ยุคบุกเบิกความเป็น Cowboy Maejo ที่แท้จริงศิษย์หลายคนสืบทอดความอยากเป็น Cowboy เหมือนท่าน ในปี พ.ศ 2522 ผมกลับจากสหรัฐฯ มาทำงานที่แม่โจ้เป็นครั้งแรก(ภายใต้การชักชวนและสนับสนุนของท่านอาจารย์ประสงค์ ท่านนี้เอง) ผมก็มีส่วนช่วยนำตำนาน Cowboy มาเสริมแต่งตอกย้ำ้ความเป็นบรรยากาศ Cowboy Maejo ให้ดูหนักแน่นขึ้น ผมใช้เวลาในช่วง พ.ศ 2522-2535 พยายามสร้างคำว่า Maejo "The Home of Cowboys" ให้ชินกับสายตาของนักศึกษาและผุ้พบเห็นและเป็นที่ยอมรับและเข้าใจในระดับหนึ่งของชาวแม่โจ้และคนทั่วไปของประเทศ
ผมมาทำงานแม่โจ้ใหม่ๆ (พ.ศ. 2522) ในฐานะอาจารย์ใหม่ตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ท่านได้มอบความไว้วางใจให้ทำงานแปลกใหม่หลายเรื่อง แม้แต้แต่งาน "ผู้บริหาร "ท่านก็ให้ผมเข้าไปรับรู้ ทั้งประชุมร่วมกับผู้บริหารอาวุโสในขณะนั้นไว่ว่าจะเป็น ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศาสตราจารย์พิเศษยรรยง สิทธิชัย และตัวอาจารย์ประสงค์เอง (ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองอธิิการบดีในขณะนั้น) จากจุดนั้น ได้มีส่วนสร้างความเป็น "ผู้บริหาร" ให้แก่ผมเป็นอย่างมาก เพราะได้เรียนรู้วิธีการ ขั้นตอนและความคิดต่างๆจากท่านและอาจารย์อาวุโสเหล่านั้นในขณะนั้น
ในช่วง 10 ปีหลัง ผมไม่ค่อยมีโอกาสรับใช้ท่านอาจารย์มากนักอย่างมากได้แต่ยกมือไหว้เมื่อพบท่าน สืบเนื่องจากภาระงานหน้าที่การงานที่แยกออกไป การจะไปมาหาสู่ที่บ้านท่านก็กระทำไปไม่ค่อยได้และสะดวกนักด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ - ในใจของศิษย์ผู้นี้ยังระลึกถึงท่านและจะพูดกับใครต่อใครเสมอว่า ท่านได้มีส่วนสร้างผมขึ้นมา และผมมาอยู่แม่โจ้เพราะท่าน ท่านพบผมที่อเมริกาในช่วงที่ท่านไปดูงานที่นั่นท่านบอกผมว่า "เทพ ไปช่วยกันสร้างแม่โจ้" ผมตอบไปว่า "ครับ" ทั้งๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปแม่โจ้จริงหรือเปล่า เพราะขณะนั้นยังเรียนปริญญาโทอยู่ที่ Missisippi แต่ปี พ.ศ 2521 ขณะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่ Oklahoma ท่านได้ตอกย้ำชวนอีกครั้ง ทำให้ผมเริ่มคิดว่า ฟ้าเคยส่งให้อาจารย์มาเกิดเพื่อแม่โจ้ แล้วตอนนี้ดูเหมือนว่าฟ้ากำลังส่งให้ผมมาเกิดเพื่อแม่โจ้อีกหรือเปล่า เหมือนมีสิ่งดลใจ จึงทำให้ผมตัดสินใจเร็วขึ้นที่จะมาอยู่แม่โจ้
ขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์จงมีความสุขในสรวงสวรรค์ และคุ้มครองแม่โจ้ "The Home of Cowboys" ซึ่งครั้งนั้นอาจารย์เคยได้สร้างและสานความคิดไว้ให้รุ่งโรจน์ต่อไป พวกผมและศิษย์ทั้งหลายก็คงได้สานความคิดของอาจารย์ต่อไปเท่าที่โอกาสและความสามารถจะมีอยู่ ฟ้าเคยส่งอาจารย์มาเกิดเพื่อแม่โจ้ บัดนี้ไม่มีอาจารีย์แล้ว ผมคิดว่าฟ้งยังคงดูแลแม่โจ้อยู่่และส่งคนมาเกิดช่วยสานวิสัยทํศน์ของอาจารย์ต่อไปอีกนาน
ด้วยจิตคารวะของศิษย์เก่ารุ่น 32 ทุกคน
รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช
|