ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทความเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผู้เรียนในการส่งเสริมการศึกษา


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,142 ครั้ง
Advertisement

บทความเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผู้เรียนในการส่งเสริมการศึกษา

Advertisement

 

บทความเรื่อง

การมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผู้เรียนในการส่งเสริมการศึกษา

โดย  สมปอง  จันทคง 

--------------------------------------

ความเป็นมาและความสำคัญ

                พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ทรงพระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่  12  ธันวาคม  2510  แก่ผู้สำเร็จการศึกษา    วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร  หรือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรในปัจจุบัน  ความตอนหนึ่งว่า  (กระทรวงศึกษาธิการ.  2550  :  95) 

 

“…งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ

เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น  ขึ้นอยู่กับการศึกษาของชาติเป็นข้อใหญ่

ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว  ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้น

อย่างรวดเร็ว  ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า  พลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทราม

ลงไปในความประพฤติและจิตใจ  ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก  ถ้าหากยังเป็นอยู่ต่อไป

เราอาจจะเอาตัวไม่รอดปรากฏการณ์เช่นนี้  นอกจากเหตุอื่นแล้ว

ต้องมีเหตุมาจากการจัดการศึกษาด้วยแน่นอน

เราต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น…”

 

                แม้จะทรงพระราชทานไว้นานแล้ว  แต่ยังสามารถนำมาใช้เป็นข้อคิดในการพัฒนาการศึกษาของชาติให้เจริญก้าวหน้าได้โดยอาศัย  การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม

 

                    การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม  เป็นแนวคิดทางการบริหารจัดการการศึกษาที่เป็นนโยบายแห่งรัฐ  ที่มีมานาน และโดดเด่นมาก  ในนโยบายกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลหลายชุดรวมถึงชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการศึกษา  ข้อ  1  และ  ข้อ  2   กล่าวถึงการมีส่วนร่วมทั้งของภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริงเพื่อพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ  เพื่อสนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ 

      การมีส่วนร่วมในการศึกษา  มีหลายลักษณะ หลายรูปแบบวิธีการ บางคนเพียงบริจาคเงินช่วยเหลือโรงเรียน ให้คำปรึกษาแก่โรงเรียน หรือแม้แต่ช่วยประชาสัมพันธ์ กิจการของโรงเรียน เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนร่วม แต่จะมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ด้วยหรือไม่นั้นก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  (มานะ  ทองรักษ์.  2548  :  1-2)  มีข้อสังเกตดังนี้

       1.  การมีส่วนร่วมโดยตรง   เป็นการมีส่วนร่วมในรูปของกรรมการที่ปรึกษา ที่จะให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะ เพราะกิจกรรมบางอย่างอาจมี อุปสรรคไม่สามารถ แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงจำเป็นต้องให้บุคคลอื่นเข้ามาร่วมในการตัดสินใจ เพื่อให้ผลการ ตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ   แก่คนทั่วไปหรือเกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมโดยตรงจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ว่า เป็นการร่วมอย่างมีระบบ  มักทำเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลเข้ามามีส่วนร่วม         ในการตัดสินใจเรื่องใดก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจาก การตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น

      2. การมีส่วนร่วมโดยอ้อม   เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายอย่างไม่เป็นทางการ   ให้การสนับสนุน  ส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย  เช่น การบริจาคเงินทรัพย์สิน วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน เข้าช่วยสมทบ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่ยินดีร่วมมือ เป็นต้น  

      เงื่อนไขของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของครอบครัวและชุมชน  มีรายละเอียดดังนี้
                    1.  การสร้างบรรยากาศในการจัดการศึกษาต้องเป็นแบบประชาธิปไตย  

      2.  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปแบบมีส่วนร่วม

      3.  การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

      4.  สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในครอบครัว  และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 

 การมีส่วนร่วมนั้นจะกระทำโดยตรงหรือโดยอ้อมตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบลักษณะใด ๆ ก็ตาม จะปรากฏผลเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 

                   1.   การมีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ (Constructive Participation) คือการมีส่วนร่วมที่ทั้งสองฝ่ายต่างมองโลกไปในทางที่ดี พร้อมที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ด้วยการปรับทัศนคติเข้าหากันเกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและหาข้อยุติต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การร่วมมือร่วมใจบนพื้นฐานที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพึงพอใจ การมีส่วนร่วมในลักษณะนี้จะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าและเป็นสิ่งที่สังคมพึงปรารถนา
                   2.   การมีส่วนร่วมที่มีความขัดแย้ง (Conflictive Participation) คือการมีส่วนร่วม             ที่ทั้งสองฝ่ายมีอคติต่อกัน เป็นการมองโลกในแง่ร้าย เมื่อมีโอกาสเผชิญหน้ากันจะพยายามหักล้างความคิดซึ่งกันและกันโดยไม่มีการปรับทัศนคติเข้าหากัน จึงยากที่จะหาจุดร่วมให้เกิดความพึงพอใจกันได้ การร่วมมือร่วมใจจึงแอบแฝงไว้ซึ่งความไม่จริงใจต่อกันในการดำเนินกิจกรรม                 ความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่มีคน 2 คนขึ้นไปทำงานร่วมกัน ดังนั้น ที่ใดมีสังคมมนุษย์ที่นั้นย่อมมี            ความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ เพราะในแต่ละสังคมมีพื้นฐานหลายอย่างแตกต่างกัน เช่น เพศ วัย ความรู้ ความสามารถ อาชีพ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น ปรัชญาของความขัดแย้งเห็นว่าความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ไม่ควรจะหลีกเลี่ยงแต่เราต้องเผชิญกับมันและยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหา  จึงกล่าวได้ว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ ความขัดแย้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบางครั้งเป็นไปในทางสร้างสรรค์แต่บางครั้งก็เป็นการทำลาย (เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์.  2540  :  27)  การบริหารหากเข้าใจสมมติฐานและกระบวนการของความขัดแย้งย่อมอยู่ในฐานะได้เปรียบในการแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ดี     การขจัดความขัดแย้งในภาวะของการมีส่วนร่วมในการบริหารนั้น จะต้องพิจารณาว่าเกิดจากปัญหาใด อย่างไรก็ตามสามารถพิจารณาได้ดังนี้
                   1.  นโยบายจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้
                   2.  จัดหาทรัพยากรในการบริหารให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ

                   3.  การแต่งตั้ง การเลือกสรรบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งจะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและ ให้เกิดความยุติธรรม
                   4.  การประนีประนอม
                   5.  หลีกเลี่ยงการขัดแย้ง
                   6.  ระบบการสื่อความหมายจะต้องชัดเจน
                   7.  ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น ให้เป็นไปในทางเดียวกัน ดังที่กล่าวกันว่า พูดภาษาเดียวกัน

          ผลดีของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม

                   1. เป็นการสร้างสรรค์ให้มีการระดมสรรพกำลังจากบุคคลต่าง ๆ เช่น พลังความคิด สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ เป็นต้น
                   2. เป็นการสร้างบรรยากาศและพัฒนาประชาธิปไตยในการทำงาน
                   3. ช่วยให้ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน เพราะเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันมีส่วนช่วยให้ประสานงานกันดี
                   4. การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจะทำให้งานมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดี เพราะจะมี ความรับผิดชอบ
                   5.  ผลงานที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่บุคลากร เพราะทุกคนมีส่วนร่วม ในความสำเร็จของงาน
                   6.  ช่วยให้การทำงานสำเร็จลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะมีการแบ่งหน้าที่กันทำ
                   7.  สร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ


          ข้อจำกัดของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่หลายประการก็ตาม แต่ก็มีข้อเสียและข้อจำกัดดังนี้
                   1.  การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในการจัดการศึกษา อาจเกิดความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับฝ่ายบริหารซึ่งอาจทำให้กิจกรรมนั้นล่าช้าหรือล้มเหลวได้
                   2.   การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการการจัดการศึกษา  อาจเป็นช่องทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดกลุ่มอิทธิพลที่ใช้พลังของกลุ่มไปในทางไม่สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ    พวกพ้องขึ้นได้
                   3.   การมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจและรับผิดชอบจะทำให้ตนเองสูญเสียอำนาจ
                   4.   การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมไม่สามารถนำไปใช้กับงานที่เร่งด่วนได้ เพราะต้องใช้เวลามาก

                   5.   การมีส่วนร่วมในบางกรณีต้องใช้งบประมาณมาก ดังนั้นต้องคำนึง ผลตอบแทนว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุกหรือไม่
                   6.   การคัดเลือกผู้เข้ามาร่วมงาน ถ้าได้บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถและ                 ความเหมาะสมกับงาน อาจจะทำให้เกิดการเสียเวลาและยุ่งยากในภายหลัง
                   7.   ความคิดเห็นของบุคคลภายนอก โดยเฉพาะประชาชน อาจไม่ได้รับการยอมรับ เท่าที่ควร
                   8.   การไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่มักจะทำให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีกระบวนการ  ดังนี้

     1.  การร่วมคิดวางแผน  (Planning Participation)   โดยมีส่วนร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา   ร่วมจัดลำดับความสำคัญของปัญหา    ร่วมคิดเสนอแนวทางแก้ปัญหา    ร่วมกำหนดความต้องการของพ่อแม่  ผู้ปกครอง  และชุมชน    ร่วมตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม    ร่วมเสนอโครงการ / แผนงาน / กิจกรรม  มีแนวทางการดำเนินการดังนี้

                          1) การสร้างความตระหนักให้แก่ ครู  บุคลากร  พ่อแม่  ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียน  และผู้นำชุมชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามากขึ้น 

           2) การสร้างความเข้าใจให้ให้แก่ ครู  บุคลากร  พ่อแม่  ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียน  และผู้นำชุมชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

     2.   การร่วมทำ  (Implementing Participation)  ให้ทุกภาคส่วนส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในงานด้านวิชาการ  ด้านงบประมาณ  งานบริหารบุคคล  และงานการบริหารทั่วไป  โดยมีส่วนร่วมเกี่ยวกับ   ร่วมแรงในการดำเนินงาน    ร่วมใจหรือการสนับสนุนให้กำลังใจ   ร่วมสนับสนุนทรัพยากร   และร่วมบริหารงาน เช่น ระดมทรัพยากร จัดสรรทรัพยากร แก้ปัญหาและประสานงาน

     3.  ร่วมประเมินผล   (Evaluation  Participation)   โดยมีส่วนร่วมในเรื่อง ดังนี้   ติดตามความก้าวหน้า  ความสำเร็จ    สรุปผล   รายงานผลการดำเนินงาน  การบริหารงาน ในด้านวิชาการ  ด้านงบประมาณ  งานบริหารบุคคล  และงานการบริหารทั่วไป

     4.  การร่วมรับผลแห่งความสำเร็จ  ในการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน   ทุกฝ่ายต้องได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ซึ่งเกิดความภาคภูมิใจในกระบวนการมีส่วนร่วมและผลงานที่เกิดขึ้น ต้องส่งผลไปถึง นักเรียน  สถานศึกษา พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และชุมชน

 
                   กล่าวโดยสรุป   การมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น มีตั้งแต่อดีตที่ยังไม่มีการศึกษาเป็นวิทยาการ   ดังจะเห็นได้จากการสร้างกำแพงเมืองจีน พีระมิด หรือการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังของไทย  รวมทั้งที่ปรากฏในวรรณคดีด้วย  เช่น  เรื่องราเกียรติ์ตอนพระรามจองถนนเพื่อลงไปยังกรุงลงกา  (เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์.  2541  :  2)  การมีส่วนร่วมบริหารจัดการได้มีพัฒนามาเป็นลำดับ ซึ่งมีทั้งแบบสร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณีแตกต่างกันจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะใช้ภาวะ           ของการเป็นผู้นำ ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ จึงจะทำให้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมบรรลุเป้าหมายในที่สุด

      การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่หลักของรัฐที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศได้รับอย่างทั่วถึงและครบถ้วน  นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการยุคปัจจุบัน  (2552)                        ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา  มี  8  ประการ  คือ

 

1.       ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ  โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ  ปรับปรุง

กฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและระดมทรัพยากรเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงระดับอุดมศึกษา  พัฒนาครู  พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย  พัฒนาหลักสูตร  ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน  พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  ปรับปรุงบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต  ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

2.       ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ  โดยมุ่งเน้น

ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา  เพื่อสนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

3.       พัฒนาครู  อาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  เพื่อให้ได้ครูดี  ครูเก่ง  มีคุณธรรม 

มีคุณภาพ  และมีวิทยฐานะสูงขึ้น  ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน  มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้  และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู  ควบคู่กับการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

4.       จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี  15  ปี  ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึง

มัธยมศึกษาตอนปลาย  พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาการในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้  ผู้พิการ  หรือทุพพลภาพ  ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก  ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา  และชนต่างวัฒนธรรม  รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

5.       ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความ

เป็นเลิศ  โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น  โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทน  และความก้าวหน้าของงาน  ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและการพัฒนา

6.       ปรับปรุงระบบบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  ให้มีการประนอม

ไกล่เกลี่ยหนี้  รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

7.       ส่งเสริมให้เด็ก  เยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ

เชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด  เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

8.       เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษา

และในชุมชน  โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนในการบูรณาการทุกมิติ  และยึดเกณฑ์การประเมินผลของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาโดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว  สถาบันการศึกษา  และสถาบันทางศาสนา        

 

      จากนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบมี          ส่วนร่วม  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ชุมชน  มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนที่เป็นบุตรหลานและเยาวชนของชุมชน  สังคม  ประเทศชาติ  หน้าที่หลักของพ่อแม่ผู้ปกครองจึงมีบทบาทในการจัดการศึกษา  (Jack L. Nelson,  Stuart B. Palonsky and Mary Rose McCarthy.  2006  :  415-425)  กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

      1.  สิทธิของครอบครัวในการอบรมสั่งสอนดูแล   (Parental Right)   

                            1.1  ครอบครัวมีคุณธรรมจริยธรรม  ปฏิบัติตนถูกกฎหมาย  มีสิทธิตามกฎหมาย  ให้การสนับสนุนบุตร  หลาน  เยาวชนให้ได้รับการศึกษาทั้งระบบ  คือตั้งแต่ระดับการศึกษา                  ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา  ตามควรแก่ฐานะ  ความต้องการ  ความรู้  ความสามารถ  ความสนใจและความถนัดของบุตรหลานและเยาวชน              

                         1.2  ครอบครัวมีภาระหน้าที่ดูแลบุตรหลาน  พิทักษ์สิทธิของบุตรหลาน  เปิดโอกาสให้บุตรหลานได้เข้าถึงการศึกษาทุกระดับ  ถือเป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่ครอบครัวจะต้องรับผิดชอบช่วยเหลือ

                          1.3  ครอบครัวต้องจัดให้บุตรหลานมีความปลอดภัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  จิตวิญญาณ  มีศีลธรรม  มีปัจจัย  4  คือ  อาหาร  เสื้อผ้า  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  ที่จะสนองต่อ      ความต้องการพื้นฐาน               

                          1.4  ครอบครัว  มีคุณธรรมจริยธรรม  มีภาระหน้าที่  และสิทธิในการอบรม          สั่งสอน  การตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูก  สิ่งที่ดีให้แก่บุตรหลาน  อย่างชาญฉลาดของครอบครัวจะส่ง ผลดีต่อบุตรหลานได้  

                          1.5  ครอบครัวมีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้บุตรหลานเป็นคนดีของครอบครัว  ชุมชน  และสังคม   มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  อันได้แก่     มีคุณธรรม  ซื่อสัตย์  สุจริต  มีคารวะธรรม  ภายใต้กฎหมาย  ครอบครัวสามารถช่วยอธิบายให้บุตรหลานเข้าใจในภาระหน้าที่ของตนต่อสังคม

 

                     ครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วม  การให้การสนับสนุนทั้งด้าน          การสนองตอบ  ความต้องการจำเป็นพื้นฐานด้านปัจจัย  4   การส่งเสริมความประพฤติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมอันพึงประสงค์   รวมทั้งการให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้  ซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยตรงของครอบครัว  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน  ทั้งในระบบและนอกระบบ  สิ่งที่พ่อแม่  ผู้ปกครอง  หรือครอบครัวสามารถให้การสนับสนุนส่งเสริมและมีส่วนร่วมทางด้านการศึกษาของบุตรหลาน  ดังนี้

1.       ด้านการเลี้ยงดู  ถือเป็นหน้าที่โดยตรง  เป็นการวางพื้นฐานที่ดีให้แก่บุตรหลาน

เพราะพื้นฐานที่ดีต้องมาจากบ้านหรือจากครอบครัวที่ดี  พ่อแม่ผู้ปกครองต้องถือเป็นภาระหน้าที่หลักที่สำคัญยิ่ง  บุตรหลานต้องได้รับปัจจัย  4  กล่าวคือ

1.1   อาหาร  เพราะเด็กเป็นวัยที่ต้องได้รับอาหารที่สะอาด  ถูกลักอนามัย  ครบถ้วน 

ถ้าท้องของเด็กยังหิว  สุขภาพไม่ดี  ย่อมขาดสมาธิในการศึกษาเล่าเรียน  มาเรียนอย่างไม่มีความสุข  ผลที่ตามมาคือเรียนได้ไม่เต็มที่  ไม่เข้าใจ  ก็จะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 

1.2   เครื่องนุ่งห่ม  ตามแบบที่ทางโรงเรียนกำหนด  เช่น  ชุดนักเรียน  ชุดกีฬา  ชุด

ประจำโรงเรียน  สิ่งเหล่านี้ไม่ควรให้เด็กมองว่าตนเองแปลกแยกแตกต่างจากเพื่อนเพราะจะทำให้ขาดความมั่นใจ  และอาจนำไปสู่ปัญหาการหลบเรียน  หนีเรียนได้

1.3   ที่อยู่อาศัย  ต้องสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพ

ปัจจุบัน  พ่อแม่มักฝากบุตรหลานไว้ให้ปู่ย่าตายายหรือญาติเป็นผู้เลี้ยงดู  เพราะพ่อแม่ต้องไปทำมาหากินส่งเงินมาให้  ซึ่งมักจะได้ยินได้เห็นข่าวครางเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนมากมาย  ดังนั้น  ความมั่นคง  แข็งแรงและความปลอดภัยในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

1.4   ยารักษาโรค  พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ต่อบุตรหลานอย่างใกล้ชิด  เพราะ

สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ  หากบุตรหลานมีสุขภาพดีแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็จะส่งผลให้ศึกษาเล่าเรียนได้ดี  และในทางตรงข้าม  หากบุตรหลานเจ็บไข้ได้ป่วย  ผลที่ตามมาก็คือเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

       ดังนั้น  หน้าที่หลักของพ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเอาใจใส่เลี้ยงดูบุตรหลาน         

อย่างใกล้ชิด  ให้การสนับสนุนอย่างครบถ้วนและเต็มกำลังความรู้ความสามารถ  เพื่อให้บุตรหลานได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างครบถ้วน      

2.       ด้านงบประมาณ  ถือเป็นเรื่องสำคัญต่อเนื่องจากการเลี้ยงดู  เพราะเงินเป็นตัวแปรที่

สำคัญอย่างหนึ่ง  ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง  ข้าวยากหมากแพง  ก้าวไปทิศทางใดก็ต้องใช้เงิน  ในครอบครัวที่หาเช้ากินค่ำ  ที่ขัดสนทุกข์ยาก  จะส่งผลไปถึงบุตรหลานด้วย  เพราะวันหนึ่ง ๆ    บุตรหลานที่เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องใช้จ่ายเงินอย่างน้อยวันละ  40  บาทเป็นค่าน้ำค่าอาหารกลางวัน  ถ้ามีค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย  40  บาทอาจไม่พอเพียง  และถ้ายิ่งบุตรหลานอยู่ในวัยที่สูงขึ้น  ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว  เหล่านี้ล้วนเป็นภาระหน้าที่ของครอบครัวทั้งสิ้น

3.       ด้านคุณธรรมจริยธรรม  พ่อแม่  ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างให้แก่บุตรหลาน

ในการสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมจริยธรรม  ปลูกฝังให้ตั้งแต่ยังเล็กอยู่  และจะค่อย ๆ  ซึมซับเข้าไปในจิตใจเมื่อเขาเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่  ถ้าครอบครัวดี  ชุมชนดี  ครอบครัวเข้มแข็ง  ชุมชนเข้มแข็ง   จะส่งผลให้บุตรหลานซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว  เป็นคนดีและเข้มแข็งตามไปด้วย       ดังคำกล่าวที่ว่า  ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน  

4.      


บทความเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผู้เรียนในการส่งเสริมการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

บรอคโคลี่....ผักสยบภูมิแพ้

บรอคโคลี่....ผักสยบภูมิแพ้


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
"<12 เดือน>... <7 ดาว>... < 9 ตะวัน>"

"<12 เดือน>... <7 ดาว>... < 9 ตะวัน>"


เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง
กลัวครู   !!!!!!

กลัวครู !!!!!!


เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง
ปีเสือทอง

ปีเสือทอง


เปิดอ่าน 7,415 ครั้ง
เกาะในฝัน ?Summer Holiday? (จบ)

เกาะในฝัน ?Summer Holiday? (จบ)


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

 ดูสบายตา...อ่านแล้วสบายใจ(3)

ดูสบายตา...อ่านแล้วสบายใจ(3)

เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มนุษย์ยังต้องแสวงหา..อะไรอีก...
มนุษย์ยังต้องแสวงหา..อะไรอีก...
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

 ซื้อบ้าน-ที่ดิน ....ควรสูงกว่าถนน
ซื้อบ้าน-ที่ดิน ....ควรสูงกว่าถนน
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

เพลงที่เกี่ยวกับ"ดวงตา"
เพลงที่เกี่ยวกับ"ดวงตา"
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

ถ้าอ่านแล้วได้อะไรหรือไม่ได้อะไรเลย.....บอก โน้ต อุดม..ด้วยนะ
ถ้าอ่านแล้วได้อะไรหรือไม่ได้อะไรเลย.....บอก โน้ต อุดม..ด้วยนะ
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณผู้ชายกับ...กระชาย ผักพื้นบ้านพลังโสม!!!
คุณผู้ชายกับ...กระชาย ผักพื้นบ้านพลังโสม!!!
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

TIPS   แบบทดสอบตัวเอง.....แม่นมาก
TIPS แบบทดสอบตัวเอง.....แม่นมาก
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เคล็ดลับๆก่อนอาบน้ำ
เคล็ดลับๆก่อนอาบน้ำ
เปิดอ่าน 24,518 ครั้ง

วิธีตั้งชื่อมิให้เป็นกาลกิณี
วิธีตั้งชื่อมิให้เป็นกาลกิณี
เปิดอ่าน 37,746 ครั้ง

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 21,002 ครั้ง

Adjectives Formation (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )
Adjectives Formation (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )
เปิดอ่าน 33,301 ครั้ง

หน้าตา Windows se7en หรือ Windows Vienna
หน้าตา Windows se7en หรือ Windows Vienna
เปิดอ่าน 14,738 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ