ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

วิจัยสถาบัน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,169 ครั้ง
Advertisement

วิจัยสถาบัน

Advertisement

 

การวิจัยสถาบัน

                                                                                                                      

๑.  ความสัมพันธ์ระหว่างวิจัยสถาบันกับการประกันคุณภาพการศึกษา

             

             การวิจัยสถาบัน   ( Institutional Research Administrative  Research Operation  Research )

                หมายถึง  การวิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหา  ที่เกี่ยวข้องโดยตรง  กับแต่ละสถาบัน / หน่วยงาน  เพื่อนำข้อสรุปที่ได้  มาใช้ประกอบการวางแผน  การกำหนดนโยบาย  รวมทั้งการตัดสินใจ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  ซึ่งถือว่า  เป็นการวิจัยเชิงประเมินและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ

      พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕)

                มาตรา  ๓๐ สถานศึกษา  ต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถทำการวิจัย  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (การสอนโดยกระบวนการวิจัย)

            หมวด     มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ประกอบด้วย

                ๑.  การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง  กระบวนการบริหารสถาบัน  (การกำหนดมาตรฐาน   การควบคุม  และการประเมินภายใน)  ซึ่งจะต้องมีการรายงานประจำปี   : SSR,  SAR    เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

                ๒.  การประกันคุณภาพภายนอก  โดยองค์การมหาชน  คือ  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ทำการประเมินภายนอก  อย่างน้อย    ครั้ง  ในทุก    ปี 

              จากความหมายของการวิจัยสถาบันและการประกันคุณภาพการศึกษา จะพบว่ามีความสัมพันธ์กันดังนี้

                เมื่อมีพรบ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕) ขึ้นมา สถานศึกษาต้องปฏิบัติตาม คือต้องมีการส่งเสริมให้ผู้สอนทำการวิจัย และต้องทำในเรื่องการประกันคุณภาพ ให้สถานศึกษามีคุณภาพ  คุณภาพของสถานศึกษาก็คือ คุณภาพของผู้เรียน  คุณภาพของครู  คุณภาพของผู้บริหาร  การที่จะทำให้สถานศึกษามีคุณภาพ การดำเนินงานต้องมีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลการวิจัยหรือ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ และต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ. กำหนดไว้    ซึ่งขั้นตอนก่อนที่จะได้มาตรฐาน ก็จำเป็นต้องมีการวิจัยสถาบัน เพื่อให้ทราบขอบเขต ลักษณะ หรือโครงสร้างของงานในสถานศึกษา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา  เพื่อที่จะมากำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ทำแผนปฏิบัติการ  กระทั่งนำไปกำหนดเป็นกลุยทธ์สถานศึกษา   ซึ่ง แนวคิดหรือเป้าหมายหลักของการวิจัยสถาบัน  คือ  เพื่อให้ผู้บริหารนำข้อสนเทศ/ข้อค้นพบ  จากการวิจัยไปใช้ประกอบในการแก้ปัญหา  กำหนดนโยบายพัฒนาสถาบัน หรือตัดสินใจในสภาวการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน  ก็สามารถใช้การวิจัยสถาบันได้

             การวิจัยสถาบันในความหมายเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึงการดําเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร เพื่อใช้ผลการวิจัยเชิงประเมินนั้น มาประกอบการตัดสินใจในการจัดทํานโยบายและแผนตามพันธกิจขององค์กรนั้นต่อไป รวมทั้งให้การวิจัยสถาบันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ         

 

๒.     วิธีวิทยาการวิจัยและฐานข้อมูล

                     คำว่าวิธีวิทยาตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า methodology ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า methodus + logia และมาจากภาษากรีกว่า methodos (meta + hodos =way) +logie (webster’ s Ninth New Collegiate Dictionary, 1991) ตามรากศัพท์วิธีวิทยาหมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการ หรือเทคนิคคำว่า วิธีวิทยาการวิจัยจึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัยได้แก่การกำหนดปัญหาวิจัยการศึกษา และรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการกำหนดสมมุติฐานวิจัยการกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัยการรวบรวมการนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งรวมในวิธีวิทยาทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการ วัดและการประเมินผล 

               ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การ หรือในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพก่อนหน้าที่จะนำมาจัดเรียบเรียง หรือ จัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปจะเข้าใจหรือนำไปใช้ได้  ส่วนฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่าน DBMS ทุกครั้ง หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางให้ผู้ใช้และฐานข้อมูลติดต่อกันได้ เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล

        ฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล นั่นก็คือการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นเราอาจจะเก็บทั้งฐานข้อมูล โดยใช้แฟ้มข้อมูลเพียงแฟ้มข้อมูลเดียวกันได้ หรือจะเก็บไว้ในหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล ที่สำคัญคือจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนและเรียกใช้ความสัมพันธ์นั้นได้ มีการกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออกและเก็บแฟ้มข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน ควบคุมดูแลรักษาเมื่อผู้ต้องการใช้งานและผู้มีสิทธิ์จะใช้ข้อมูลนั้นสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการออกไปใช้ได้ ข้อมูลบางส่วนอาจใช้ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่บางส่วนผู้มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้ โดยทั่วไปองค์กรต่าง ๆ จะสร้างฐานข้อมูลไว้ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของตัวองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในเชิงธุรกิจ เช่น ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของสินค้า ข้อมูลของลูกจ้าง และการจ้างงาน เป็นต้น ระบบจัดการฐานข้อมูลมีระโยชน์คือ ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล รักษาความถูกต้องของข้อมูล มีความเป็นอิสระของข้อมูล มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง และใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

               จากความหมายขององค์ประกอบทั้ง ๒ นี้ จะเห็นว่าการวิจัยต่างต่างๆต้องอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูล  จึงจะนำมาสู่การวิจัยที่เต็มรูปแบบได้ เพราะการวิจัยต้องมีข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ถูกต้อง การผิดพลาดก็จะไม่มีหรือเกิดขึ้นน้อย  ผลจากการวิจัยก็มีความถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

 

๓.      เมื่อสถานศึกษามีปัญหาในเรื่องกระบวนการบริหารจัดการ  สามารถนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการแก้ปัญหานั้นโดย

                     เมื่อเราทราบว่ามีปัญหาเรื่องกระบวนการบริหารจัดการเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามต้องทำการศึกษาปัญหาและต้องดำเนินการการแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยสถาบันตามหลักการและขั้นตอนของการวิจัย  เช่น  ศึกษาสภาพของปัญหานั้นๆเพื่อที่จะนำมาเป็นประเด็นในการวิจัย    ศึกษาหลักการวิธีการเกี่ยวกับหลักทฤษฎี หรือแนวคิด หรือผลการวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำมาอ้างอิงเป็นวิธีการหรือแนวทาง  ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน   และจัดการดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นแล้ว   จนกระทั่งได้ผลการวิจัยออกมา   ก็นำมาใช้ในการวางแผน  หรือกำหนดนโยบายเพิ่มเติม  และจัดทำโครงการขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหานั้นๆ รวมถึงการกำหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อีก  และยังสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนางานเดิม หรือเพิ่มงานใหม่ได้  และหากพบว่ามีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีก   และเป็นปัญหาสำคัญก็ดำเนินการวิจัยสถาบันและนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้อีก      

กระบวนการวิจัยโดยทั่วไป 

              เลือกหัวข้อปัญหา  ในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องตกลงปลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร  ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ  ด้วยความมั่นใจ  และเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา

              ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย  หลังจากที่กำหนดเรื่องที่จะวิจัยได้แล้ว  จะต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยศึกษาสาระความรู้  แนวความคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น  ในตำรา  หนังสือ  วารสาร  รายงานการวิจัยและเอกสารอื่น ๆ  สำหรับผลงานที่เกี่ยวข้อง  จะช่วยให้ทราบว่ามีใครวิจัยในแง่มุมใดไปแล้วบ้าง  มีผลการค้นผลอะไร  มีวิธีดำเนินการ  ใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์เช่นไร  ฯลฯ  ซึ่งจะช่วยให้ในการทำวิจัยได้อย่างเหมาะสมรัดกุม  ไม่ซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่ทำไปแล้ว  และช่วยตั้งสมมุติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล

              เขียนเค้าโครงการวิจัย  ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหือที่มาของปัญหา  ความมุ่งหมายของการวิจัย   ขอบเขตของการวิจัย   ตัวแปรต่าง ๆ   ที่วิจัย (กรณีที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวแปร)  คำนิยามศัพท์เฉพาะ  สมมุติฐานในการวิจัย  วิธีดำเนินการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  รูปแบบการวิจัย  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล  สำหรับส่วนที่กล่าวถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้อาจแยกกล่าวต่างหากหรืออยู่ในส่วนที่เป็นภูมิหลังก็ได้

              . สร้างเครื่องมือในการรวบข้อมูล  ดำเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้น  ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือ  ลักษณะธรรมชาติ  และ โครงสร้างของสิ่งที่จะวัด      การเขียนข้อความหรือข้อคำถามต่าง ๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไข การทดลอง และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ  การปรับปรุงเป็นเครื่องมือฉบับจริง  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป  กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐาน  เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้  ถ้าสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่ามีความเชื่อมั่นเข้าเกณฑ์ก็นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมที่เป็นแบบแผนก็จะตัดตอนนี้ออกไปได้

             เลือกกลุ่มตัวอย่าง  ในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร   แต่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง   ก็ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ ในการวิจัยบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ก็จะตัดขั้นตอนนี้ออก

              จัดกระทำข้อมูล    โดยอาจนำจัดเข้าตาราง     วิเคราะห์ด้วยสถิติ    ทดสอบสมมุติฐาน    หรือนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีต่าง ๆ ตามวิธีการของการวิจัยเรื่องนั้น

              ตีความผลการวิเคราะห์  จากผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 7   ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์

               . เขียนรายงานการวิจัย  และจัดพิมพ์  ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยประเภทนั้น ๆ เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษา

๔.  หัวข้อในการทำวิจัยสถาบัน

                ๑.  ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

                ๒. ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนที่ทำผิดกฎระเบียบวินัยโรงเรียน

                ๓.  ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา

                ๔.  ศึกษาการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียน

                ๕.  ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในแต่ละกลุ่มงาน

                 ๖.  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                 ๗.  ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  

                 ๘.  ศึกษารูปแบบการบริหารห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ

                 ๙.  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาต่อโรงเรียนวัดสังเวช

                 ๑๐.  ศึกษาการรับรู้ของบุคลากรต่อการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดสังเวช

 

๕.  เขียนโครงการวิจัยสถาบัน

ชื่อโครงการ            ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาต่อโรงเรียนวัดสังเวช

ความเป็นมาของปัญหา

                    จากที่มีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ มีการกำหนดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา และมีการกำหนดให้นักเรียนมีสิทธิในการสมัครเข้าเรียนในพื้นที่ใกล้บ้านได้ รวมถึงให้สถานศึกษากำหนดสัดส่วนในการับนักเรียนสำหรับการสอบเข้า และการรับนักเรียนนอกพื้นที่เข้าเรียน ของแต่ละโรงเรียนได้ นั้น  ส่งผลกระทบต่อการมาสมัครเข้าเรียนและสมัครสอบ เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวชมาก  เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับโรงเรียนดังของกรุงเทพมหานคร และมีทำเลที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนดังมากมาย ทั้งที่เป็นโรงเรียนชายล้วน โรงเรียนสตรีล้วน รวมถึงโรงเรียนสหศึกษา ที่มีชื่อเสียง  ทำให้จำนวนนักเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา  ๒๕๔๗   จนถึงปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนลดลงมากว่าครึ่งหนึ่งของปีการศึกษา  ๒๕๔๖  ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเรียนวัดสังเวช  นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมานี่ว่ายังมีปัจจัยด้านอื่นๆ  หรือไม่อย่างไร  จึงได้มีการศึกษาเรื่องนี้

คำถามในการวิจัย

๑.      ทำไมนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  ในบริเวณใกล้เคียง มาสมัครเรียนลดลง

๒.    ทำไมนักเรียนที่มาสมัครเรียน เป็นนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนโรงเรียนอื่นๆไม่ได้แล้ว

๓.     สาเหตุที่โรงเรียนวัดสังเวชมีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง และมีปัญหาในเรื่องการผิดระเบียบวินัยเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

๑.      เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวช

๒.    เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑.      มีนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนวัดสังเวชเพิ่มขึ้น

๒.    นักเรียนที่เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวชมีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

             ๑.    ประชากรเป้าหมายเป็นฝ่ายบริหาร  และครู  นักเรียนของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑    จำนวน  ๓๐๐  คน

             ๒.     กลุ่มตัวอย่าง   เป็นฝ่ายบริหาร   ครู  นักเรียน  ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑  และผู้ปกครอง  จำนวน  ๓๐๐  คน  ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง ครู ๕๐ คน ผู้บริหาร  ๒๐ คน   นักเรียน   ๑๕๐   คน   ผู้ปกครอง   ๘๐  คน

๓.      ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อและสภาพการเรียนการสอนของ

โรงเรียนวัดสังเวช

วิธีดำเนินการวิจัย

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ   เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อและสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช  ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยในหัวข้อต่างๆ  ดังนี้

ประชากร

                ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ฝ่ายบริหาร  ครู  และนักเรียน โรงเรียนวัดสังเวชในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงฝ่ายบริหารจำนวน  ๒๐  คน  ครูจำนวน ๕๐ คน  นักเรียน จำนวน ๑๐๐  คน  ผู้ปกครอง  จำนวน  ๘๐  คน   รวมทั้งสิ้นจำนวน   ๓๐๐ คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น  เพศ  อายุ  การศึกษา  มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist)

ตอนที่   2   สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวช

ตอนที่ 3   สอบถามเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                การเก็บรวบรวมข้อมูลทำตามขั้นตอนดังนี้

1.             ผู้วิจัยนำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๓๐๐  ฉบับ และฝ่ายบริหาร ๒๐ ฉบับ

2.             รวบรวมแบบสอบถามมาส่งที่รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการของสถานศึกษา

3.             รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการของสถานศึกษารวบรวมแบบสอบถามส่งให้ผู้วิจัยเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

4.             ผู้วิจัยรับแบบสอบถามกลับคืน โดยตรวจสอบความถูกต้องของการตอบแบบสอบถาม เพื่อให้แบบสอบถามทุกชุดมีความสมบูรณ์มากที่สุด ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์นำมาวิเคราะห์ได้จำนวน  ๒๙๐ ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์   มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1.             วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงความถี่(frequency ) และหาค่าร้อยละ

2.             วิเคราะห์การศึกษาสภาพการประชาสัมพันธ์และปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา และภาพรวม โดยใช้ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับดังนี้

4             หมายถึง                ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน           มากที่สุด

                                            3        หมายถึง                  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน          มาก

                                            2        หมายถึง                  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน          น้อย

                                            1        หมายถึง                   ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน         น้อยที่สุด

                                          0           หมายถึง  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน         ไม่มี

กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    มากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    มาก

ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    ปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน     น้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน     น้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ย 0.00 – 0.99 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    ไม่มี

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

 

                การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยใช้สถิติ ดังนี้

สถิติพื้นฐาน

                1.  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างหาค่าความถี่และร้อยละ

                2.  วิเคราะห์เพื่อหาระดับสภาพและปัญหาการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา ใช้ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

 

                                                                                                                              (โสชญา  สิทธิมาลิก )

**********************************************************

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1930 วันที่ 17 พ.ย. 2552


วิจัยสถาบัน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

มิตรภาพ....ในโลกของสัตว์

มิตรภาพ....ในโลกของสัตว์


เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
ความสุขในชีวิตของครู

ความสุขในชีวิตของครู


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เพลงไทยเดิม

เพลงไทยเดิม


เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง
...น่าสนใจ

...น่าสนใจ


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เกมต้องห้าม!!!

เกมต้องห้าม!!!


เปิดอ่าน 7,407 ครั้ง
นิทานเวตาล  เรื่องที่  ๙

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๙


เปิดอ่าน 7,314 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

นาฬิกาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก .....หลักฐานจากภาพวาด

นาฬิกาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก .....หลักฐานจากภาพวาด

เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทายใจ.....รู้นิสัย....จากลายเสื้อยืดที่ใส่
ทายใจ.....รู้นิสัย....จากลายเสื้อยืดที่ใส่
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

เลขที่บ้าน.....มงคล
เลขที่บ้าน.....มงคล
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

         ทำไม... December???
ทำไม... December???
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

กดลง ..และ..ดึงขึ้น
กดลง ..และ..ดึงขึ้น
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

ชีวิตยิ่งใช้ ยิ่งได้กำไรกลับคืน
ชีวิตยิ่งใช้ ยิ่งได้กำไรกลับคืน'
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

       ลูก(ศิษย์)...ใคร  ?นิ้วมือยาว..รีบสาวได้สาวเอา
ลูก(ศิษย์)...ใคร ?นิ้วมือยาว..รีบสาวได้สาวเอา
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"เลี้ยง"ต้องแบบไหน? "ลูกยุคดิจิตอล" ข้ามวิกฤต..สู่ไทย 4.0
"เลี้ยง"ต้องแบบไหน? "ลูกยุคดิจิตอล" ข้ามวิกฤต..สู่ไทย 4.0
เปิดอ่าน 11,661 ครั้ง

Adverbs การทำให้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Formation )
Adverbs การทำให้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Formation )
เปิดอ่าน 269,033 ครั้ง

ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
เปิดอ่าน 21,682 ครั้ง

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560
เปิดอ่าน 15,775 ครั้ง

Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
เปิดอ่าน 11,004 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ