กฎ 3 กัน ของการอยู่ร่วมกัน
เอาใจกัน
เข้าใจกัน
ไว้ใจกัน
คำว่า กัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปิดกั้น แต่กัน ในที่นี้หมายถึง การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างปกติสุข ไม่ว่ากับบุคคลใด การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว จะช่วยส่งผลให้เราและบุคคลที่อยู่ร่วมกับเรามีความสุข
ขยายความ
เอาใจกัน ก็หมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราก็ใจเขาก็ใจ ต่างคนก็มีจิตใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตของคนเรา ดังนั้น การปรึกษา คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจกันและกันเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า เขาหรือเรามิได้อยู่เพียงลำพังตัวคนเดียว การเอาใจกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราจะเป็นยาดีขนานเอกที่จะเยียวยาใจ+ใจ กล่าวคือ ต้องเอาใจกัน นั่นเอง
เข้าใจกัน ก็หมายถึง ยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน ยอมรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ไม่ถือเอาแต่เหตุผลของตนเอง ไม่ถือตนเป็นใหญ่จนเกินเหตุหรือเกินงาม จนทำให้เกิดความแตกแยกด้านความคิด ควรถือเหตุผลเป็นตัวช่วยในด้านการตัดสินใจ ยึดความถูกต้อง เป็นธรรมในการตัดสิน กล่าวคือ ต้องเข้าใจกัน
ไว้ใจกัน ก็หมายถึง ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น หากไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเองแล้ว คนอื่นก็ยากนักที่จะซื่อสัตย์ต่อเราด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้เพราะเป็นเรื่องของสังคม ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะสามารถอยู่ได้โดยลำพังตัวคนเดียว กฎ 3 กัน คงเป็นประโยชน์ไม่น้อยกับผู้ที่ได้อ่าน หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิต แล้วเราและบุคคลที่แวดล้อมกายเราก็จะเกิดความสงบสุข สันติ ความเจริญก็จะเกิดขึ้นทั้งต่อเราและบุคคลอื่นอย่างมิต้องสงสัย
ให้ท่องไว้ในใจซึ่งเป็นการให้กำลังใจตนเองด้วยว่า “เอาใจกัน เข้าใจกัน ไว้ใจกัน”
เอาใจกัน – พุทโธ
เข้าใจกัน – ธัมโม
ไว้ใจกัน – สังโฆ
เราก็สามารถมีความสุขใจสุขกายได้ง่าย ๆ แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับชีวิต ครับผม.
กฎ 3 กัน ของการอยู่ร่วมกัน
เอาใจกัน
เข้าใจกัน
ไว้ใจกัน
คำว่า กัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปิดกั้น แต่กัน ในที่นี้หมายถึง การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างปกติสุข ไม่ว่ากับบุคคลใด การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว จะช่วยส่งผลให้เราและบุคคลที่อยู่ร่วมกับเรามีความสุข
ขยายความ
เอาใจกัน ก็หมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราก็ใจเขาก็ใจ ต่างคนก็มีจิตใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตของคนเรา ดังนั้น การปรึกษา คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจกันและกันเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า เขาหรือเรามิได้อยู่เพียงลำพังตัวคนเดียว การเอาใจกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราจะเป็นยาดีขนานเอกที่จะเยียวยาใจ+ใจ กล่าวคือ ต้องเอาใจกัน นั่นเอง
เข้าใจกัน ก็หมายถึง ยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน ยอมรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ไม่ถือเอาแต่เหตุผลของตนเอง ไม่ถือตนเป็นใหญ่จนเกินเหตุหรือเกินงาม จนทำให้เกิดความแตกแยกด้านความคิด ควรถือเหตุผลเป็นตัวช่วยในด้านการตัดสินใจ ยึดความถูกต้อง เป็นธรรมในการตัดสิน กล่าวคือ ต้องเข้าใจกัน
ไว้ใจกัน ก็หมายถึง ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น หากไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเองแล้ว คนอื่นก็ยากนักที่จะซื่อสัตย์ต่อเราด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้เพราะเป็นเรื่องของสังคม ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะสามารถอยู่ได้โดยลำพังตัวคนเดียว กฎ 3 กัน คงเป็นประโยชน์ไม่น้อยกับผู้ที่ได้อ่าน หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิต แล้วเราและบุคคลที่แวดล้อมกายเราก็จะเกิดความสงบสุข สันติ ความเจริญก็จะเกิดขึ้นทั้งต่อเราและบุคคลอื่นอย่างมิต้องสงสัย
ให้ท่องไว้ในใจซึ่งเป็นการให้กำลังใจตนเองด้วยว่า “เอาใจกัน เข้าใจกัน ไว้ใจกัน”
เอาใจกัน – พุทโธ
เข้าใจกัน – ธัมโม
ไว้ใจกัน – สังโฆ
เราก็สามารถมีความสุขใจสุขกายได้ง่าย ๆ แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับชีวิต ครับผม.
กฎ 3 กัน ของการอยู่ร่วมกัน
เอาใจกัน
เข้าใจกัน
ไว้ใจกัน
คำว่า กัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปิดกั้น แต่กัน ในที่นี้หมายถึง การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างปกติสุข ไม่ว่ากับบุคคลใด การเปิดใจ ยอมรับ ปรับตัว จะช่วยส่งผลให้เราและบุคคลที่อยู่ร่วมกับเรามีความสุข
ขยายความ
เอาใจกัน ก็หมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราก็ใจเขาก็ใจ ต่างคนก็มีจิตใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตของคนเรา ดังนั้น การปรึกษา คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจกันและกันเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า เขาหรือเรามิได้อยู่เพียงลำพังตัวคนเดียว การเอาใจกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราจะเป็นยาดีขนานเอกที่จะเยียวยาใจ+ใจ กล่าวคือ ต้องเอาใจกัน นั่นเอง
เข้าใจกัน ก็หมายถึง ยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน ยอมรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ไม่ถือเอาแต่เหตุผลของตนเอง ไม่ถือตนเป็นใหญ่จนเกินเหตุหรือเกินงาม จนทำให้เกิดความแตกแยกด้านความคิด ควรถือเหตุผลเป็นตัวช่วยในด้านการตัดสินใจ ยึดความถูกต้อง เป็นธรรมในการตัดสิน กล่าวคือ ต้องเข้าใจกัน
ไว้ใจกัน ก็หมายถึง ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น หากไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเองแล้ว คนอื่นก็ยากนักที่จะซื่อสัตย์ต่อเราด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้เพราะเป็นเรื่องของสังคม ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะสามารถอยู่ได้โดยลำพังตัวคนเดียว กฎ 3 กัน คงเป็นประโยชน์ไม่น้อยกับผู้ที่ได้อ่าน หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิต แล้วเราและบุคคลที่แวดล้อมกายเราก็จะเกิดความสงบสุข สันติ ความเจริญก็จะเกิดขึ้นทั้งต่อเราและบุคคลอื่นอย่างมิต้องสงสัย
ให้ท่องไว้ในใจซึ่งเป็นการให้กำลังใจตนเองด้วยว่า “เอาใจกัน เข้าใจกัน ไว้ใจกัน”
เอาใจกัน – พุทโธ
เข้าใจกัน – ธัมโม
ไว้ใจกัน – สังโฆ
เราก็สามารถมีความสุขใจสุขกายได้ง่าย ๆ แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับชีวิต ครับผม.