ช่วงก่อนสิ้นปีงบประมาณ ได้พบกับเพื่อนครูที่ไปอบรมเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน
มา ซักถามไล่เรียงกันดู ก็รู้ว่าเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การนำงาน
วิจัยมาใช้ในการพัฒนางาน..
คำถามที่ผมพูดต่อในการสนทนาวันนั้นก็คือ ที่ผ่านมาเราไม่เคยอบรมการวิจัย
ในชั้นเรียนบ้างหรือ..คำตอบก็คือ..เคย..แล้วทำไมยังวนเวียนอยู่แต่เรื่องเดิม ๆ กันอีก
โดยเฉพาะ..ครูก็ยังทำวิจัยไม่เป็น
ผมจำได้ว่าเมื่อสองปีก่อน เมื่อครั้งที่มีการอบรมโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ในครั้งนั้นได้มีหลักสูตรเรื่องการวิจัยด้วย..และที่สำคัญผู้เข้ารับการอบรมต้องกลับไป
สร้างนวัตกรรมที่เป็นBest Practicesโดยผ่านกระบวนการวิจัย และนำมาแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน
ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการฝึกอบรม มุ่งหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
การศึกษา........
เรื่องใหม่ ๆ แบบนี้อาจเป็นยาขมสำหรับใครหลายคน
หลายคนพูดกับผมว่าท้ายสุดก็คงจะเป็นอะไรๆ เหมือนกับที่เคยทำกันมาเมื่อ
หลายโครงการในอดีต
ได้เพียรถามว่าเพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น.......
คำตอบที่ได้รับมีด้วยกันหลายประเด็น เช่น วัฒนธรรมการทำงานแบบทำตามสั่ง
ต้องฟังนายหรือการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นหลักสำคัญ
เพื่อนครูของเราก็ยังให้ความสำคัญกับวิทยากรภายนอก มากกว่าการเห็นคุณค่า
ของคนภายในองค์กร การพัฒนาจึงเต็มไปด้วยการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยาย
แทนการเรียนรู้ปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
ผมคิดว่าความเข้าใจในนิยามของความเป็นผู้นำนั้น น่าจะเป็นปัญหาลำดับแรกที่
พวกเราเข้าใจกันผิด คิดว่าผู้นำนั้นจำกัดอยู่เฉพาะผู้บริหาร หรือหัวหน้างานมากไปกว่า
ความคิดที่ว่า ผู้นำคือคนทุกคนในองค์กรที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดกับผู้เรียน
ถ้าเข้าใจความหมายตรงนี้ผิด การขับเคลื่อนเรื่องโรงเรียนผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ก็คงจะเกิดได้ยากครับ....
สรุปก็คือ..ถ้าจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง..ก็ต้องพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการวิจัย..
ไม่ต้องรอใครสั่ง..
ลงมือทำเลยครับ..มิฉะนั้นท่านจะต้องอบรมเรื่องการวิจัยตลอดไปจนกว่าจะเกษียณ.