การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมประชาธิปไตย เป็น
จุดประสงค์ที่สำคัญของหลักสูตรและแผนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมฉบับปัจจุบัน ที่มีจุดประสงค์ให้มีการจัดการ
เรียนการสอน มุ่งเน้นบรรยากาศและกิจกรรมสร้างลักษณะนิสัย พฤติกรรมประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดจุดหมายซึ่งเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน
เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย การเป็นพลเมืองดี การยึดมั่นในวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสาระที่
2ของสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไว้ว่า
“ ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข เข้าใจระบบการเมืองการปกครอง
ในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “
แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในแง่ของการเมืองการปกครองนั้น จรูญ สุภาพ ได้ให้ความหมาย ไว้ว่าเป็น
ระบบการเมืองที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เพื่อให้เกิดการปกครองของประชาชน
โดยประชาชนเพื่อประชาชน
หลักการของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์และเท่าเทียมกัน
ในฐานะคน เป็นสมาชิกของสังคมเช่นเดียวกัน
2. หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลซึ่งกฎหมาย
รับรองและคุ้มครองให้บุคคลที่เป็นประชากรของรัฐ โดยที่สิทธิเสรีภาพและหน้าที่เป็นของคู่กัน
3. หลักนิติธรรม หมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ กติกา ของประเทศ
4. หลักการยอมรับเสียงข้างมาก โดยใช้เสียงข้างมากในการตัดสินปัญหาแต่จะต้องไม่
ละเมิดสิทธิเสียงส่วนน้อย
5. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายถึง การปกครองต้องได้รับความยินยอม
จากประชาชน
6. หลักแห่งการใช้เหตุผล หมายถึง การอาศัยหลักความเชื่อว่ามนุษย์มีความเชื่อว่ามนุษย์
มีความสามารถและสติปัญญาในการปกครองดูแลตนเอง
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ ได้กล่าวถึง การสร้างประชาธิปไตยให้เกิดกับประชาชนไว้ว่า
“ ความเชื่อความสำนึกทางด้านการเมืองของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าประชาชน
ขาดความสำนึกทางด้านการเมืองแล้วย่อมนำไปสู่การทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ให้เสื่อมสลายไปได้ ความรู้สำนึกทางการเมืองในที่นี้หมายถึง ความสนใจ การติดตาม การมี
ส่วนร่วม ตลอดจนการปฏิบัติตามหน้าที่พลเมือง ซึ่งประชาชนจะมีความสำนึกทางการเมืองได้
ก็เนื่องมาจากอุดมการณ์นั่นเอง”
นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ประสบการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นกระบวนการ
ทางสังคม ดังนั้นการอบรมกล่อมเกลาทางด้านการเมืองที่ดีที่สุดก็คือ อาศัยวิธีการทางด้านปฏิบัติ คือ การให้
ประชาชนค่อยเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมทางด้านการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาล ตลอดจน
การติดตามการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล
ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศที่เจริญแล้ว ส่วนใหญ่จะมุ่ง
เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านการเมือง โดยมีความคิดว่า สิ่งสำคัญของการจัดการศึกษาคือ การนำเด็ก
เข้าสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาทักษะและความเข้าใจในการมีส่วนร่วมทางสังคม ตระหนักในปัญหา
สังคมและชุมชน (สุรศักดิ์ หลาบมาลา 2533 : 19)
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
การพัฒนาเจตคติประชาธิปไตยในครั้งนี้ ได้ดำเนินงาน ดังนี้
ปีการศึกษา 2541 ปีการศึกษา 2542
การวิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบพัฒนา
พื้นฐานทางด้าน พัฒนาผู้เรียนและ
ประชาธิปไตยของ นำไปใช้ รวมทั้ง
นักเรียน ประเมินผล
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน ในปี
การศึกษา 2541 ผู้สอนได้ทำการประเมินสภาพพื้นฐานพฤติกรรมของนักเรียน โดยทำการสุ่มตัวอย่างนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชา ส 032 การปกครองไทยจำนวน 55 ตัวอย่าง เพื่อทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
สภาพการจัดบรรยากาศประชาธิปไตยของโรงเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตย พบว่า มีการจัดบรรยากาศ
เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย แหล่งค้นคว้า ข่าวสารทางด้านการเมืองอยู่ในระดับปานกลางนักเรียนเข้าร่วม
กิจกรรมทางด้านประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงการมีส่วนร่วมกิจกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน
รายการ
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยมาก
|
1. การติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางด้าน
การเมืองของประเทศ
2. การติดตามข่าวสารของจังหวัด
เพชรบุรีและท้องถิ่น
3. มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองภายใน
ประเทศ
4. ความสนใจการเลือกตั้งคณะกรรมการ
นักเรียน
5. ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของนักเรียน
6. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดี
7. ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม
และที่ประชุมร่วมกันของสมาชิก
8. ความสนใจในการไปใช้สิทธิออกเสียง
เลือกตั้งการเมืองในระดับต่าง ๆ
9. ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของ
ห้องเรียนและโรงเรียน
10. ความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น
|
3.63
3.63
1.81
20.00
25.45
36.36
60.00
94.54
49.09
7.27
|
89.09
63.63
81.81
63.63
72.72
56.36
32.72
5.45
50.09
65.45
|
9.09
32.72
16.36
16.36
1.81
7.27
7.27
-
-
20.00
|
-
-
-
-
-
-
-
-
-
7.27
|
2. กำหนดพฤติกรรมประชาธิปไตยที่ต้องการ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาส 031 การปกครองของไทย
ผู้สอนได้กำหนดพฤติกรรมประชาธิปไตยที่ต้องการพัฒนา ได้แก่เจตคติประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง ความรู้สึกเชื่อ ศรัทธาต่อ
การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมที่จะมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย
3. การเลือกกิจกรรมสร้างเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย ในการเลือกกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมเจตคติประชาธิปไตย
ผู้สอนได้วิเคราะห์ออกมาเป็นการจัดกิจกรรมได้ ดังนี้
3.1 การติดตามข่าวสารทางด้านด้านการเมือง
3.2 การศึกษาชุมชน
3.3 การอภิปรายกลุ่ม
3.5 การจำลองสถานการณ์
3.6 การจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาธิปไตย
3.7 การมีส่วนร่วมสังเกตการเลือกตั้ง
4. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนการสอนตาม
ความเหมาะสม ด้วยกระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่ม
5. การประเมินผล เพื่อให้ทราบผลการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตย ผู้สอนได้สร้างแบบวัดเจตคติประชาธิปไตย
เป็นแบบสอบถามประมาณค่า (rating scale) จำนวน 30 ข้อ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนที่เรียนวิชา 031
การปกครองของไทย จำนวน 20ตัวอย่าง โดยทำการวัดก่อนการสอนแล้วเปรียบเทียบผลหลังการสอน ตามแบบแผน
การวิจัยแบบOne – Group Pretest – Posttest Design ผลการประเมินพบว่า นักเรียนมีเจตคติประชาธิปไตยสูงขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติประชาธิปไตยของนักเรียนก่อนและหลังการเรียน
การทดสอบ
|
X
|
S.D.
|
t
|
ก่อนการเรียนการสอน
หลังการเรียนการสอน
|
113.05
121.20
|
5.277
6.423
|
5.831**
|
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุป
จากการพัฒนาจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน ควรจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มและมีส่วนร่วมในการศึกษาวิถีชีวิตแบบ
ประชาธิปไตยเข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตย สอดคล้องกับหลักการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
เอกสารอ้างอิง
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. “ความสำนักทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย” แนวทาง
ประชาธิปไตย. เอกสารเผยแพร่ข้อมูลความรู้เพื่อเสริมสร้างอุดมการประชา-
ธิปไตย. กรุงเทพมหานคร,2524”
วิชาการ. กรม, คู่มือการเรียนการสอนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระดับ
<p class="MsoNormal" style="MARGIN-LEFT: 36pt