ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ธรรมาภิบาล(Good Governance)


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,135 ครั้ง
Advertisement

ธรรมาภิบาล(Good  Governance)

Advertisement

 

ธรรมาภิบาล(Good  Governance) 

กับสังคมไทย


การนำหลักการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดี  หรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้  มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยเรา  เพราะหลักธรรมาภิบาลก็คือ  การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้มีประสิทธิผล  และเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

                    ในปัจจุบันสถานการณ์ด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม การบริหารงานของรัฐทั้งภายในและต่างประเทศ  มีความเปลี่ยนแปลงไปมากและเป็นไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารเทคโนโลยี การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารอย่าง
รวดเร็วสู่ประชาชน ในขณะที่สาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่ยุคโลกาภิวัน์  แต่ระบบการบริหารงานของภาครัฐ และสังคมไทยโดยรวมที่ผ่านมา  ไม่สอดคล้อง  ไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

                    ดังนั้น  การปรับเปลี่ยนบทบาทของสังคมโดยการนำหลักการบริหารการจัดการบ้าน

เมืองที่ดี  (Good  Governance)  หรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ

ประเทศไทยเราเพราะหลักธรรมาภิบาลก็คือ  การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้  มีประสิทธิผลและเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม  โดยสามารถเสนอข้อเรียกร้องมีการรวมตัวของประชาชน   กลุ่มมวลชนผู้ใช้แรงงานและองค์กรภาคเอกชน  เพื่อเข้ามามีบทบาทในการติดตาม  ตรวจสอบการดำเนินการทางการเมืองและการบริหารงานภาครัฐ ตลอดจนการประกอบธุรกิจเอกชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน  ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนโดยรวมและสังคมไทยเติบโตด้วยความแข็งแกร่ง  สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะช่วยให้ประเทศชาติมีความสงบสุขและพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืนต่อไป

ความหมายของธรรมาภิบาล (Good Governance)

                    คำว่า   Good Governance เริ่มนำมาใช้กันเมื่อประมาณ  10  กว่าปีที่ผ่านมา  โดยปรากฏในรายงานของธนาคารโลก  เมื่อปี  .. 1989  เมื่อแนวความคิด Good Governance  เข้ามาในประเทศไทยในช่วงปี  ..  2540  นัก
วิชาการหลายท่านได้แปลความหมายของคำว่า Good Governance โดยเสนอใช้คำว่า กลไกประชารัฐที่ดี  บ้าง ประชารัฐ  บ้าง ธรรมรัฐ  บ้าง ศุประศาสนการ  บ้าง  แต่ในที่นี้จะขอใช้คำว่า ธรรมาภิบาล  ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก  เพราคำว่าธรรมาภิบาลจะมีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมทั้งทางบริหารจัดการที่ดีขององค์การธุรกิจ  และการปกครองที่ดีของภาครัฐ

                    อาจารย์ธีรยุทธ  บุญมี  ซึ่งเรียก Good Governance    ว่า  ธรรมรัฐ  ได้ให้ความหมายว่า  คือ  การบริหารการจัดการประเทศที่ดีในทุก ๆ  ด้าน  และทุก ๆ ระดับ การบริหารการจัดการที่ดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีหลักคิดว่าทั้งประชาชน ข้าราชการบริหารประเทศเป็นหุ้นส่วน  (Partnership)  กันในการกำหนดชะตากรรมประเทศ   แต่การเป็นหุ้นส่วนไม่ใช่หลักประกันว่าจะเกิดธรรมรัฐหรือ  Good Governance ยังต้องหมายถึง  การมีกฎเกณฑ์กติกาที่จะให้เกิดความโปร่งใส  ตรวจสอบได้  ประสิทธิภาพ  ความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วมของสังคมในการกำหนดนโยบายบริหาร  ตรวจสอบ ประเมินผลอย่างจริงจัง

                    UNDP (United  Nation Development Program) หน่วยงานสังกัดองค์
การสหประชาชาติ  ได้ให้นิยามความหมายของ  Good Governance   หรือธรรมาภิบาล  ว่า  คือ การใช้อำนาจทางการเมือง  การบริหารและเศรษฐกิจในการดำเนินภารกิจ กิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศในทุกระดับโดยมีกลไก กระบวนการ  สถาบัน  ซึ่งประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ  สามารถแสดงออกถึงความต้องการผลประโยชน์  การใช้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย     การประสานประนีประนอมความแตกต่างโดยผ่านกลไก  กระบวนการและสถาบันเหล่านั้น

                    คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ได้ให้ความเห็นว่า  ธรรมาภิบาล  หรือ  Good Governance  นี้เป็นเรื่องที่ทุกสังคม  ทุกประเทศไม่ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้วต้องการให้เกิดขึ้น  คำว่า Governance เป็นคำเก่าที่มีมานานแล้ว  หมายถึง  กรอบในการบริหารจัดการขององค์การต่าง ๆ  ในการบริหาร  ระบบบริษัทก็จะเรียกว่า Corporate Good Governance   ในราชการก็เรียกว่า Public Governance   ซึ่งกรอบการบริหารจัดการนี้มีทั้งดีและไม่ดี  ที่ดีเรียกว่า Good Governance    ที่ไม่ดีเรียกว่า Bad Governance 

                    จากความหมายของนักวิชาการที่ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ Good Governance
ดังกล่าวข้างต้น นั้น  จะเห็นได้ว่ามีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน  ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่า Good Governance   จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ  3 ส่วน คือ

                    ·     ภาครัฐ (Public  Sector)   ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง  กฎหมายและการบริหารราชการ

                    ·     ภาคเอกชน (Private Sector)  ซึ่งจะมีส่วนในการประกอบธุรกิจที่ดีและดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต  และมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง

                    ·     ภาคประชาชนหรือองค์กรต่างๆ(Civil  Society)จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ  ให้เข้ามามีส่วนร่วมใน
กิจกรรมต่าง ๆ  และสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้

                    กล่าวโดยสรุปแล้ว  ธรรมาภิบาล  (Good Governance)  หมายถึง  การบริหารการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาของประเทศ  โดยมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3  ส่วนของสังคม  คือ ภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม  และให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์  ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองอย่างสมดุล  ส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  ตลอดจนมีการใช้อำนาจในการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นไปอย่างมั่นคงยั่งยืน  และมีเสถียรภาพ

 

รัฐธรรมนูญกับการให้พัฒนาธรรมาภิบาล

                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ..  2540  ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เมื่อพิจารณาเนื้อหาโดยรวมแล้วจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญได้วางระบบบริหารบ้านเมืองให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น     คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  เพิ่มกลไกการตรวจสอบระบบการเมืองและระบบราชการให้ใช้อำนาจอย่างชอบธรรมและมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองมากขึ้นเพื่อการขจัดความทุจริตในบ้านเมือง  ส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูประบบผู้แทน  อาจกล่าวได้ว่ามาตรการที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนี้ได้วาง

รากฐานของการพัฒนาธรรมาภิบาลของสังคมไทยไว้  ซึ่งสรุปเป็นประเด็นหลัก ๆ  พอสังเขปได้  ดังนี้

                    ·     ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                    ·     การปฏิรูประบบราชการ

                    ·     การปฏิรูปศาลและระบบตรวจสอบ

                    ·     การปฏิรูประบบผู้แทน

                    ·     การขจัดความทุจริตในบ้านเมือง

                    กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญได้วางรากฐานของธรรมาภิบาลไว้อย่างครบถ้วน  กล่าวคือ  ในแง่ของวัตถุประสงค์การบริหารจัดการ  รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยึดประโยชน์สาธารณะ (Public  Interest)  ของคนทุกภาคในสังคม  ในด้านโครงสร้างและกระบวนการ  รัฐธรรมนูญได้เพิ่มภาคประชาสังคมเข้าสู่โครงสร้างการจัดการ  รัฐบาลไทยและเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคโดยเฉพาะภาคประชาสังคมในทุกด้านทั้งระดับชาติ  ท้องถิ่น  ชุมชน  ในด้านเนื้อหาของธรรมาภิบาลเอง  รัฐธรรมนูญก็วางหลักการให้เกิดการประสานประโยชน์ของคนทุกภาคในสังคม  เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ธรรมาภิบาลกับสังคมไทย

                    ในปัจจุบันสถานการณ์ต่าง ๆ  ทั้งภายในและต่างประเทศเปลี่ยนไปมาก  สังคมข่าวสารได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทยอันช่วยให้ภาคเอกชนเติบโตขึ้น  ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ ของชาติมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันข้าราชการในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของชาติ จะต้องปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยการร่วมกันสร้างความเป็นเอกภาพและความสามัคคีในหมู่ข้าราชการ เพื่อให้การประสานงานราชการด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ขณะเดียวกันก็ต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานโดยเน้นให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชน  รวมทั้งข้าราชการต้องปรับทัศนคติในการทำงานโดยยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของการเป็นข้าราชการที่ดีที่มีคุณภาพ  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ  ซื่อสัตย์สุจริต  อุทิศเวลากับงานราชการอย่างจริงจัง  และเป็นที่พึ่งพาของประชาชนอย่างแท้จริงอันจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความสงบสุขและพัฒนาอย่างรวดเร็วต่อไป

                    อย่างไรก็ตามในภาคราชการได้เริ่มดำเนินการสร้าง  ธรรมาภิบาล  ขึ้นแล้ว  กล่าวคือ  ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  .. 2542  และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  10  สิงหาคม  2542  ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐตั้งแต่วันที่  11  สิงหาคม  2542  เป็นต้นมา  โดยระเบียบนี้กำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐ  ดำเนินการบริหารจัดการโดยยึดหลักการ  6  หลัก  ได้แก่  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใส  หลักความมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่า  โดยมีสาระสำคัญ  ดังนี้

                    1.    หลักนิติธรรม  ได้แก่  การตรากฎหมาย  กฎข้อบังคับต่าง ๆ  ให้ทันสมัยและเป็นธรรม  เป็นที่ยอมรับของสังคม  และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ  หรืออำนาจของตัวบุคคล

                    2.    หลักคุณธรรม  ได้แก่  การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกันเพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์  จริงใจ  ขยัน  อดทน  มีระเบียบวินัย  ประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ

                    3.    หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติโดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส  มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย  ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

                    4.    หลักความมีส่วนร่วม   ได้แก่  การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ  ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ 

                    5.    หลักความรับผิดชอบ  ได้แก่  การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม  การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง  และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

                    6.    หลักความคุ้มค่า  ได้แก่  การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด  ใช้ของอย่างคุ้มค่า  สร้างสรรค์สินค้าบริการที่มีคุณภาพสามารถ

แข่งขันได้ในเวทีโลกและรักษาพัฒนารัพยากร

ธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

                    สำหรับในภาคเอกชนและภาคประชาสังคม  การสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นนั้น  ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง  รวมทั้งประชาชนยังขาดความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างดีพอ  จึงทำให้ยังขาดกลไกของการตรวจสอบและการกำกับดูแลในทางปฏิบัติงานเพื่อก่อให้เกิด  ธรรมาภิบาล  ขึ้น

 

บทสรุป

                    กระแสโลกาภิวัน์กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วและ

รุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจ  การเมืองและสังคมของประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทย ดังนั้น  ทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชนและภาคประชาชนจะต้องสนับสนุนหลักทั้ง 6  ประการตามที่กำหนดในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้ร่วมกันปรับบทบาท  ปรับวิธีการทำงานของแต่ละภาคให้สนับสนุนเกื้อกูลกัน  ให้เกิดกำลังที่สามารถตักตวงผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัน์เข้าสู่ประเทศไทย  อย่างไรก็ตามการสร้างธรรมาภิบาลจำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นในทุกระดับ  กล่าวคือ

                    -      ระดับบุคคล  คือ  ประชาชนตระหนักว่าตนเองมีอำนาจ  กล้าใช้อำนาจบนความรับผิดชอบและเป็นธรรม

                    -      ระดับชุมชน  คือ  การประสานสิทธิอำนาจของชุมชนเข้ากับการปกครอง

ท้องถิ่น

                    -      ภาคธุรกิจเอกชน  คือการบริหารการจัดการ  ธุรกิจ  เอกชน  รัฐวิสาหกิจให้ตรวจสอบได้  โปร่งใส  มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

                    -      ภาคการเมืองและราชการ  คือ  การกระจาย  ให้มีการบริหารจัดการที่ดี  มีการตรวจสอบภายในและระหว่างกัน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 

                    จากหลักดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการสร้างธรรมาภิบาลให้เข้มแข็งจำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ  กันทั้ง  3  ส่วนคือ  ภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม  ซึ่งในภาครัฐได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วแม้ว่าขณะนี้ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากนักและคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะทำให้ระบบราชการโปร่งใสได้  ซึ่งก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย  สำหรับภาคเอกชนจำเป็นต้องเสริมสร้างให้เกิดธรรมาภิบาลขึ้น  โดยควรมีการปฏิรูปภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็งและความสุจริต  วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะภาคเอกชนดำเนินธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด  โดยไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม  ดังนั้น&nbs

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8773 วันที่ 11 ต.ค. 2552


ธรรมาภิบาล(Good Governance) ธรรมาภิบาล(GoodGovernance)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ขำขัน : จุดเทียน

ขำขัน : จุดเทียน


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
สวน 3หนุ่ม 3 มุม

สวน 3หนุ่ม 3 มุม


เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
ตามล่าหาความสุข

ตามล่าหาความสุข


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
@พุทธจริง@

@พุทธจริง@


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
แนะนำตัว

แนะนำตัว


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
14 ที่สุด.....ในชีวิตของเรา

14 ที่สุด.....ในชีวิตของเรา


เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง
หลักธรรมาภิบาล..

หลักธรรมาภิบาล..


เปิดอ่าน 7,274 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ผู้หญิงใช้เงิน ?เป็น

ผู้หญิงใช้เงิน ?เป็น

เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมุนไพรไทย....มีประโยชน์นะ
สมุนไพรไทย....มีประโยชน์นะ
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณครู..
คุณครู..
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

ดูแลผิวหน้าขั้นพื้นฐาน... ง่ายนิดเดียว
ดูแลผิวหน้าขั้นพื้นฐาน... ง่ายนิดเดียว
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Housing
Housing
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

แนะนำตัว
แนะนำตัว
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบฝึกทักษะการอ่านชุด Thai style variety
แบบฝึกทักษะการอ่านชุด Thai style variety
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำความเข้าใจ เกณฑ์ย้ายครู ว16/2558 เริ่มใช้เดือนมกราคม 2559
ทำความเข้าใจ เกณฑ์ย้ายครู ว16/2558 เริ่มใช้เดือนมกราคม 2559
เปิดอ่าน 28,682 ครั้ง

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 17,628 ครั้ง

10 สรรพคุณ ประโยชน์ของหน่อไม้
10 สรรพคุณ ประโยชน์ของหน่อไม้
เปิดอ่าน 14,021 ครั้ง

อาการแบบไหนที่เรียกว่ากำลังขาดวิตามินซี
อาการแบบไหนที่เรียกว่ากำลังขาดวิตามินซี
เปิดอ่าน 14,821 ครั้ง

แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.
แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.
เปิดอ่าน 18,291 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ