ทฤษฎีทางด้านการบริหาร
1. ความหมายของทฤษฎี
นิยามของทฤษฎี (Definitions of Theory)
• ชุดของความคิดที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในการอภิปรายปรากฏการณ์ที่ได้รับความสนใจในการศึกษา (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2546)
• กลุ่มของโครงสร้าง (Construct) คำนิยาม (Definition) และข้อเสนอที่ต้องการพิสูจน์ (Proposition) ที่เสนอความคิดเห็นของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นก็ระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆเพื่อที่จะอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์นั้นๆ
• ชุดของแนวคิด คติฐาน และข้อยุติโดยทั่วไปที่อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมขององค์การการศึกษาอย่างเป็นระบบและสัมพันธ์กัน
• ทฤษฎีคือการรวมกลุ่มของหลักการ (Principles): ความจริงขั้นต้นที่อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
• สมมติฐาน (Hypothesis) ได้มาจากทฤษฎีที่คาดการณ์ความสัมพันธ์เพิ่มเติมของแนวคิดต่างๆ
สรุปความหมายของทฤษฎี
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
2. องค์ประกอบของทฤษฎี
องค์ประกอบของทฤษฎี
• Kerlinger, 1986: 9 โครงสร้าง (Structures) คำนิยาม (Definition) แนวคิด (Concepts)
• Hoy & Miskel, 1991: 2) แนวคิด (Concepts) คติฐาน (Assumptions) และข้อสรุปโดยทั่วไป (Generalizations)
• Koontz & others, 1984: 9-10) กลุ่มของหลักการ (Principles)
ข้อคิดเกี่ยวกับทฤษฎี
• ทฤษฎีเป็นสิ่งที่กล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างกว้างๆ และเป็นนามธรรม แต่ไม่ได้ระบุถึงความถูกผิดของเรื่องนั้นๆ
• ทฤษฎีประกอบด้วยข้อเสนอที่ต้องพิสูจน์หลายตัวที่บูรณาการกัน
• ข้อเสนอที่ต้องการพิสูจน์ประกอบด้วยกลุ่มโครงสร้างที่สัมพันธ์กันของมนุษย์
• (Silver, 1983, 6)
ทฤษฎีที่ดีเป็นอย่างไร
• สามารถช่วยอธิบายปรากฏการณ์ (Explain)
• พยากรณ์เหตุการณ์ สถานการณ์ (Predict)
• มีความแม่นยำ (Accuracy)
• สร้างให้เกิดความปลื้มปิติ (Delight)
• เข้าใจได้ง่าย (Simplicity)
• ประยุกต์ใช้ได้ (Generality)
3. ความสำคัญของทฤษฎีและปัญหาของทฤษฎีในการบริหารการศึกษา
ความสำคัญของทฤษฎี
• ช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ทางการศึกษา
• ช่วยในกระบวนการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์
• เป็นเครื่องชี้นำในการกำหนดกรอบแนวคิด
• ทฤษฎีช่วยในการกำกับข้อสรุปที่เราต้องการพิสูจน์หรือแสวงหา
• นักทฤษฎีใช้ทฤษฎีอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมเพื่อหาข้อสรุป
ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา
1.ทฤษฏีการบริหารแบบดั้งเดิม (Classical viewpoints)
2.ทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral viewpoints)
3.ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoints)
4.ทฤษฎีการบริหารร่วมสมัย (Contemporary viewpoints)
1. ทฤษฏีการบริหารแบบดั้งเดิม (Classical viewpoints)
1.1 ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management) Or Classical school, Efficiency
engineering, Rationalism, Taylorism, the Science of management
1.2 ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (Administrative management)
1.3 ทฤษฎีการจัดการระบบราชการ(Bureaucratic management)
1.1 ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
• ยุคการขยายตัวทางอุตสาหกรรม
• การจัดการเดิมๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
• มีปัญหาการทำงานไม่เต็มศักยภาพ
นักทฤษฎีในกลุ่มทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
• Frederick W. Taylor บิดาแห่งการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ 1858-1951 U.S.A. Engineering, Private Business, Middle management
• Henri Fayol (1841-1925) France, Engineering, Private business, Top management, Consulting
• Luther H. Gulick (1892-1993) U.S.A. Public service, Research and Consulting.
• Lyndall Urwick (1891-1983), U.S.A. Engineering, Military Service , Middle management, Public service.
• Others: Henri L. Gantt, Frank B. & Lilian M. Gilbreth, Chester I. Barnard
Frederick W. Taylor: The four principles of scientific management
• วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทดแทนการทำงานแบบลองผิดลองถูก
• ให้มีการวางแผนทดแทนการให้คนเลือกวิธีทำงานเอง
• คัดเลือกคนที่มีความสามารถ แล้วอบรม พัฒนาทำงานร่วมกัน
• ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างผู้บริหารและคนงาน
– กำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด (one best way)
Frederick W. Taylor:ข้อเสียของแนวคิด
• ให้ความสำคัญกับตัวเงิน
• ตอบสนองความต้องการทางสังคมและเศรษฐกิจ
• ไม่คำนึงถึงความเครียด
• การแบ่งงานไม่ได้บ่งบอกความมีคุณภาพของงาน
• งานมีความเจาะจงมากเกินไป
• พนักงานขาดความพึงพอใจ เบื่องาน ขาดงาน
Henri L. Gantt (1861-1972)
• ทำงานร่วมกับ Taylor
• สนใจการพัฒนาในเรื่องการจัดการและคนงาน
• เน้นความเป็นมนุษย์ (Humanistic)
• พัฒนาระบบการจ่ายโบนัสมาใช้
Frank B. & Lillian M. Gilbreth
• Frank: สนใจเรื่องการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่าในการทำงาน
• เจ้าของบริษัทรับเหมา
• พบ Taylor 1907 นำแนวคิดมาใช้
• แต่งงานกับ Gilbreth: first lady of management
• สนใจความเป็นมนุษย์ในการทำงาน
• คิดค้นวิธีที่ดีที่สุดในการประสานกันระหว่างประสิทธิผลงาน/ ความสนใจในตัวคนงานเข้าด้วยกัน
1.2 ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (Administrative management)
• นักทฤษฎีที่สำคัญคือ Henry Fayol & Chester I. Barnard
• Henry Fayol: Taught and learnt
• ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร
• มีการวางแผน จัดองค์การ และควบคุม
• Fayol: Management functions & Management principles
Fayol: Management functions)
• หลัก “POCCC”:
• Planning
• Organizing
• Commanding
• Coordinating
• Controlling
Fayol: 14 Management principles
1.Divisoin of labour (แบ่งงานกันทำ)
|
2.Authority/ responsibility (อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ)
|
3. Discipline (ระเบียบวินัย)
|
4. Unity of command (ความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา)
|
5.Unity of direction (ความเป็นเอกภาพในการอำนวยการ)
|
6. Subordination of individual interest to general interest (หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรองผลประโยชน์ขององค์กร)
|
7. Remuneration (หลักความยุติธรรมในการให้ค่าจ้าง)
|
8.Centralization (การรวมอำนาจ)
|
9.Hierachy/Scalar chain (สายบังคับบัญชา/ สายงาน)
|
10. Order (คำสั่ง)
|
11. Equity (ความเสมอภาค)
|
12. Stability of tenure (ความมั่นคงในการทำงาน)
|
13. Initiative (ความคิดสร้างสรรค์)
|
14. Esprit de corps (หลักความสามัคคี)
|
Luther Gulick (1892) “POSDCORB”
• What are the functions of executives?
• Expanding Fayol’s ideas
– Planning (วางแผน)
– Organizing (จัดการโครงสร้าง)
– Staffing (บริหารบุคคลของหน่วยงาน)
– Directing (วินิจฉัยสั่งการ)
– Coordinating (ประสานงาน)
– Reporting (รายงาน)
– Budgeting (จัดทำงบประมาณการเงิน)
Chester I. Bernard (1886-1961)
• ให้ทรรศนะเกี่ยวกับการยอ