Best prectis
1. กรณีตัวอย่างจาก กศน. หนองจิก การอ่านที่เป็นวาระแห่งชาติโครงการวางทุกงานอ่านทุกคน ของการศึกษาตามอัธยาศัย เป้าหมายที่นักศึกษามัธยมศึกษา จากการอ่าน คิด วิเคราะห์ คือ บุคลากรต้องอ่านหนังสือวันละ 2 เล่ม แล้วให้นำเนื้อหา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบุคลากรเห็นความสำคัญสังเกตได้จากการสรุป เล็งเห็นถึงการพัฒนา จากหลายๆสื่อ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ แนวคิด นี้ ผอ.กศน ได้แต่งตั้งบุคลากรทุกคนเข้ามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ
2. กรณีตัวอย่าง จากเด็กนักเรียนที่มีปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน ต้องมีการปรับกระบวนการสอนจากเด็กต้องปรับพื้นฐานในการสอน โดยระดมจากคณะครู การเปลี่ยนแปลงจากคะแนน o-net โดยวิธีการดำเนินการแบ่งเด็กอ่อน ปานกลาง และอ่านได้ โดยจัดครูเด็กให้เข้าเรียนในช่วงเช้าเป็นวิชาภาษาไทย และช่วงบ่ายในวิชาคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 2 เดือน ซึ่งเน้นการอ่านและการเขียน จากเด็กที่ไม่สามารถเรียนต่อที่อื่นแล้ว สามารถปรับการเรียนได้ ข้อเสนอแนะจากพี่ ป.เอก คือ การเปลี่ยนแปลง คือ ครูมีภาวะที่มีความเป็นผู้นำ จนผู้บริหารเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็กที่ดีกว่าเดิม กรณีตัวอย่างของพัฒนากรกรณี การปลูกแปลงข้าวปลูกข้าวพันธุ์ใหม่
3. การแบ่งเด็กนักเรียนเด็กที่อ่านไม่ได้ กับเด็กนักเรียนที่อ่านได้ ซึ่ง ครู 1 คน ต่อเด็ก 7 คน ส่วนเด็กที่เรียนอ่อนให้ครูสอนซ่อม จากการประเมินปรากฏว่า จาการสอบเด็กนักเรียนการประเมินการอ่านเด็กนักเรียนอ่านได้ 100 % แต่ยังมีปัญหาด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น ซึ่งครูทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง
4. กรณีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโรงเรียนสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีครู จำนวน 300 กว่าคน มีครูสามัญ และครูศาสนา เด็กนักเรียน 4,000 กว่าคน ดังนั้นการวางระบบการบริหารต้องชัดเจน โครงสร้างหน้าที่ เช่น การดูแลนักเรียนในแต่ละตึก อาคาร จึงเปรียบว่าแต่ละอาคารต้องเป็นเหมือนครอบครัว มีผู้นำ ผู้บริหาร บางเรื่องเจ้าของโรงเรียนจะมอบอำนาจให้หัวหน้าแต่ละสายงาน ยกเว้นด้านการใช้งบประมาณที่เป็นจำนวนมากๆ ซึ่งปัจจุบันใช้การบริหารตามหลัก พรบ. 50 ที่แตกต่างจากพรบ.เดิม และภาครัฐ พัฒนาการของโรงเรียนได้พัฒนาจากสถาบันปอเนาะ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างมาก ซึ่งโรงเรียนเอกชนต้องนำเสนอด้านประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ปกครองได้ส่งบุตรหลาน ซึ่งแตกต่างจากระบวนการจัดการท่ามกลางความหลาย จุดเด่นการเปลี่ยนแปลงคือ การวางระบบ การมอบอำนาจ การมองจุดมุ่งหมายเดียวกัน และร่วมการตัดสิน ส่วนการพัฒนาบุคลากรมุ่งที่ประสิทธิภาพซึ่งเหมือนกับการดึงดูดลูกค้า ส่วนบริบทอื่นๆ เช่น พรบ.ที่เปลี่ยนก็สามารถจะประยุกต์ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ เข้ากับสังคม
5. ครูยุคเก่ามีวิธีการสอนที่ทำให้เด็กอ่านได้ การสังเกตครูปัจจุบันมีการศึกษาสูง ปริญญาตรี โท แต่ไม่สามารถทำให้นักเรียนอ่านหนังสือได้ จึงมีมาตรการให้ครูสอนวิชาภาษาไทย ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน และช่วงบ่ายก่อนกลับบ้าน ผอ.ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ต้องการให้นักเรียนอ่านหนังสือได้ทุกคน จากการประเมิน o-net คือนักเรียนทุกคนสอบได้ระดับที่ 1 ระดับเขตพื้นที่ ข้อเสนอแนะ คือการเปลี่ยนแปลงมาจากปัญหา ซึ่งเราจะแก้ปัญหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร สังเกตได้จากกระบวนการของแต่ละโรงเรียน
6. กรณีศึกษาโรงเรียนในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ผู้ปกครองมีอาชีพกรีดยาง และมาอพยพจากปัตตานีมาประกอบอาชีพกรีดยาง เด็กนักเรียนขาดเรียนบ่อย มีการดำเนินการให้เข้าถึงเยี่ยมบ้านผู้ปกครองนักเรียน เดือนละครั้ง และเดินทุกตอนเย็นเพื่อพบปะเพื่อปกครอง การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารด้านการศึกษา กรณีตัวอย่าง ผู้บริหารเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาต่อปริญญาโท ทำให้เกิดแนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กร ซึ่งมาจากกระบวนการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารไม่ใช่ผู้มีอำนาจ สอนให้ผู้สอนเปลี่ยนความคิดของลูกน้องใน
การพัฒนาตัวเอง การให้กำลังใจ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงในที่นี้อยู่ที่ผู้นำเกิดความเปลี่ยนแปลงมีบทบาทความเป็นภาวะผู้นำทำให้ลูกน้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
7. กรณีตัวอย่าง การนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการเรียนการสอน เพราะที่โรงเรียนมีสวนมะพร้าวมาก ได้เชิญวิทยากรในชุมชนมาสอน เด็กทำที่รองหม้อ กระถางต้นไม้จากกากมะพร้าวแทนถุงดำใส่ขยะ เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเชื่อมความสัมพันธ์ชาวบ้านกับชุมชนเป็นกลยุทธ์ทำให้นักเรียนชอบมาโรงเรียน
8. หลักสูตรบูรณาการได้เด็กมาเรียนรู้ร่วมกัน เช่นโครงการทำหนังสือเล่มเล็ก รายวิชาศิลปะ ส่วนภาษาไทยใช้ในการแต่งเรื่อง สังคม ชุมชน การงานได้แก่การแต่งเติม ปะติด เย็บ มีการนำหนังสือเข้าประกวดในมอ.ปัตตานี ได้รับรางวัล เป็นการนำหลักสูตรในท้องถิ่นมาบูรณาการกลุ่มสาระ
9. โครงการศิลปะกับวิชาภาษาไทย วาดหนังสือ เขียนหนังสือทำให้เกิดความสนใจในการเรียน ขยันอ่าน ทำให้เด็กสามารถเป็นตัวแทนของภาคใต้ในการแข่งขัน
10 . การแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียนโดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ผลสืบเนื่องจากกิจกรรมทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครองนักเรียนมากขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ผู้ปกครอง เยาวชนในชุมชนให้ความช่วยเหลืออย่างดีในอีกหลายๆกิจกรรมอีกด้วย เห็นได้จากการประเมินของสมศ. จะได้ดีมากในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ
|
หลักการจัดองค์การและประสิทธิภาพ
|
เทคนิคในการบริหาร
และพัฒนางานวิชาการ
|
ศึกษากรณีตัวอย่างโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ ฯลฯ
|
การบริหารงานวิจัย
เพื่อพัฒนา
|
หน้าที่การบริหารและการนิเทศ
|
Backward Design / ID Plan
|
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
|
การจัดการความรู้ด้วย Weblog
|
ศูนย์วิชาการ/แหล่งเรียนรู้
|
การจัดบรรยากาศเพี่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงานวิชาการ
|
ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
และแนวทางแก้ไข
|
การวางแผนการบริหารและการนิเทศ
|
การศึกษาดูงา
วันที่ 10 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,217 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,338 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,401 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 45,203 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,781 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,142 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,443 ครั้ง |
|
|