แผนพัฒนาตนเอง
(Individual Development Plan)
ชื่อ นางเตือน ชื่อสกุล พิมพ์จันทร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ นางเตือน ชื่อ-สกุล พิมพ์จันทร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
วุฒิการศึกษา คบ.
R ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า วิชาเอก ภาษาอังกฤษ
£ ปริญญาเอก หรือเทียบเท่า วิชาเอก ……………………………
£ อื่น ๆ (โปรดระบุ) วิชาเอก …………………………
เงินเดือน อันดับ คศ. 2 อัตราเงินเดือน 20,670 บาท
สถานที่ทำงาน (ขณะที่ทำแผนพัฒนาตนเอง)
โรงเรียน / หน่วยงาน ทุ่งกะโล่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
งานในหน้าที่รับผิดชอบ
กลุ่มสาระที่สอน ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ปฏิบัติการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน3 อ 33101 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปฏิบัติการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน5 อ 42101 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กิจกรรมชุมนุม ภาษาอังกฤษ
งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
1. หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
2. หัวหน้างานประชาสัมพันธ์
3. หัวหน้างานสารบรรณฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน
4. เจ้าหน้าที่งานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
5. เจ้าหน้าที่งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
6. เจ้าหน้าที่งานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
7. เจ้าหน้าที่งานเสริมสร้างวินัยและความประพฤตินักเรียน
8. เจ้าหน้าที่งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์
ผลงานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปัจจุบัน
( ย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี )
1. ผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้
ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน โดยมีการวางแผนในการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอน คือ วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐาน สาระการเรียนรู้วิชาที่จะทำแผน ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและนวัตกรรม การวัดผลประเมินผล จัดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และศักยภาพของผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ได้จัดทำแผนการเรียนรู้ทุกรายวิชาที่ทำการสอน ในการดำเนินการสอนได้นำแผนการสอนที่ได้วางแผนไว้มาดำเนินการสอนให้คำแนะนำด้านกระบวนการและความรู้เพิ่มเติม กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้ ได้วัดผลประเมินผลอย่างหลากหลายและเป็นไปตามสภาพจริง เมื่อจบกิจกรรมการเรียนรู้ ได้บันทึกผลหลังสอนทุกแผน ทำให้ทราบผลที่เกิดกับนักเรียน ผลจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้นักเรียนสนใจและตั้งใจเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ผลที่เกิดจากการพัฒนาวิชาการ
ได้ปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานวิชาการเกิดผลดีต่อโรงเรียน ดังนี้
1. เป็นเจ้าหน้าที่งานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นหัวหน้ามาตรฐานที่ 17
รวบรวมเอกสาร ผลงานของโรงเรียน พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. เป็นเจ้าหน้าที่งานส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ พัฒนาครูในโรงเรียนให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
3. เป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พัฒนาการสอนและการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน
4. ร่วมจัดทำเครื่องมือวัดผลประเมินผลของโรงเรียนเพื่อใช้ประเมินผลนักเรียนในโรงเรียน
5. จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้อย่างเต็มศักยภาพ
6. จัดกิจกรรมตอบปัญหาทางวิชาการ ให้กับนักเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
7. ดำเนินการสอนแทน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในระหว่างที่ครูประจำวิชาไม่มาปฏิบัติหน้าที่
8. ร่วมจัดงานนิทรรศการวิชาการของโรงเรียน เพื่อแสดงผลงานต่างๆ ของโรงเรียน ครู และนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่าย ชุมชน ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปได้ทราบผลการพัฒนาด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ
ผลจากการดำเนินงานด้านวิชาการการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน พัฒนาครูผู้สอน ทำให้โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยบุคลากรในโรงเรียน และโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สมศ.) รอบสอง
3. ผลที่เกิดกับผู้เรียน
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้
2. นักเรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ โดยการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ สามารถนำความรู้ไปใช้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. นักเรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหาและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดทั้งเป็นผู้มีเหตุผลที่ดี ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสามารถปฏิบัติงานตามกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว มุ่งมั่นในการทำงาน และปฏิบัติงานได้จนสำเร็จ
4. นักเรียนมีการพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา โดยมีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร ประหยัด อดออม ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. นักเรียนมีส่วนร่วมและเชิญชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
6. นักเรียนมีการแสดงออกด้วยความมั่นใจ มีนิสัยร่าเริงแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น มีความกระตือรือร้น มาเรียนอย่างสม่ำเสมอ และร่วมปฏิบัติกิจกรรมหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
7. นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี โดยมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข รักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องใช้อย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมลภาวะได้อย่างเหมาะสม
8. นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี และเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู
4. ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้าด้วยความมุ่งมั่น เสียสละและเอาใจใส่ต่อภาระงานที่รับผิดชอบ และเป็นกัลยาณมิตร บังเกิดผลดีต่อสถานศึกษา ดังนี้
1. โรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา รอบ 2 (พ.ศ.2549 - 2553) ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2. สถานศึกษามีความพร้อมในด้านแหล่งเรียนรู้ สามารถเป็นแบบอย่างในด้านห้องสมุด ด้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 และมีสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง
5. ผลที่เกิดกับชุมชน
สถานศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน อย่างสม่ำเสมอ ตลอดปีการศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา และวันสำคัญต่างๆ เช่น ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ การทอดผ้าป่า ทอดกฐิน กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันพ่อ
ตลอดจนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจที่ดีต่อกัน เกิดความรักและความภาคภูมิใจในโรงเรียนและท้องถิ่น นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดกิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละภาคเรียนเพื่อชี้แจงนโยบายของโรงเรียนและหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดการพัฒนาตนเอง ด้านสมรรถนะ
อันดับ
ความสำคัญ
|
สมรรถนะที่จะพัฒนา
|
วิธีการ /
รูปแบบการพัฒนา
|
ระยะเวลาในการพัฒนา
|
การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
|
|
ด้านสมรรถนะหลัก
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
1.1 คุณภาพงานด้านความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรม/ทางเลือกใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
1.3 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง
|
1. การเตรียมการ ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี หลักการเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษา วางแผนพัฒนานวัตกรรมในรายวิชาที่ทำการสอน
2. การปฎิบัติ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำโครงการพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้
4 หน่วย จัดทำแผนการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรม กำหนดชิ้นงาน สร้างแบบทดสอบ 1 ฉบับ นำนวัตกรรมไปทดลองหาคุณภาพเบื้องต้น ปรับปรุงแล้วนำไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลตามรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน 1 หน้า หรือ 5 บท
3. การติดตาม ตรวจสอบผลงานตนเอง ตามโครงการพัฒนาการเรียนรู้
4. การประเมิน ประเมินคุณภาพผู้เรียนและประสิทธิภาพของนวัตกรรม
|
1 เมษายน 2552 – 31 มีนาคม 2553
|
ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
|
1) ผลงานจากการปฏิบัติงานของโรงเรียนมีความถูกต้อง เหมาะสมตามหลักการ
2) ได้รับการนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดการเร่งรัดการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้
3) เกิดการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
|