บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ยางล้อสปริง เพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า
วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่งูด
ผู้ดำเนินการ นายวัฒนา ศรีตุลา
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการวิ่งกระโดพุ่งม้วนหน้า โดยใช้อุปกรณ์ยางล้อสปริง วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐานโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพการยืนกระโดดไกล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้ นวัตกรรมยางล้อสปริง เพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่งูด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 จำนวน 25 คน เป็นชาย 13 คน หญิง 12 คน สรุปผลการศึกษาดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้าระหว่างก่อนกับหลังใช้ยางล้อสปริง พัฒนาทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐาน โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพการยืนกระโดดไกล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แสดงผลการเปรียบเทียบทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้าระหว่างก่อนกับหลังใช้ยางล้อสปริงพัฒนาทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้าก่อนใช้ยางล้อสปริง มีระยะทางเฉลี่ย 124.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.699 และมีระยะทางเฉลี่ยหลังใช้ยางล้อสปริง 136.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.139 เมื่อเปรียบเทียบด้วยสถิติทดสอบ Dependent t-test พบว่า ค่า t-test เท่ากับ 12.603 Sig. เท่ากับ .000 หมายถึง นักเรียนมีทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้าหลังใช้ยางล้อสปริงสูงกว่าก่อนใช้ยางล้อสปริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงเพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งกระโดดพุ่งม้วนหน้า วิชายิมนาสติกขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวม พบว่า นักเรียนพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 41.7) เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า นักเรียนพึงพอใจในระดับมากที่สุด 4 เรื่อง ได้แก่ นวัตกรรมยางล้อสปริงทำให้นักเรียนออกกำลังกายอย่างถูกต้อง (ค่าเฉลี่ย 4.72) นวัตกรรมยางล้อสปริงทำให้นักเรียนมีทักษะยิมนาสติกขั้นพื้นฐาน(ค่าเฉลี่ย 4.61) นวัตกรรมยางล้อสปริงช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย (ค่าเฉลี่ย 4.53) นวัตกรรมยางล้อสปริงอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี (ค่าเฉลี่ย 4.52) และการฝึกโดยใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย (ค่าเฉลี่ย 4.51) นอกนั้น พึงพอใจในระดับมาก ได้แก่ การทดสอบก่อนหลังการฝึกโดยใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงมีเกณฑ์การให้คะแนนสอบที่ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 4.22) การใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงมีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน (ค่าเฉลี่ย3.88) การใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงสามารถใช้ฝึกได้สะดวก (ค่าเฉลี่ย3.64) การทดสอบก่อนหลังการฝึกโดยใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงสามารถประเมินผลตามความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน (ค่าเฉลี่ย3.53) การใช้นวัตกรรมยางล้อสปริงมีความปลอดภัยในการฝึก (ค่าเฉลี่ย3.50)