บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่
เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ
ชื่อผู้ประเมิน : สมเกียรติ กระสันต์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านน้ำเดื่อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
ปีที่ผลิต : พ.ศ. 2551
รายงานการประเมินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model มี 4 ด้าน คือ 1) ประเมินความเหมาะสมด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2) ประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นที่สนับสนุนการดำเนินงาน 3) ประเมินการปฏิบัติของกระบวนการดำเนินงาน และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ และ (2) เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ จำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มครูผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งหมด 63 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ได้สร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง เชื่อถือได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นประชากร วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
1. ความเหมาะสมของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบโครงการ
1.1 ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.10 S.D.=.34) โดยที่ผู้บริหารได้ชี้แจงนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการฯ และครูได้ทำความเข้าใจในนโยบายการดำเนินงานเกษตรชีววิถีสู่เศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x= 4.40 S.D.=.54) รองลงมาคือ ผู้บริหารสนับสนุนข้อมูล และสารสนเทศที่จะใช้ดำเนินงานตามโครงการฯ
1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 3.90 S.D.=.13) โดยที่โรงเรียนจัดทำแผนการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและนำไปปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x= 4.00 S.D.=.00 รองลงมาคือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการฯ จากหน่วยงานภายนอก
1.3 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( x= 3.94 S.D.=.34) โดยที่การอบรมการทำและการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช และการทำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการปลูกและบำรุงรักษาผักอินทรีย์ เพื่ออาหารกลางวัน นำผลผลิตที่ได้จากโครงการฯ ไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x = 4.20 S.D.=.44) รองลงมาคือ ครู และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมโครงการฯ
1.4 ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.30 S.D.=.21) โดยที่โรงเรียนจัดอาหารที่มีคุณค่าและถูกหลักโภชนาการบริการแก่นักเรียนทุกวัน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่ออาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x= 4.80 S.D.=.44) รองลงมาคือ นักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์
2. ความเหมาะสมของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ชั้น ป.4-6
2.1 ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.15 S.D.=.38) โดยที่นักเรียนได้ทำความเข้าใจในนโยบายการดำเนินงานเกษตรชีววิถีสู่เศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x = 4.37 S.D.=.59) รองลงมาคือ ครูในโรงเรียนได้นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้
2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.12 S.D.=.40)โดยที่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีการพัฒนาทักษะและความชำนาญในการดำเนินงานตามโครงการฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x= 4.26 S.D.=.65) รองลงมาคือ โรงเรียนจัดสรรพื้นที่การทำแปลงเกษตร การเลี้ยงปลา และการสร้างบ่อน้ำ
2.3 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.05 S.D.=.36) โดยที่ การอบรมการทำและการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ สมุนไพรกำจัดศัตรูพืชและการทำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x = 4.32 S.D.=.67) รองลงมาคือ โรงเรียนได้กำหนดกิจกรรมของโครงการไว้อย่างชัดเจนและมีการดำเนินการอย่างจริงจัง
2.4 ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( x= 4.48 S.D.=.18) โดยที่ นักเรียนมีความพึงพอใจต่ออาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.79 S.D.=.41) รองลงมาคือ โรงเรียนจัดอาหารที่มีคุณค่าและถูกหลักโภชนาการบริการแก่นักเรียนทุกวัน
3. ความเหมาะสมของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน
3.1 ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( x= 4.29 S.D.=.42) โดยที่ ผู้ปกครองมีความเข้าใจในนโยบายการดำเนินงานเกษตรชีววิถีสู่เศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความเหมาะสมมากที่สุด ( x= 4.51 S.D.=.50) รองลงมาคือ โรงเรียนได้เชิญวิทยากรชุมชนฝึกอบรมให้ความรู้และคำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ
3.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( x= 4.14 S.D.=.36)โดยที่ โรงเรียนจัดสรรพื้นที่การทำแปลงเกษตร การเลี้ยงปลา และการสร้างบ่อน้ำเลี้ยงปลา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x = 4.26 S.D.=.54) รองลงมาคือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีทักษะ และความชำนาญในการดำเนินงานตามโครงการฯ
3.3 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( x = 4.09 S.D.=.15) โดยที่ การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อธรรมชาติขนาดใหญ่เพื่ออาหารกลางวัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x= 4.41 S.D.=.67) รองลงมาคือ นำผลผลิตที่ได้จากโครงการฯ ไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน
3.4 ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (x = 4.34 S.D.=.16) โดยที่ นักเรียนมีความพึงพอใจต่ออาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และมีความเหมาะสมมากที่สุด (x = 4.62 S.D.=.49) รองลงมาคือ โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการประกอบอาหาร
4. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินงานตามโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก คือ ควรเพิ่มงบประมาณในการดำเนินการ ร้อยละ 100 รองลงมาคือ ควรมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของครูในการดำเนินโครงการ ร้อยละ 80 ควรรักษาคุณภาพอาหารให้มีความสะอาด ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 โรงเรียนควรจัดวัสดุ อุปกรณ์ให้นักเรียนไปฝึกปฏิบัติที่บ้านของตนเอง ร้อยละ 73.68 และครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมฝึกปฏิบัติการเกษตรตามแนวทางชีววิถีอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 63.16