บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานอาคารสถานที่
บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และนักเรียนใน
โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ประเมิน นายวิฑูร นรารัตน์
ปีการศึกษา 2551
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน พัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ปีการศึกษา 2551 เพื่อรายงานผลการพัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้าราชการครู และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด อำเภอ
ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 341 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู จำนวน 92 คน และนักเรียน จำนวน 249 คน (เฉพาะห้อง 1 ของชั้น ม.1 - ม.6) ปีการศึกษา 2551 โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประเมินเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของครู และนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นครูที่ปรึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 100.00 นักเรียนคิดเป็น
ร้อยละ 100.00
ผลการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของการพัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และ
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยการเปรียบเทียบของปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551 ในทรรศนะของครูและนักเรียน
1.1 ด้านบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไปในโรงเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.45, SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม (X= 4.63, SD= 0.49) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.29, SD= 0.46) ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.63, SD= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม (X= 4.73, SD= 0.44) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.50, SD= 0.50)
1.2 ด้านการพัฒนาอาคารเรียน และห้องเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.44, SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระเบียบ และสวยงาม (X= 4.59, SD= 0.49) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ เมื่อมีการแจ้งซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดในอาคารจะได้รับการซ่อมแซมอย่างทันท่วงที (X= 4.29, SD= 0.46) ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.64, SD= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระเบียบ และสวยงาม (X= 4.73, SD= 0.44) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ เมื่อมีการแจ้งซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดในอาคารจะได้รับการซ่อมแซมอย่างทันท่วงที (X= 4.53,SD= 0.50)
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของการพัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยการเปรียบเทียบของปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551 ในทรรศนะของครู
2.1 ด้านบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไปในโรงเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.48, SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ บริเวณโรงเรียนได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่สะอาด สวยงามอยู่เสมอ (X= 4.65, SD= 0.48) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.27, SD= 0.45) ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.61, SD= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ บริเวณโรงเรียนได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่สะอาด สวยงามอยู่เสมอ (X= 4.76, SD= 0.43) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.43, SD= 0.50)
2.2 ด้านการพัฒนาอาคารเรียน และห้องเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.44,SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระเบียบ และสวยงาม (X= 4.60, SD= 0.49) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ โรงฝึกงาน เช่น อาคารเกษตรกรรม อาคารอุตสาหกรรม และอาคารคหกรรม มีการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกงานอย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้ และการเก็บบำรุงรักษา (X= 4.27, SD= 0.45) ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.63, SD= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระเบียบ และสวยงาม (X= 4.76, SD= 0.43) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ โรงฝึกงาน เช่น อาคารเกษตรกรรม อาคารอุตสาหกรรม และอาคารคหกรรม มีการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกงานอย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้ และการเก็บบำรุงรักษา (X= 4.49, SD= 0.50)
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของการพัฒนาอาคารสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยการเปรียบเทียบของปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2551 ในทรรศนะของนักเรียน
3.1 ด้านบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไปในโรงเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.41, SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม(X= 4.60, SD= 0.49) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.30, SD= 0.46) ปีการศึกษา 2551โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.60, SD= 0.49) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม (X= 4.76, SD= 0.47) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ ห้องสุขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสม สะอาด และปราศจากกลิ่นรบกวน (X= 4.46, SD= 0.50)
3.2 ด้านการพัฒนาอาคารเรียน และห้องเรียน โดยภาพรวมของปีการศึกษา 2550 อยู่ในระดับมาก (X= 4.41, SD= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย และเป็นระเบียบ (X= 4.60, SD= 0.49) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ โรงฝึกงาน เช่น อาคารเกษตรกรรม อาคารอุตสาหกรรม และอาคารคหกรรม มีการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกงานอย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้ และการเก็บบำรุงรักษา (X= 4.32, SD= 0.47) และเมื่อมีการแจ้งซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดในอาคารจะได้รับการซ่อมแซมอย่างทันท่วงที (X= 4.32, SD= 0.47)ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.59, SD= 0.48) เมื่อพิจารณา
รายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการวิเคราะห์มากที่สุด คือ ภายในห้องเรียนมีการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย และเป็นระเบียบ (X= 4.74, SD= 0.44) ส่วนข้อที่มีผลการวิเคราะห์น้อยที่สุด คือ โรงฝึกงาน เช่น อาคารเกษตรกรรม อาคารอุตสาหกรรม และอาคารคหกรรม มีการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกงานอย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้ และการเก็บบำรุงรักษา (X= 4.46, SD= 0.50)