บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนบ้านเขามะกา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนบ้านเขามะกา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยนำรูปแบบของการประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model)
มาประยุกต์กับตัวชี้วัดความสำเร็จในการจัดห้องสมุดมีชีวิตเป็นแนวทางในการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 21 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 154 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ เป็นแบบสอบถามรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนบ้านเขามะกา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 ในภาพรวม พบว่า การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1. ด้านบริบท ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นในการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่าโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับนโยบายห้องสมุดของโรงเรียน
ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โครงการมีความสอดคล้อง
กับความต้องการของผู้ปกครองและท้องถิ่น สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน
และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นในการประเมินความพอเพียงอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพอเพียงอยู่
ในระดับมาก ทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบริหารจัดการ
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในการประเมินการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ประจำสม่ำเสมอ และหลากหลาย โดยมีแผนที่ชัดเจนเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
และเปิดบริการห้องสมุดตลอดเวลาทำการของโรงเรียน
4. ด้านผลผลิต ครูผู้สอน และนักเรียนมีความคิดเห็นในการประเมินความสำเร็จอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า บุคลากรในโรงเรียนใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการห้องสมุดมีชีวิตสอดแทรกกับกิจกรรมการเรียน
การสอนตามหลักสูตร โดยจัดเป็นประจำและต่อเนื่อง ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า กิจกรรมเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิตสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการห้องสมุดมีชีวิตเป็นประจำอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย