ขอแนะนำให้รู้จักกับประเพณี..ศีลอด
ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ
"ซะฮาบัซ ซอมะอุ วัลตัลละติลอุรูกุ วะซะบะตัลอัญญ์รุ อินชาอัลลอฮ"
ความหมาย : "ความกระหายได้หมดสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่นและจะได้รับผลบุญอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮ์"
สิ่งที่ผู้ถือศีลอดควรปฏิบัติ
- เหนียตถือศีลอดก่อนเวลาฟัจร์ (อะซานซุบฮ)
- รักษาเวลาละหมาดญะมาฮ์ครั้งแรกโดยพร้อมเพรียงกัน
- อ่านอัลกุรอานพร้อมเข้าใจความหมาย
- ซิกรุลลอฮตลอดเวลา
- ศึกษาหาความรู้ด้านศาสนาทุกรูปแบบ
สิ่งที่อนุญาตให้กระทำขณะถือศีลอด
- ใช้น้ำกลั้วปากและสูดน้ำเข้าจมูกขณะอาบน้ำละหมาด
- ชิมอาหาร (ไม่ให้เข้าลำคอ)
- ใช้ผงทาตาหรือยาหยอดตา
- รดน้ำบนศรีษะหรืออาบน้ำ
- ฉีดยาที่มิใช่ยาบำรุงกำลัง
สิ่งที่ทำให้เสียการศีลอด
- กินหรือดื่มโดยเจตนา
- อาเจียนโดยตั้งใจ
- มีประจำเดือน
- มีเลือดหลังคลอดบุตร
- ฉีดยาบำรุงกำลัง
- ร่วมประเวณีในเวลากลางวัน
สิ่งที่ผู้ถือศีลอดต้องละเว้น
- การพูดจาหยาบคายหรือพูดเท็จ
- การพูดหรือกะทำในสิ่งที่ไร้สาระ
สิ่งที่ผู้ถือศีลอดจะได้รับ
- ได้เข้าสวรรค์ทางประตู "อัรรอยยาน" (เฉพาะผู้ถือศีลอด)
- การถือศีลอดจะขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ ให้แก่เขาในกุบุรและวันกิยามะฮ์
- เป็นส่วนหนึ่งของการไถ่บาปหรือลบล้างความผิด
"ผู้ใดถือศีลอดรอมฏอนด้วยความศรัทธาและหวังการตอบแทนจากอัลลอฮ
เขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปของเขาในอดีต"
ผู้มีอุปสรรคไม่สามารถถือศีลอดได้
- คนป่วย (ชั่วคราว) อนุญาตให้ละศีลอดและถือใช้หลังเดือนรอมฏอน
- คนป่วย (โรคประจำตัว) อนุญาตให้ละศีลอด และตวงอาหารวันละครึ่งกิโลกรัม (โดยประมาณ) ให้แก่คนยากจน
- คนชราที่ไม่สามารถถือศีลอด อนุญาตให้ละศีลอดและตวงอาหารเช่นกัน
- สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร หากไม่สามารถถือศีลอดได้อนุญาตให้ละศีลอด และไม่จำเป็นต้องถือใช้หลังเดือนรอมฏอน แต่ให้ตวงอาหารแก่คนยากจน ก็พอเพียงแล้วในทัศนะที่ถูกต้อง
- ผู้เดินทางไกล อนุญาตให้ละศีลอด และถือใช้หลังเดือนรอมฏอน
โดย : ชมรมอัซซุนนะห์-บางกอกน้อย