บทคัดย่อ
ชื่อรายงาน รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพแลเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2551
ชื่อผู้รายงาน นางวันวิสา วรวุฒิ ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนระหานวิทยา
อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
รายงานการสร้างและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 38 คน โรงเรียนระหานวิทยา
อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กิจกรรมในเอกสารประกอบการเรียน และแบบสอบ
ถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) หาค่าเฉลี่ย ( ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งด้านกระบวนการระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบทดสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) สถิติค่า t - test dependent 4) สถิติการวิเคราะหหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน 1) เอกสารประกอบการเรียนวิชา ช่างเย็บผ้าด้วยมือ (ง30267) เมื่อนำมาหาประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.39/82.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมากทุกด้าน 3) ผลฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนได้ะแนนเฉลี่ย เท่ากับ17.21โดยการทดสอบค่าที (t – test) ได้ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 )