บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
โดยใช้ประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน
ผู้รายงาน นางโสภี ผ่องวิจิตร
สาขา การศึกษาปฐมวัย
ปี พ.ศ. 2551
สถานศึกษา โรงเรียนวัดใหญ่อ่างทอง(เทียนประชาสรรค์)
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานผลการพัฒนาทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยโดยใช้ประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการสังเกต ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน และศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการสังเกตครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดใหญ่อ่างทอง(เทียนประชาสรรค์) จำนวน 19 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการสังเกต เป็นกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) และการวิเคราะห์การเปรียบเทียบการพัฒนาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียนโดยใช้ ค่าสถิติ t-test
ผลการพัฒนา พบว่า
1. เด็กปฐมวัยปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียน มีพัฒนาการด้านทักษะสูงขึ้น มีการแสดงพฤติกรรมด้านการสังเกตอย่างเห็นได้ชัด มีสมาธิในการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน มีเหตุผลในการตอบคำถามจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามากขึ้น
2. เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาตินอกห้องเรียนมีทักษะการสังเกตสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้