แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชุดแต่งคำประพันธ์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒
คำชี้แจงในการใช้แบบทดสอบ
แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย มีทั้งหมด ๔๐ ข้อ ๔ ตัวเลือก ให้นักเรียน กาเครื่องหมายกากบาท (x) ทับอักษร ก ข ค หรือ ง ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ
.................................................................................................................................................
๑. การที่จะแต่งบทร้อยกรองให้ไพเราะชวนอ่านนั้นมีองค์ประกอบใดบ้าง ?
ก. แต่งตามสาระเรื่องราวที่คนสนใจ
ข. แต่งตามกระแสสังคมในยุคนั้นๆ
ค. แต่งโดยใช้ภาษาที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น
ง. แต่งตามกฎเกณฑ์ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์
๒. ข้อใดอธิบายคำว่า ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ได้ชัดเจนที่สุด ?
ก. บทประพันธ์ที่มีสัมผัสคล้องจองกันชัดเจน
ข. การผูกถ้อยคำให้เป็นบทร้อยกรองชนิดต่าง ๆ
ค. ข้อบังคับที่โบราณวางเป็นแบบในการแต่งบทร้อยกรอง
ง. การจัดเรียงคำเป็นวรรคเป็นคำและเป็นบาทตามชนิดของคำประพันธ์
๓. คำประพันธ์ประเภทใดบังคับ เรื่อง เสียงวรรณยุกต์ ?
ก. กลอนสุภาพ
ข. กาพย์ยานี ๑๑
ค. โคลงสี่สุภาพ
ง. กาพย์ฉบัง ๑๖
๒
๔. คำประพันธ์ประเภทใดมีสัมผัสบังคับน้อยที่สุด ?
ก. กาพย์ยานี ๑๑
ข. โคลงสี่สุภาพ
ค. กาพย์ฉบัง ๑๖
ง. กลอนสุภาพ
๕. ข้อความต่อไปนี้ถ้าแบ่งวรรคตอนถูกต้อง จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทใด ?
“ หวานใดไม่หวานนักเท่ารสรักสมัครสมไร้รักหนักอารมณ์หวานเหมือนขมอมโศกา”
ก. กาพย์ฉบัง ๑๖
ข. กาพย์ยานี ๑๑
ค. กลอนสุภาพ
ง. โคลงสี่สุภาพ
๖. ข้อใดใช้ศิลปะการประพันธ์ด้านการเล่นคำ ?
ก. หวานคารมคมคำที่ฉ่ำจิต
ข. หวานสนิทยิ่งล้ำน้ำคำหวาน
ค. เหมือนน้ำทิพย์ชโลมใจให้ชื่นบาน
ง. หวานอ้อยตาลหรือจะเทียบเปรียบหวานคำ
๗. การหยิบยกตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบาย เพื่อสนับสนุนข้อความที่เขียน
เป็นการเขียนที่ใช้โวหารประเภทใด ?
ก. อุปมาโวหาร
ข. เทศนาโวหาร
ค. สาธกโวหาร
ง. พรรณนาโวหาร
๓
๘. การเขียนเรื่องราวอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์ซาบซึ้งใจ ประทับใจ
เป็นการเขียนที่ใช้โวหารประเภทใด ?
ก. อุปมาโวหาร
ข. เทศนาโวหาร
ค. สาธกโวหาร
ง. พรรณนาโวหาร
๙. บทร้อยกรองนี้จัดเป็นโวหารชนิดใด ?
“ บ้างเร่งทำตำหนักน้อยใหญ่ เพิงรายรอบในซ้ายขวา
ข้างนอกค่ายปักขวากดาษดา ชักเขื่อนเข้าหาประจบมุม ”
ก. บรรยายโวหาร
ข. อุปมาโวหาร
ค. สาธกโวหาร
ง. พรรณนาโวหาร
๑๐. ข้อใดไม่มีการใช้อุปมาโวหาร ?
ก. ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องหรือโฉมไหน
ข. รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
ค. ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ง. ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
๑๑. ข้อใดเป็นพรรณนาโวหาร ?
ก. มีเจดีย์วิหารเป็นลานวัด ในจังหวัดวงแขวงกำแพงกั้น
ข. กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
ค. ขอฟุ้งเฟื่องเรื่องวิชาปัญญายง ทั้งพระสงฆ์ทรงศีลขันธ์ในสันดาน
ง. ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจิ้งหรีดเรื่อย พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาน
๔
๑๒. คำในข้อใดสัมผัสกับคำว่า สาว ?
ก. เขลา
ข. เยาว์
ค. เสาร์
ง. พราว
๑๓. ข้อใดมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ ?
ก. หัวลิงหมากลางลิง
ข. ต้นลางลิงแลหูลิง
ค. ลิงไต่กระไดลิง
ง. ลิงโลดคว้าประสาลิง
๑๔. ข้อใดมีสัมผัสสระคล้องจองเหมาะสมที่สุดสำหรับเติมลงในช่องว่างต่อไปนี้ ?
“ ยังอยากเขียน.............มีประโยชน์”
ก. ลำนำ
ข. กลอนดี
ค. คำกลอน
ง. อักขรวิธี
๑๕. ข้อใดมีสัมผัสอักษรคล้องจองกันมากที่สุด ?
ก. ทุกท้องถิ่นทนทานทุกข์ถมทับ
ข. รอคอยรับความเมตตาจากฟ้าฝน
ค. ความยากจนข้นแค้นแน่นกมล
ง. ความอดทนเท่านั้นที่มั่นคง
๕
๑๖. คำใดเมื่อเติมลงในช่องว่างแล้ว จะสัมผัสอักษรกับคำหน้าและคำหลัง ?
“ กลับกระฉอก....................ฉวัดเฉวียน ”
ก. สาดซัด
ข. ซัดสาด
ค. ฉาดฉัด
ง. ฉัดฉาด
๑๗. กลอนสุภาพแต่ละวรรคมีชื่อเรียกเรียงกันว่าอย่างไร ?
ก. ส่ง,รับ,รอง,สลับ
ข. สดับ,รับ,รอง,ส่ง
ค. รอง,รับ,ส่ง,สลับ
ง. รับ,รอง,สลับ,ส่ง
๑๘. ข้อใดผิดลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ ?
ก. พิศพักตร์พักตร์ผ่องผุด
งามบริสุทธิ์เล่ห์จันทร
ข. โอ้อกเอ๋ยอกโอ้โอ้อกโอย
ช่างชมโชยชายเชือนเช่นเชิงชี้
ค. ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้
เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
ง. แสนสงสารมารดาอุตส่าห์ถนอม
จะซูบผอมเผือกผิวเพราะหิวโหย
๑๙. ข้อใดเหมาะสมที่จะเป็นวรรครับของกลอนสุภาพ ?
ก. ยิ้มให้สายลมที่รินรวย
ข. หรี่ตาล้อเล่นกับดอกไม้
ค. มาเถิดมามาช่วยกันแย้มยิ้ม
ง. ยิ้มหน่อยได้ไหมดอกไม้สวย
๖
๒๐. คำใดเมื่อเติมในช่องว่างแล้วจะสัมผัสสระกับคำหน้าและคำหลัง ?
“ไม่รักเนื้อ.............ว่าเป็นหญิง”
ก. เชื้อเช่น
ข. รักนวล
ค. ถือเด่น
ง. เบื่อหน้า
๒๑. จงเลือกข้อที่เหมาะสมที่สุด เติมลงในวรรคสุดท้ายของกลอนสุภาพบทต่อไปนี้ ?
“จงก้าวไปข้างหน้านะพวกเรา ขจัดเขลาเข้าสู่ชีวิตใหม่
จะรอรั้งนั่งเฉยอยู่ทำไม .....................................”
ก. มาเถิดมาก้าวไปพร้อมกัน
ข. มาเถิดหนาก้าวไปอย่าชักช้า
ค. มาเร็วไวก้าวไปอย่าท้อถอย
ง. มาก้าวไปข้างหน้าอย่าถอยหนี
๒๒. กลอนสุภาพต่อไปนี้มีข้อบกพร่องในเรื่องใด ?
“อันสติปัญญามีค่าล้น
ช่วยดาลดลคนทุกคนผลพิสุทธิ์
นำชีวิตพัฒนามาทุกยุค
ช่วยรั้งฉุดฉากโฉดเขลาเมามัวมอม”
ก. ผิดสัมผัส
ข. ใช้คำตายผิด
ค. ผิดจำนวนคำ
ง. ผิดเสียงท้ายวรรค
๗
๒๓. กลอนสุภาพที่ยกมานี้ดีเด่นด้านใด ?
“ทั้งยุงชุมรุมกัดปัดเปรียะปะ
เสียงผัวะผะพึบพับปุบปับแปะ”
กลอนสุภาพนี้ดีเด่นด้านใด
ก. การใช้คำซ้ำ
ข. การสัมผัสสระ
ค. การสัมผัสพยัญชนะ
ง. การเล่นเสียงวรรณยุกต์
๒๔. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับกาพย์ยานี ๑๑ได้ถูกต้อง ?
ก. บทหนึ่งมี ๒ บาท
ข. คำสุดท้ายของบทควรใช้คำเป็น
ค. กาพย์ยานี ๑๑ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
ง. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒
๒๕. ข้อใดมีจำนวนพยางค์เท่ากับวรรคที่ ๑ และ ๔ ของกาพย์ยานี ๑๑ ?
ก. ข้ามฝั่งยังทะเล
ข. ท้องฟ้าทะเลสีคราม
ค. หาดงามยามเย็นย่ำ
ง. ถิ่นใดไหนงดงาม
๒๖. ข้อใดเติมในช่องว่างต่อไปนี้ได้กาพย์ยานี ๑๑ ที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ?
“ชวนเชิญเยาวชน ร่วมฝึกฝนภาษาไทย
............................. ว่าเราไซร้ใช้กาพย์เอย”
ก. พวกเราเป็นเด็กไทย
ข. ทุกทุกวัยสะกดคำ
ค. วัฒนธรรมชี้นำได้
ง. จำใส่ใจไว้พวกเรา
๘
๒๗. จงเลือกข้อที่เหมาะสมที่สุด สำหรับเติมลงในวรรคที่ ๒ ของกาพย์ยานี ๑๑
บทต่อไปนี้ ?
“ทะเลและภูเขา ....................................
ธรรมชาติสะอาดตา ทัศนามาเมืองไทย ”
ก. มองภูเขาสวยจริงหนา
ข. เป็นของเราควรรักษา
ค. มองน้ำใสหอยปูปลา
ง. แต่ก่อนเก่าเราห่วงหา
๒๘. บิดาและมารดร เฝ้าอาวรณ์ห่วงใยเรา
......................... ................................
ควรเติมข้อความใดในกาพย์ยานี ๑๑ บทนี้จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ที่สุด ?
ก. เหนื่อยยากมานานเนา