Advertisement
|
|
|
สำหรับแฟนๆ ที่ได้ดู The Jacksons: An American Dream ไปแล้ว มีอีกซีรีส์หนึ่งที่ผมอยากแนะนำก็คือ Man In The Mirror: The Michael Jackson Story ซึ่งเรื่องราวสร้างมาต่อจากหนังตัวแรกอย่างจงใจ แต่ให้บรรยากาศที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตอนจบของ American Dream ซึ่งเป็นตอนที่ไมเคิลฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บไฟไหม้ศีรษะและกลับมาแสดงร่วมกับพี่น้อง The Jacksons และปิดซีรีส์ลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งตามชื่อเรื่อง แต่ใน Man In The Mirror ที่นำเหตุการณ์แบบเดียวกันมาเป็นตัวเปิดเรื่อง เราได้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งของเรื่องราวเดียวกัน ทั้งการที่ไมเคิลไม่ต้องการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับเครื่องดื่มน้ำดำตั้งแต่แรกเพราะไม่ต้องการชี้นำเยาวชนมาดื่มน้ำอัดลม แต่ต้องยอมตามเพราะเห็นแก่ครอบครัว และเป็นเขาเองที่ประกาศบนเวทีในการแสดงรอบสุดท้ายของ Victory Tour เมื่อปี 1984 ว่าเขาจะไม่กลับมาแสดงร่วมกับ The Jacksons อีกแล้ว เพื่อขอเปลี่ยนตัวเองให้เป็นศิลปินเดี่ยวโดยสมบูรณ์
สำหรับบางคน การผละพี่น้องออกมาเช่นนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ดูไม่ดี แต่บางคนคงอดสงสัยไม่ได้เหมือนกันว่าทำไมไมเคิลที่กลายเป็นศิลปินที่มียอดขายอันดับหนึ่งจากชุด Thriller ตั้งแต่ 2 ปีก่อน ยังต้องมาเป็นลูกทัวร์ให้กับวงในครอบครัวของเขาอีก ทั้งที่เห็นกันอยู่ว่าสิ่งที่ทำให้คนสนใจ The Jacksons ในตอนนั้นอยู่ที่ตัวไมเคิลเพียงคนเดียว
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ปัญหาภายในครอบครัวทำให้เขาไม่อาจร่วมงานกับพี่น้องได้อีกต่อไป ไม่นับเรื่องการไปโฆษณาให้เป็ปซี่ที่สุดท้ายได้ฝากรอยแผลให้กับเขาไปชั่วชีวิต แต่นโยบายการบังคับให้แฟนแต่ละคนต้องเหมาซื้อตั๋วคนละ 4 ที่นั่งในคอนเสิร์ต Victory Tour ที่ไมเคิลเองคัดค้านแนวคิดนี้แต่แรก แต่เป็นเขาเองที่ถูกสื่อและแฟนเพลงโจมตีว่าเห็นแก่เงิน ทำให้เขาเอารายได้ที่เป็นส่วนแบ่งของเขาทั้งหมด(5 ล้านเหรียญ)ไปบริจาคต่อการกุศลเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับการร่วมงานสำหรับเขาและ The Jacksons (กว่าจะร่วมแสดงกันอีกครั้งก็ปี 2001 ก่อนเหตุการณ์ 11 ก.ย.แค่วันเดียว)
Bad World Tour ในปี 1987 ที่เป็นการสนับสนุนอัลบั้ม Bad ที่ออกมาฉลองอายุครบ 29 ปีในตอนนั้น จึงกลายเป็นทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกสำหรับไมเคิลในฐานะศิลปินเดี่ยว ที่เขาแสดงให้พี่น้องและคนในวงการร่วมพิสูจน์ว่าเขาพร้อมแค่ไหนกับการโซโลครั้งนี้
Human Nature
เป็นที่รู้กันดีว่าคอนเสิร์ตใหญ่ของไมเคิลทั้ง 3 ครั้ง ตั้งแต่ Bad World Tour, Dangerous World Tour, HIStory World Tour ต่างสร้างสถิติและทำลายสถิติยอดคนดูและรายได้กันเองมาตลอด แต่สิ่งที่ทำให้ Bad World Tour โด่นเด่นกว่าคอนเสิร์ตครั้งไหนๆ ก็เพราะเป็นการแสดงที่จับภาพไมเคิลตอนที่หนุ่มแน่นที่สุดเอาไว้นั่นเอง
สำหรับศิลปินอย่างไมเคิลที่ต้องร้องและเต้นไปพร้อมกันบนเวที เขาจำเป็นต้องมีความฟิตไม่ต่างจากผู้เล่นในเกมรุกของกีฬาฟุตบอล ที่ต้องรักษาการยืนระยะของตัวเองเอาไว้ได้ตลอด 90 กว่านาทีของการแสดง ซึ่งในวัย 29 ปีของเขาตอนนั้น เขาสามารถร้องและเต้นในทุกๆ เพลงได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยผู้ชมไม่เห็นการลิปซิงค์เข้าช่วยแม้แต่ครั้งเดียว โดยให้ทีมคอรัสแบ่งเบาหน้าที่ในส่วนที่เขาต้องเน้นที่การเต้นเป็นหลัก ขณะที่ทีมนักดนตรีในยุคนั้นก็เล่นสดแบบไม่มีการเปิดเทปเหมือนในคอนเสิร์ตของศิลปินดังๆ ในยุคต่อๆ มา
เมื่อเทียบกับ Dangerous World Tour ที่แน่นอนว่าเซ็ตลิสต์เพลงต้องสมบูรณ์แบบกว่า แต่อย่างที่เราเห็นกันในบันทึกการแสดง Live in Bucharest ไมเคิลในตอนนั้นกลายเป็นหัวใจสำคัญหนึ่งเดียวของการแสดงไปเสียแล้ว ต่างกับสมัย Bad ที่บทบาทของเขายังเป็นเหมือน "หัวหน้าวง" สำหรับทีมนักร้อง, นักเต้น และนักดนตรีที่ผลัดกันแสดงความสามารถ โดยมีบทบาทของไมเคิลในแต่ละเพลงเป็นตัวนำทาง
สรุปง่ายๆ ก็คือ Bad World Tour ไม่ใช่การแสดงของซูเปอร์สตาร์ แต่เป็นคอนเสิร์ตของศิลปินที่กระหายในแสดงความสามารถที่ล้นเหลือ ซึ่งเสน่ห์ของมันอยู่ที่ความเป็น"ธรรมชาติ" ของการแสดงในยุคที่การปรุงแต่งยังไม่เข้มข้นเท่ากับคอนเสิร์ตในยุคต่อๆ มา
Off The Wall
น่าเสียดายเหลือเกินว่าคอนเสิร์ตดังกล่าว โดยเฉพาะในเลคที่ 2 ที่ถ่ายทำในสนามเวมบลีย์ของอังกฤษนั้นกลับไม่มีการจำหน่ายออกมาในรูปแบบใดๆ มาตั้งแต่สมัยนั้น ซึ่งทุกวันนี้ได้มีแฟนๆ เข้าลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้คอนเสิร์ตดังกล่าววางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีกันกว่า 16,000 รายชื่อ หลังจากตลอดเวลาที่ผ่านมาทั้งตัวไมเคิลและค่ายเพลงโซนีเองไม่เคยคิดที่จะปล่อยมันออกมาให้แฟนๆ ได้ชมกันซักครั้ง
แต่ยังโชคดีของแฟนๆ ที่อย่างน้อยการแสดงในเลคแรกที่เปิดการแสดงประเดิมที่ประเทศญี่ปุ่น การแสดงในเมืองโยโกฮามาเมื่อเดือนก.ย. 1987 ได้มีการบันทึกเทปเอาไว้ เทปดังกล่าวได้กลายเป็นเหมือนจอกศักดิ์สิทธิ์ของวงการตั้งแต่สมัยเป็นวีดีโอปเทป จนถึงไฟล์ดีวีดีในทุกวันนี้
เพราะเวลาในการเปิดคอนเสิร์ตที่กระชั้นชิดจากการจำหน่ายอัลบั้ม Bad ไปเพียงแค่เดือนเดียว ทำให้ Bad World Tour ที่ว่านี้มีเพลงจากอัลบั้มดังกล่าวเพียงแค่ 2 เพลง คือซิงเกิลที่วางจำหน่ายไปแล้วอย่าง I Just Can't Stop Loving You (ดูเอ็ทกับ เชอริล โครว์ ครั้งที่ยังเป็นคอรัสให้กับไมเคิลในตอนนั้น) และ Bad ต่างจากเซ็ตลิสต์ในเลคที่ 2 ในปีต่อมาที่มีเพลงจาก Bad อยู่ถึง 7 เพลงด้วยกัน อาจเป็นเพราะไม่มีเวลาพอที่จะออกแบบท่าเต้นในการแสดงแต่ละเพลงได้ทัน จึงทำให้เซ็ตลิสต์ของคอนเสิร์ตที่โยโกฮามาแทบจะเหมือนกับของ Victory Tour สมัย The Jacksons ยังไงยังงั้น
แต่ข้อดีก็คือแฟนเพลงจะได้ชมการแสดงของไมเคิลในตอนนั้น กับเพลงที่แตกต่างกันถึง 5 ยุค ตั้งแต่ Jackson 5 (I Want You Back, The Love You Save, I'll Be There) และ The Jacksons (Things I Do for You, This Place Hotel, Lovely One, Shake Your Body)
รวมทั้งผลงานเดียวชุดแรกอย่าง Off the Wall ทั้ง Rock with You, Workin' Day and Night, She's out of My Life และโดยเฉพาะไตเติลแทร็กที่นำมาเล่นในจังหวะที่กระชับมากขึ้น ให้ความรู้สึกแบบฟิวชั่นแจ๊สเข้มข้นขึ้นไปอีก ไม่แปลกใจที่แฟนเพลงญี่ปุ่นจะกรี๊ดเพลงนี้มากๆ
Billie Jean
เพลงเด่นของของคอนเสิร์ตนี้ยังไงเสียก็ต้องอยู่ที่เพลงในชุด Thriller อย่างแน่นอน ทั้ง Wanna Be Startin' Somethin' ที่ใช้เปิดการแสดง Thriller, Billie Jean รวมทั้ง Human Nature ที่การร้องและการเต้นที่พริ้วไหวสะกดคนดูได้อยู่หมัด ส่วน Beat It ไมเคิลใช้มายากลย้ายตัวเองจากอีกฝั่งของเวทีมาอยู่บนเคลนได้อย่างตื่นตา และเป็นการแสดงที่เมามันที่สุดของคืนนั้น
หลังจากเดินสำรวจแหล่งดีวีดีเถื่อนแถวปิ่นเกล้า(ไม่มีเวลาไปแถบสีลมกับคลองถม) ก็พบว่าคอนเสิร์ตของไมเคิลกลับมาเป็นที่นิยมในแผงอีกครั้งหลังจากการเสียชีวิตของเขา ซึ่งแผ่นที่นิยมนำมาขายกันก็ไม่พ้น Live in Bucharest อันสุดโด่งดัง (ทีวีบ้านเราเอามาฉายให้ดูกันฟรีๆ เมื่อเดือนก่อน) แผ่นเอ็มวี 4 ตัวของเขา และหนัง Moonwalker แต่ยังไม่เห็นคอนเสิร์ตที่ว่านี้แต่อย่างใด และไม่รู้ว่าเมื่อบทความนี้ออกมาแล้วมันจะกลายเป็นสมาชิกใหม่บนแผงด้วยหรือเปล่า
ตัวผมเองดูคอนเสิร์ตตัวนี้สมัยเป็นวิดีโอตั้งแต่เด็กๆ จนกลับมาดูมันอีกครั้งเมื่อเดือนก่อนนี้เอง จากพี่น้องในโลกไซเบอร์ที่ปล่อยให้โหลดกันทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งภาพที่ออกมาอยู่ในขั้นใช้ได้ทีเดียว ระบบเสียง Dolby 2.0 ชัดเจน การจัดแสงและการตัดต่ออาจจะไม่ทันสมัยนัก แต่การกำกับภาพของคอนเสิร์ตในญี่ปุ่นบอกได้เลยว่าไม่เคยทำให้ผิดหวัง
ซึ่งจนกว่าคอนเสิร์ตตัวเต็มที่อังกฤษ ที่อยู่ในฝันของแฟนเพลงไมเคิลทั่วโลกจะออกมาให้ชมกันในแบบดีวีดี(หรือบลูเรย์กันไปเลย) Bad World Tour Yokohama 1987 คงเป็นทางเลือกที่ไม่เลวร้ายอะไรที่แฟนๆ จะได้กลับไปดูการแสดงของศิลปินที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงป็อป ในช่วงที่เขาท็อปฟอร์มที่สุด โดยที่ไม่ต้องง้อทั้งแผ่นแท้หรือแผ่นเทียม
Beat It
|
|
http://www.manager.co.th/Entertainment/
วันที่ 14 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,332 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,233 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,790 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,572 ครั้ง |
เปิดอ่าน 76,284 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,716 ครั้ง |
|
|