ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เสียงในภาษาไทย


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 1,332,545 ครั้ง
Advertisement

เสียงในภาษาไทย

Advertisement

เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด

 

          เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ

๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้

๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ

๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี

 

          ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น

- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น

สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ

สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ

- สระประสม มีจำนวน ๓ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น

สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่

เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา

เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา

อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา

***ซึ่งแต่เดิม จะมี สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ  เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ  อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ

***แต่เนื่องจากคำที่ประสมด้วยสระประสมเสียงสั้นเหล่านี้ มีใช้น้อยในภาษาไทย นักภาษาศาสตร์จึงไม่นับสระประสมเสียงสั้น " ข้างต้นว่าเป็นเสียงสระ เหลือเพียงแต่สระประสมเสียงยาวเพียง ๓ เสียงเท่านั้น***

 

 

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย พี่เลยจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้

 

สระเสียงสั้น (รัสสระ)

สระเสียงยาว (ทีฆสระ)

สระเดี่ยว (๑๘ เสียง)

อะ

อิ

อึ

อุ

เอะ

แอะ

โอะ

เอาะ

เออะ

อา

อี

อื

อู

เอ

แอ

โอ

ออ

เออ

สระประสม (๓ เสียง)

เอียะ (อิ+อะ) (ไม่นับแล้ว)

เอือะ (อึ+อะ) (ไม่นับแล้ว)

อัวะ (อุ+อะ) (ไม่นับแล้ว)

เอีย (อี+อา)

เอือ (อื+อา)

อัว (อู+อา)

 

          จากการที่สระเดี่ยวมี ๑๘ เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก ๖ เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง ๒๔ เสียงใช่ไหมคะ? ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด ๓๒ เสียง... อ้าวแล้วเสียงสระหายไปไหนอีก ๘ เสียงหล่ะเนี่ย ?

          คำตอบก็คือ... นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”

          สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ พี่นำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ

อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)

ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)

ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)

เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)

ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)

ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)

ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)

ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)

 

          ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้

 

พยัญชนะ ๒๑ เสียง

พยัญชนะ ๔๔ รูป

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๙.

๑๐.

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔.

๑๕.

๑๖.

๑๗.

๑๘.

๑๙.

๒๐.

๒๑.

ข ฃ ค ฅ ฆ

ช ฌ ฉ

ซ ศ ษ ส

ด ฎ

ต ฏ

ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ

น ณ

พ ภ ผ

ฟ ฝ

ย ญ

ล ฬ

ฮ ห

 

           ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้

เสียงวรรณยุกต์

รูปวรรณยุกต์

ตัวอย่าง

๑. เสียงสามัญ

๒. เสียงเอก

๓. เสียงโท

๔. เสียงตรี

๕. เสียงจัตวา

(ไม่มีรูป)

กิน ตา งง

ข่าว ปาก ศัพท์

ชอบ นั่ง ใกล้

งิ้ว รัก เกี๊ยะ

ฉัน หนังสือ เก๋

 

ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ในประโยคต่อไปนี้

ประโยค

เสียงวรรณยุกต์

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

หัวล้านได้หวี

-

-

ได้

ล้าน

หัว / หวี

ดินพอกหางหมู

ดิน

-

พอก

-

หาง / หมู

แผ่นดินกลบหน้า

ดิน

แผ่น / กลบ

หน้า

-

-

ฝนตกขี้หมูไหล

-

ตก

ขี้

-

ฝน / หมู / ไหล

ขี่ช้างจับตั๊กแตน

แตน

ขี่ / จับ

-

ช้าง / ตั๊ก

-

 

Advertisement

พยางค์ในภาษาไทย

          พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา ๒ ครั้ง เรียกว่า ๒ พยางค์ เช่น

ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน ๔ พยางค์

สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์

 

          องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย

- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.

- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)

- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)

- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน

 

มาตราตัวสะกด

          เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง แต่ทั้ง ๒๑ เสียงนี้ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือเป็นตัวสะกด ได้เพียง ๘ เสียง เท่านั้น ซึ่งเราเรียกพยัญชนะท้ายพยางค์ว่า “มาตราตัวสะกด” แบ่งเป็น

๑. แม่ ก กา คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น แม่ ใคร มา

๒. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก ท้ายพยางค์ เช่น ทุกข์ สุข มรรค

๓. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง ท้ายพยางค์ เช่น องค์ ปรางค์ ทอง

๔. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด ท้ายพยางค์ เช่น อาทิตย์ สิทธิ์ ครุฑ

๕. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น ท้ายพยางค์ เช่น สถาน การ บริเวณ

๖. แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ ท้ายพยางค์ เช่น กราบ กราฟ โลภ

๗. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม ท้ายพยางค์ เช่น ขนม กลม อาศรม

๘. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย ท้ายพยางค์ เช่น กล้วย ปลาย ผู้ชาย

๙. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว ท้ายพยางค์ เช่น แม้ว ไข่เจียว ปีนเกลียว

 

          เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงตัวสะกดอาจจะไม่ตรงกับ รูปของตัวสะกดที่เราออก เสียงก็ได้ค่ะ เช่น

- “ อาทิย์” เขียนด้วย “ ต” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”

- “ สมโภน์” เขียนด้วย “ ช” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”

- “ พรร” เขียนด้วย “ ค” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กก”

 

ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ต่อไปนี้ โดยคำเหล่านี้จะประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกด ลองทำดูนะคะ

พยางค์

เสียงพยัญชนะต้น

เสียงสระ

เสียงวรรณยุกต์

เสียงตัวสะกด

ฉัน

อะ

จัตวา

แม่ กน

รัก

อะ

ตรี

แม่ กก

ประ

อะ

เอก

แม่ ก กา

เทศ

เอ

ตรี

แม่ กด

ไทย

ไอ

สามัญ

แม่ เกย

***

ตัวอย่างข้อสอบเก่าเตรียมทหาร

ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนคำ “ นัดพบ” ทุกคำ (ทบ.๓๘)

ก. สมคิด มิตรรัก

ข. ชอกช้ำ ล้ำลึก

ค. นกน้อย ร้อยรัก

ง. มั่นแม่น แล่นเร็ว

คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกันทุกคำ (ทบ.๓๘)

ก. สินค้า น่าซื้อ

ข. ต้องการ สานต่อ

ค. กลบเกลื่อน เลื่อนลอย

ง. ย่ำแย่ แม่ม่าย

วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๔ รูป ๕ เสียง วรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ วรรณยุกต์ระดับ และวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ
อยากทราบว่าวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ได้แก่เสียงวรรณยุกต์ในข้อใด (ทบ.๔๒)

ก. เสียงวรรณยุกต์สามัญ และเสียงวรรณยุกต์เอก

ข. เสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงวรรณยุกต์โท

ค. เสียงวรรณยุกต์โท และเสียงวรรณยุกต์ตรี

ง. เสียงวรรณยุกต์ตรี และเสียงวรรณยุกต์จัตวา

จ. เสียงวรรณยุกต์จัตวา และเสียงวรรณยุกต์โท

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้อใดมีสระประสมมากที่สุด (ทบ.๔๕)

ก. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่

ข. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

ค. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

ง. ความวัวยังไม่หาย ความควายเข้ามาแทรก

จ. ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ทรงเครื่อง

ข้อใดมีเสียงพยัญชนะเอก โท และตรี อย่างละเท่ากัน (ทร.๔๗)

1. นิดชอบคิดมากก่อนตอบ

2. พี่ว่าน้องอ้วนตุ๊ต๊ะ

3. พ่อว่าม้านี้ดีนะ

4. อย่าเล่นน้ำร้อนนะจ๊ะ

คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้งห้าเสียง (ทร.๔๘)

1. ขิงก็ราข่าก็แรง

2. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

3. คดในข้องอในกระดูก

4. ทรัพย์ในดินสินในน้ำ

5. ปลาหมอตายเพราะปาก

***

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

 

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


เสียงในภาษาไทย

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญ


เปิดอ่าน 211,933 ครั้ง
อนุญาต หรือ อนุญาติ

อนุญาต หรือ อนุญาติ


เปิดอ่าน 71 ครั้ง
ตัวหนังสือไทย

ตัวหนังสือไทย


เปิดอ่าน 24,192 ครั้ง
การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน


เปิดอ่าน 60,172 ครั้ง
พยางค์ และ คำ

พยางค์ และ คำ


เปิดอ่าน 114,697 ครั้ง
ครุ ลหุ เอก โท

ครุ ลหุ เอก โท


เปิดอ่าน 373,986 ครั้ง
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก

ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก


เปิดอ่าน 60,278 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

เปิดอ่าน 868,687 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7
แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7
เปิดอ่าน 8,516 ☕ คลิกอ่านเลย

วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย
วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย
เปิดอ่าน 30,169 ☕ คลิกอ่านเลย

ปล้นสะดม หรือ ปล้นสดมภ์  กันแน่
ปล้นสะดม หรือ ปล้นสดมภ์ กันแน่
เปิดอ่าน 82,473 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยคเพื่อการสื่อสาร
ประโยคเพื่อการสื่อสาร
เปิดอ่าน 6,275 ☕ คลิกอ่านเลย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย
อักษรไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 46,479 ☕ คลิกอ่านเลย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
เปิดอ่าน 56,883 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประวัติกระดาษห่อลูกอมฮาร์ตบีท
ประวัติกระดาษห่อลูกอมฮาร์ตบีท
เปิดอ่าน 20,858 ครั้ง

รายนามศิลปินแห่งชาติ 2559 จำนวน 12 ท่าน
รายนามศิลปินแห่งชาติ 2559 จำนวน 12 ท่าน
เปิดอ่าน 25,228 ครั้ง

คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
เปิดอ่าน 591,415 ครั้ง

ชมย้อนหลัง วอลเล่ย์บอลสาวเกาหลีใต้ชนะจีน 3-2 เซต คว้าที่ 3 เมื่อวันที่ 21 ก.ย.56
ชมย้อนหลัง วอลเล่ย์บอลสาวเกาหลีใต้ชนะจีน 3-2 เซต คว้าที่ 3 เมื่อวันที่ 21 ก.ย.56
เปิดอ่าน 13,792 ครั้ง

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
เปิดอ่าน 13,851 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ