ชื่อเรื่อง รายงานการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางอมรรัตน์ พิณธรรม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านสร้างแป้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4
ปีที่รายงาน 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านสร้างแป้น อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 31 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 81.31จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป คือได้คะแนนตั้งแต่ 24 คะแนน (จำนวนข้อสอบ 30 ข้อ) มีทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 83.87 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ครั้งนี้ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก