บทบาทของครู
ในด้านเทคนิคการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้แบบ TGT
เอนก รัศมี
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
การเรียนการสอนแบบ TGT นั้นป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ทีม (Teams) แบ่ง่นักเรียนออกเป้ฯ 4-5 ทีม แต่ละทีมจะมีนักเรียนหลากหลาย คือ จะมีนักเรียนที่มีทั้งผลสัมฤทธิ์สูง ปานกลาง ต่ำ และเพศคละกัน สมาชิกจะอยู่ในทีมอย่างถาวร แต่ละทีมจะได้รับการฝึกฝนเหมือนกัน และในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน
2. เกม (Games) เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ ซึ่งเน้นที่เนื้อหา หลักสูตร นักเรียนจะได้ตอบปัญหา เกมบัตรคำ ซึ่งเน้นกฎเกณฑ์พื้นฐานลำดับก่อน – หลัง การแข่งขันที่ยึดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
3. การแข่งขัน (Tournaments) การฝึกในทีมจะมีการแข่งขัน อาจมีอาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง โดยดูจากผลงาน นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม ว่าทีมใดคะแนนสูงสุด ปานกลาง ต่ำ คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนนสมาชิกแต่ละคนด้วย
ประเภทของเกม
1. เกมพัฒนาการ เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
2. เกมยุทธวิธี เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์
3. เกมเสริมแรง เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ และเพิ่มพูนทักษะห้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้
หลักในการนำเกมมาใช้ในกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ จะใช้เกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรมีหลักดังนี้
1.เกมที่นำมาสอน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
§ ใช้เครื่องมือบ่อย ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก
§ ควรเป็นการเล่นที่ส่งเสริมทักษะที่สอน
§ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม
§ การเล่นควรหมาะสมกับวัยของเด็ก
2.ผู้สอนต้องสนุกสนานกับการเล่นด้วย
3.การเล่นแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง
§ การปฏิบัติตามกฎกติกา
§ การมีน้ำใจนักกัฬา มารยาท และความยุติธรรม
4.ใช้เวบลาในการอธิบายน้อยที่สุดแต่เข้าใจ เช่น วิธีเล่นเกม หน้าที่ของแต่ละคนพอสังเขป
5.ควรให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งมาแสดงใก้เพื่อน ๆ ดูก่อนเพื่อความเข้าใจ
6.การเล่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลานานเกินไป ประมาณ 10 – 15 นาที
7.การเล่น ถ้านักเรียนมากเกินไป ควรแบ่งกลุ่ม
8.เกมที่เต้องดึงดูดความสนใจ สนุกสนาน และท้าทายความสามารถของผู้เล่น
9.เกมนั้นจะต้องสามารถทำให้การเรียนการสอนไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้
การสอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
เอนก รัศมี
ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
การสอน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกเด็กทางสติปัญญาให้มีความคิดระดับสูง เช่น เทคนิคการตั้งคำถาม ต้องให้แปลก ท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหลายแง่ หลายมุม เกิดแง่คิดใหม่ ๆ ขึ้น ควรเป็นคำถามปลายเปิด คำตอบของเด็กไม่มีถูก-ผิด
ตัวอย่าง คำถามเกี่ยวกับชอล์ก
สีขาวเหมือนอะไรในห้องนี้ (ห้องเรียน)
มีกลิ่นไหม ถ้ามีเหมือนกลิ่นอะไร
มองดูรูปร่างเหมือนอะไรใมนห้องเรียนบ้าง
เราทำให้ชอล์กเคลื่อนไหวได้กี่วิธี
ถ้าชอล์กไม่เป็นชอล์กเป็นอย่างอื่นได้ไหม อยากจะให้เป็นอะไร
อะไรที่ใช้เขียนแทนชอล์กได้
ฯลฯ
การสอนฝึกทักษะอุปมาอุปไมย ได้แก่
สิ่งหรือสถานการณ์ซึ่งเหมือนกันคล้ายคลึงกันหรือตรงกัน
สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันได้
คำเปรียบเทียบ สุภาษิต คำพังเพย
ตัวอย่าง กิจกรรม
Ø ลองคิดดูว่าช้อน (ที่ใช้รับประทานอาหาร) กับรถยนต์มีลักษณะเหมือนกันอย่างไร หรือ นกกับเครื่องบิน แมลงปอกับเฮลิคอปเตอร์ เป้นต้น
Øคิดหาคำ หรือเติมคำซึ่งเหมือนกันคู่กัน เช่น หญิงคู่กับชายจ พระอาทิตย์คู่กับ...........
Øเปรียบเทียบว่ามนุษย์และสัตว์มีวิธีการดำรงชีวิต เช่น การแก้ปัญหาการอยู่รอด ดารป้องกันตัว ต่างกันหรือเหมือนกัยอย่างไสร
Øช่วยกันคิดค้นว่ามีวัสดุเครื่องใช้ใดบ้างที่ต้องใช้กลไก ฯลฯ
การฝึกให้รู้จักการแสดงออก
ทักษะการแสดงออกทางอารมภ์
ความรู้สึกนึกคิดเมื่อมีสิ่งมากระทบประสาทสัมผัส
ตัวอย่าง กิจกรรม
Øหารูปคนยิ้ม หัวเราะหรอร้องไห้ ฯลฯ แล้วช่วยกันเดา (โดยใช้เหตุผลใช้แต่ความรู้สึกที่ผุดขึ้นมา) ว่าทำไมคนนั้น ยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้
Øแต่งเพลง บทกอน เรื่องสมมติ แล้วคิดว่าท่าประกอบในเรื่องนั้น
Øสมมุติว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ฬิกา ดินสอ กระดาษ ฯลฯ แล้วเล่นละคร เขียนบท หรือเหล้าปากเปล่า แสดงความรูสึกของสิ่งเหล่านั้น