เทคนิคการนิเทศ : การเสนอแนะ
เอนก รัศมี ศน.สพท.ลพบุรี เขต 1
การเสนอแนะ (Coaching) เป็นเทคนิคการนิเทศที่มุ้งเน้นการช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูนำความรู้ใหม่ หรือเทคนิค วิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่ๆไปสู่การปฏิบัติจริง โดยสามารถร่วมมือของศึกษานิเทศก์ ผู้ที่เชี่ยวชาญ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รีบทำหน้าที่นิเทศ หรือจากเพื่อนครูด้วยกันประโยชน์การนำเทคนิคการนิเทศแบบ “การสอนแนะ” ไปใช้ในโรงเรียน จะก่อให้เกิดผลดี ดังนี้คือ
1. ช่วยให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้
2. เปิดโอกาสให้คิด ได้สนทนา หรืออภิปรายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น
3. เพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางการสอนทั้งของผู้รับการสอนนิเทศและผู้สอนแนะ
4.ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนเดียวกัน
5.ช่วยให้ครูที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ทดลองแนวคิดใหม่ๆในภาวะแวดล้อมที่ไม่มี
ความกดดัน
6. ช่วยเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
7.ช่วยเสริมสร้างระบบการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
รูปแบบการเสนอแนะ เทคนิคการนิเทศแบบ “การเสนอแนะ” จำแนกเป็น 3 รูปแบบดังนี้คือ
1. Technical Coaching เป็นการเสนอแนะที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือสนับสุนนให้ครูได้นำความรู้ที่ได้รับไปฝึกปฏิบัติจริงให้เกิดผลในห้องเรียนโดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับศึกษานิเทศก์ ครูกับผู้เชี่ยวชาญ ครูกับครูผู้นิเทศ หรือครูกับผู้บริหารโรงเรียน ผู้เสนอแนะจะเป็นผู้สังเกตการสอตามประเด็นความต้องการของครูผู้สอน ให้ข้อมูลป้อนเกี่ยวกับการสอนของครูตามประเด็นที่ตกลงกันไว้และให้คำแนะนำในการปรับปรุงการสอนให้ดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Collegial Coaching เป็นการเสนอแนะที่เน้นความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนครูด้วยกันเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน โดยเพื่อนครูจะเป็นผู้สังเกตการณ์สอนตามประเด็นที่ตกลงกันไว้ ให้ข้อมูลป้อนกลับ และช่วยวิเคราะห์แปลผลจากการสังเกต และกระตุ้นให้หาแนวทางปรับปรุงการสอนในครั้งต่อไป
3. Challenge Coaching เป็นการเสนอแนะที่มุ้งเน้นการให้ความช่วยเหลือให้ครูสามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนของตนหรือร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ต้องการได้ การเสนอแนะรูปแบบนี้จะมีการดำเนินการเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่คณะ และอาจมีบุคลากรที่เป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย
ขั้นตอนการเสนอแนะมีขั้นตอนการการดำเนินการดังนี้คือ.
1.ครูแจ้งความประสงค์ที่จะได้รับการเสนอแนะจากศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้นิเทศ หรือเพื่อนครู และประเด็นที่ต้องการเสนอแนะ
2. ผู้เสนอแนะเยี่ยมห้องเรียนและสังเกตการสอน
3.ผู้เสนอแนะทบทวนข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เปรียบเทียบกับประเด็นที่ครูผู้สอน
ต้องการเสนอแนะ
4. ผู้เสนอแนะให้ข้อมูลป้อนกับและให้ครูวิเคราะห์การการสอนของตนเองจากข้อมูล
ป้อนกลับ และหาแนวทางปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น
5. ผู้เสนอแนะและครูผู้สอนร่วมกันทบทวนผลที่ได้รับจากการเสนอแนะขั้นตอนการ
เสนอแนะและข้อควรปรับปรุงแก้ไข
6. ครูผู้สอนปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551