Best OF Best Practice
การนิเทศ
กระบวนการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ
เอนก รัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพท.ลพบุรี เขต 1
ในการพัมนาการศึกษา มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพที่ได้กำหนดไว้โดยยึดเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาตัวนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน เกิดคุณลักษณะครบถ้วนตามความมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมยังได้เน้นกระบวนการ (Proecss) ทั้ง 3 กระบวนการคือกระบวนการบริหารการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา มาเป็นหลักยุทธ์ศาสตร์ที่จะทำให้การทำงานได้บรรลุผลสำเร็จอย่ามีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญยิ่งของกระบวนนิเทศศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดความรู้สู่ความเป็นเลิศ
การนิเทศการศึกษาและกระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นสิ่งคู่กัน การนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในความร่วมมือระหว่างผู้นิเทศกับผู้ที่รับนิเทศที่จัดกิจกรรมของบุคลากรทางการศึกษา ในอันที่จะพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและบรรลุความมุ่งหมายของหลักสูตร โดยตังอยู่ในฐานของความเท่าเทียมกันซึ่งอยู่ในระบบเป็นประชาธิปไตยโดยมีจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของนักเรียน ส่วนกระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นการดำเนินการนิเทศการศึกษา โดยยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องอาศัยลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้นสิ่งสำคัญของกระบวนการศึกการนิเทสจะต้องมีการวางแผนและดำเนินตามแผนอย่างเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนต่อเนื่องอย่างเป็นระบบโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎีพร้อมด้วยความมีเหตุผลและความเป้นไปได้ส่วนการวางแผนมีหลักการใหญ่ที่ประกอบด้วย การสำรวจปัญหา การวางแผนมีหลักการใหญ่ที่ประกอบด้วย การสำรวจปัญหา การวางแผน การประสานงาน การปฏิบัติตามแผนและโครงการ การควบคุมและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การจัดความรู้ (Kmowledge Management : KM) เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยเริ่มการตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2549 ปัญหาต่างๆ ที่พบในการปฏิบัติงานของบุคลากรเริ่มคลี่คลายลงอย่างรวดเร็วปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสเนื่องจากได้นำกระบวนการการจัดการความรู้มาใช้และปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะกับสภาพวัฒนธรรมการทำงาน บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ในความภูมิใจของบุคลากรทุกคน ส่วนหลักการจัดความรู้ ใช้ 3 ด้าน คือ
1. ด้านพัฒนาคน
การพัฒนาคนเป็นหลักการจัดการความรุ้ที่สำคัญ เพราะการพัมนาคนทุกคนในองค์กร
และคนที่เป้นกลุ่มเปาหมายร่วมให้มี ต้นทุนความรู้ในเรื่องที่ต้องการจะทำที่เท่าเทียมกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์เป้นไปได้ง่ายและรวดเร็ว
2 . ด้านใช้กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน คือ
จากการศึกาแนวคิดของนักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้นำเสนอกระบวนการจัดการความรุ้ได้นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปเป็นกระบวนการจัดการความรู้ใน 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision)
ขั้นตอนที่ 2 สร้างทีมงาน (Workion Team)
ขั้นตอนที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
ขั้นตอนที่ 4 นำความรุ้ไปพัฒนางาน (Working Development)
ขั้นตอนที่ 5 บริการและเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Service)
2. ด้านใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอำนวยความสะดวกให้บุคลากรได้สื่อสารความรู้ซึ่งกันและกันได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น จึงพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีพร้อม โดยจัดซื้อคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับการใช้งานของทุกทีมและติดตั้งเครือข่าย Internet ระบบ LAN ทั้งภายมในและภายนอกองค์กรที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ จัดอบรมให้บุคลากรทุกคนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นความรู้ และเผยแพร่ผลงาน / วิธีปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จทางเว็ปไซต์ ทาง blog ทาง gotoknow การนิเทศกระบวนการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร ไปสู่ความสำเร็จให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนตัวอย่าง Best Practice ของศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 ได้เสนอรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร มีดังนี้ 1)พัฒนา KMให้ทุกคน (สุนีย์ โตอินทร์) 2)เพิ่มผลด้วยการจัดตั้งเป้าหมาย (วิจิตรา เจือจันทร์) 3)หลากหายชุมชนนักปฏิบัติงาน (เปรมฤดี ไสยประพาส) 4)การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (สิริกร กระสาทอง)
5)นำแก่นความรู้สู่การพัฒนางาน (วารุณี รักงาน) 6)พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ BBL ให้ประสบผลสำเร็จโดยยึดหลัก 5พ (ราตรี ฤทธิสาร 7.) ศึกษานิเทศก์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (มนตรี อุสาหะ) 8). Best Practice (MathMontrey Motet) (3M : 510 105 ) (เอนก รัศมี ) 9.) ประเมินปฏิบัติการด้วย AAR (ฐิติภัทร ประสิทธิพร)10) สรุป AAR งานต่อยอด 1000 นวัตกรรมด้วย KM (ภานุมาศ สนธิธรรม) 12. ) มีปัญหาถาม Peer Assirk (วัฒนา คล่องดี และ ปรานอม ประทีปทวี ) เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1 ( 2551 )รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ,ลพบุรี :โรงพิมพ์ ท การพิมพ์