ชื่อผลงาน รายงานผล การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 โรงเรียน
ผู้วิจัย นายเอนก รัศมี
ปีการศึกษา 2550
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 กรณีศึกษา: โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 โรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการประชุมปฏิบัติการโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ 5 โรงเรียน 2) สร้างและพัฒนาชุดพัฒนาตนเอง การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ 5 โรงเรียน 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิด และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามโครงการพัฒนาโรงเรียน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ 5 โรงเรียน 4) การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ 5 โรงเรียน
ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและนักเรียนของโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 ที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยถึงระดับการศึกษาช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2550
กลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง นำมาจากประชากรมีจำนวนที่แน่นอน (Finite Population) จึงสามารถกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่พอดีโดยการคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่ (Simple Random Sampling) เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน ครูผู้สอน จำนวน 50 คน และจำนวนนักเรียนจำแนกตามช่วงชั้น ประกอบด้วยช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 336 คน ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 389 คน ช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 471 คน และช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 537 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน เป็นแบบทดสอบองค์ความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจในการประชุม และแบบประเมินความพึงพอใจ ชุดที่ 2 ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน เป็นแบบประเมินพฤติกรรม แบบทดสอบวัดความสามารถและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ชุดที่ 3 ใช้ในการเก็บรวบรวมจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุดพัฒนาตนเอง จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ และแบบสอบถามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 พบว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในภาพรวมที่มีต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจอยู่ในระดับดีที่สุด ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 1 ที่กำหนดไว้
2. ผลการพัฒนานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง แผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากการศึกษาเอกสารหลักสูตร เนื้อหาสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการคิด มาตรฐานและตัวชี้วัด ทักษะกระบวนการคิด เพื่อกำหนดหน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ คาบเวลาเรียน และจำนวนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2550 ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 50 คน ทำการประเมินหาคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัด การเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) มีค่าร้อยละ 86.80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 2 ที่กำหนดไว้
3. ผลการพัฒนานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง จำนวน 9 เล่ม พบว่า 1) การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2) รูปแบบ/เทคนิค/วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1 4) การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 5) การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 6) การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4
7) แนวทางการพัฒนา ทักษะการคิดคล่อง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2 8) การฝึกทักษะการคิดคำนวณ ช่วงชั้นที่ 1 9) การพัฒนานักเรียนด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1 ถึงช่วงชั้นที่ 4 โดยการหาค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Testing) E1/E2 กับครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 80.62/81.97 ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 2 ที่กำหนดไว้และผลทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้นวัตกรรมชุดพัฒนาตนเองสูงกว่าก่อนใช้ชุดนวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 4 ที่กำหนดไว้
4. ผลการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบในกิจกรรมที่กำหนดให้ทำ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สนุกสนาน พัฒนาทักษะกระบวนการคิดและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ นักเรียนได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและครูผู้สอน จึงทำให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยที่สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 6 ที่กำหนดไว้ ส่วนการพัฒนากระบวนการคิดและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 7 ที่กำหนดไว้
5.ผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนผู้นำກารเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรั业กา⺣กḣะจาย༳⸙าจḁລ่มสฺระ輁ารเรียนรู้ค༓ิตศาสตร์ `สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 โรงเรียน พบว่า ครูส่วนใหญ่สามารถสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ และความรู้ที่ได้รับจากการศึกษานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง นำคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูและศึกษานิเทศก์ การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงเป็นผลให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด และผลการความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในภาพรวมที่มีต่อโครงการการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจอยู่ในระดับดีที่สุด ซึ่งยอมรับสมมติฐาน ข้อ 4
ที่กำหนดไว้