กิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความขยันหมั่นเพียร
1. กิจกรรม นาฬิกาชีวิต
2. เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง
3. พฤติกรรมบ่งชี้
หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนได้รับการสร้างเสริมให้มีคุณลักษณะทางจิตใจ ดังนี้
3.1 เห็นความสำคัญและคุณค่าของเวลาที่ผ่านไป
3.2 ความมุ่งมั่นที่จะคิดและทำสิ่งใดจนประสบความสำเร็จ
4. จุดประสงค์
4.1 จัดทำตารางกำหนดเวลาปฏิบัติกิจกรรมหรือภารกิจประจำวันของตนเองได้
4.2 สามารถปฏิบัติตามตารางกำหนดเวลาที่กำหนดได้
5. แนวคิด
ความขยันหมั่นเพียรสามารถฝึกฝนและสร้างได้ โดยเริ่มจากการรู้จักใช้เวลาให้
มีคุณค่าในการแสวงหา คิดค้น และเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้แก่ตนเองอยู่เสมอ ไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเรียนเพราะความรู้เป็นเสมือนทรัพย์ที่ใช้จ่ายไม่รู้จักหมดแต่จะยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
6. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นตอน กิจกรรม
1. ขั้นรับรู้ (สังเกต) ร้องเพลง “ หนูเล็ก ” สนทนาความหมายของเนื้อเพลง
2. ขั้นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (สังเคราะห์) 1.นักเรียนรับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ของกิจกรรมและแนวทางการสร้างความขยันให้กับตนเอง
2.นักเรียนรับใบงานที่ 1 ประกอบกิจกรรมนาฬิกาชีวิต และตั้งใจรับฟังชี้แจงการร่วมกิจกรรม และทำกิจกรรมพร้อมกันโดยครูอ่านให้ฟังและนักเรียนทำเครื่องหมายลงในใบงาน
3.นักเรียนนับจำนวนเครื่องหมาย แล้วระบายสีระดับความขยันตามคะแนนที่ได้
ขั้นตอน กิจกรรม
4. สุ่มตัวอย่างนักเรียน 2-4 คนออกมานำเสนอระดับความขยันของตนเองจากใบงานที่ 1และใบงานที่ 2
3. ขั้นสร้างแนวปฏิบัติที่
เหมาะสม
ครูยกสำนวนที่ว่าขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง นักเรียนคนใดอยากเป็นแมลงวันหรือเป็นผึ้งต้องเพิ่มความขยันให้กับตนเองตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเล่าเรื่อง ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง
4. ขั้นลงมือปฏิบัติ 1. แบ่งกลุ่มนักเรียน 3-4 คน รับใบงานที่ 3 ประกอบกิจกรรมนาฬิกาชีวิต และรับฟังคำชี้แจงจากครู
2. ครูอ่านกิจกรรมแล้วให้นักเรียนร่วมกันเรียงลำดับกิจกรรมใหม่ลงในใบงาน
3. ให้นักเรียนร่วมกันคิดว่ามีกิจกรรมในใบงานที่ 3 ที่นักเรียนควรทำและไม่ควรทำและมีกิจกรรมใดบ้างที่นักเรียนคิดว่าน่าจะเพิ่มเติมลงไปเพื่อแสดงความขยันประจำวัน
4. ครูให้นักเรียนรับใบตารางกิจกรรมประจำวันแก่นักเรียนพร้อมตัวอย่าง คนละ 1 ชุด จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟัง และซักถามทำความเข้าใจ
5. ขั้นประเมินผลปรับปรุง มอบหมายให้นักเรียนบันทึกกิจกรรมประจำวันลงในแบบบันทึกที่ครูแจกให้และนำส่งครูตรวจทุกสัปดาห์
6. ขั้นชื่นชมต่อการปฏิบัติ ครูแจ้งให้นักเรียนทราบระดับความขยันของนักเรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้รางวัลแก่นักเรียนที่มีความขยันหมั่นเพียรสูงที่สุด พร้อมทั้งสรุปข้อคิดว่า “ผู้ที่สามารถใช้เวลาให้มีคุณค่าทุกขณะอย่างมีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานย่อมประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา”
7. สื่อ
7.1 ชาร์ทเพลง “หนูเล็ก”
7.2 ใบงานที่ 1-3 ประกอบกิจกรรมนาฬิกาชีวิต
7.3 บทความประกอบกิจกรรม ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง
7.4 แบบบันทึกกิจกรรมประจำวัน
7.5 ตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรมประจำวัน
8. การวัดและประเมินผล
8.1 เครื่องมือวัด
- แบบบันทึกกิจกรรมประจำวันของนักเรียน
- แบบประเมินผลการบันทึกกิจกรรมประจำวันของครู
8.2 วิธีวัด
- การตรวจแบบบันทึกกิจกรรมประจำวันของนักเรียน
8.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
- นักเรียนจัดทำตารางกำหนดเวลาปฏิบัติกิจกรรมหรือภารกิจประจำวันของตนเองได้
และสามารถปฏิบัติตามตารางกำหนดเวลาที่กำหนดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของการประเมินถือว่าผ่านเกณฑ์
กิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านระเบียบวินัย
1. กิจกรรม งามด้วยวินัย
2. เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง
3. พฤติกรรมบ่งชี้
หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนได้รับการสร้างเสริมให้มีคุณลักษณะทางจิตใจ ดังนี้
3.1 ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
3.2 เป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนผู้มีระเบียบวินัยงาม
4. จุดประสงค์
4.1 สามารถจำแนกระเบียบวินัยด้านต่าง ๆของตนเองและส่วนรวมได้
4.2 สามารถสร้างแนวทางการจัดระเบียบวินัยให้กับตนเองได้
5. แนวคิด
ทุกสังคมย่อมต้องการความสงบสุขเรียบร้อย และความสงบสุขเรียบร้อยดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง ตลอดจนปฏิบัติตามระเบียบวินัยที่สังคมร่วมกันสร้างขึ้น
6. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นตอน กิจกรรม
1. ขั้นรับรู้ (สังเกต) นักเรียนรับแบบประเมินตนเองที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมด้าน
ความมีระเบียบวินัยและสรุปผลการประเมินตนเอง
2. ขั้นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (สังเคราะห์) 1. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่าจากการทำแบบประเมินตนเองด้านความมีระเบียบวินัย นักเรียนสามารถจำแนกระเบียบวินัยได้กี่อย่าง
ให้นักเรียนช่วยกันบอก และครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดานดำ
จากนั้นครูสรุปประเภทของวินัย ( ดูที่เอกสารประกอบการสอน )
2. ครูนำรูปภาพประกอบกิจกรรมงามด้วยวินัยให้นักเรียนพิจารณา
แล้วสนทนาซักถามความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อภาพแต่ละภาพ
3. แบ่งกลุ่มนักเรียน 3-4 คน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ขั้นตอน กิจกรรม
การปฏิบัติตนให้มีระเบียบวินัยของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
และส่งตัวแทนมารายงานหน้าชั้นเรียน จากนั้นครูอธิบายถึงกฎระเบียบวินัยของโรงเรียนให้นักเรียนได้ทราบ
3. ขั้นสร้างแนวปฏิบัติที่
เหมาะสม
1. นักเรียนรับใบงานที่ 1 ประกอบกิจกรรมงามด้วยวินัย และร่วมกันคิดและตัดสินใจประเมินระดับคุณภาพด้านความมีระเบียบวินัยของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
2. นักเรียนคิดวิธีการสร้างระเบียบวินัยให้กับตนเองและออกมารายงานหน้าชั้นเรียน
3. ครูเขียนวิธีการสร้างระเบียบวินัยให้กับตนเองซึ่งเป็นคำตอบของนักเรียนแต่ละกลุ่มบนกระดานดำ จากนั้นสรุปเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน
4. ขั้นลงมือปฏิบัติ 1. นักเรียนปฏิบัติตนตามวิธีการที่ร่วมกันสร้าง
2. นักเรียนรับแบบสังเกตความมีระเบียบวินัยของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ซึ่งครูมอบหมายให้นักเรียนไปสำรวจและสังเกต เมื่อพบเห็นนักเรียนคนใดทำผิดระเบียบวินัยนักเรียนบันทึกชื่อนามสกุลไว้ หรือจำระดับชั้นไว้
5. ขั้นประเมินผลปรับปรุง มอบหมายให้นักเรียนนำแบบสังเกตความมีระเบียบวินัยของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ส่งครูตรวจทุกสัปดาห์ และครูแจ้งผลการสำรวจว่ามีจำนวนมากขึ้นหรือลดลง จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์สร้างระเบียบวินัยจากประกาศเชิญชวนช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงทุกวัน
6. ขั้นชื่นชมต่อการปฏิบัติ ครูชมเชยผลการปฏิบัติตนตามกิจกรรมรณรงค์สร้างระเบียบวินัยช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงของนักเรียน
7. สื่อ
7.1 ใบงานที่ 1ประกอบกิจกรรมงามด้วยวินัย
7.2 แบบสังเกตความมีระเบียบวินัยของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
7.3 กิจกรรมรณรงค์สร้างระเบียบวินัย
8. การวัดและประเมินผล
8.1 เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตความมีระเบียบวินัยของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
8.2 วิธีวัด
- การตรวจแบบสังเกตความมีระเบียบวินัยของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ 8.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
- นักเรียนสามารถสร้างแนวทางปฏิบัติตนให้เป็นคนมีระเบียบวินัยและสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่สร้างไว้ตามกำหนดเวลาได้สำเร็จได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของการประเมินถือว่าผ่านเกณฑ์