Advertisement
พระประจำวันอาทิตย์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
ประวัติย่อ...
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์...
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา |
สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน |
พระประจำวันจันทร์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามพยาธิเป็นพระประจำวันจันทร์) |
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง |
ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์...
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
|
สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง |
พระประจำวันอังคาร
"ปางโปรดอสุรินทราหู (ปางไสยาสน์)"
|
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) |
ประวัติย่อ...
สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจองอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร...
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห |
ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล |
พระประจำวันพุธ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว |
ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์ |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)...
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห |
สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง |
"ปางปาลิไลยก์ (พระประจำวันพุธกลางคืน)"
|
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย |
ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่ |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)...
ยัสสานุภาเวนะ ยักขา เนวะ ทัสเสนะติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโตจะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
หรือบทสวด...
กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ
|
สวดวันละ ๑๒ จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี
ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง |
พระประจำวันพฤหัสบดี
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย |
ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพรยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี...
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ
|
สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สรกรมท่า และสีน้ำเงินแก่ |
พระประจำวันศุกร์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย |
ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์...
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห
|
สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก |
พระประจำวันเสาร์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร |
ประวัติย่อ...
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย |
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์..
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ
|
สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว |
พระประจำวันพระเกตุเสวยอายุ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ (แข้ง) หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย |
ประวัติย่อ...
หลังจากที่พระมหาบุรุษรับหญ้าคาจากนายโสตถิยะแล้ว ทรงปูลาดที่โคนต้นโพธิ์แล้วประทับนั่งพร้อมอธิฐานความเพียรครั้งสำคัญว่า "หากไม่ตรัสรู้ก็ไม่ลุกจากที่นี่ ไม่ว่าเลือดและเนื้อในกายจะเหี่ยวแห้งจนถึงสิ้นชีวิตก็ตาม" ด้วยพระทัยที่แน่วแน่และมั่นคงพระองค์จึงชนะอุปสรรค และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา |
บทสวดมนต์บูชาเมื่อพระเกตุเสวยอายุ..
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุกขะโณ สุมุตหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ
|
http://www.dhammathai.org/thailand
วันที่ 25 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 26,953 ครั้ง |
เปิดอ่าน 75,043 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,684 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,560 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,526 ครั้ง |
|
|