Advertisement
แนวทางการจัดประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ตอนที่ 1)
|
ตอนที่ 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กำหนดให้กิจกรรมผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนเช่นเดียวกับการเรียนสาระการเรียนรู้ และกำหนดให้เป็นเกณฑ์สำคัญในการผ่านช่วงชั้นและจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ทุกช่วงวัย และจัดให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นอย่างเต็มที่
กิจกรรมพัฒนาการเรียนเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพเพิ่มเติม จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่ม เน้นการเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์สังคมและควรเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามอย่างสมบูรณ์
|
- กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยผู้เรียนให้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลและสังคมทั่วไป กิจกรรมแนะแนวจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กิจกรรมรู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- กิจกรรมการแสวงหาและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
- กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
- กิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต
2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองครบวงจร ตั้งแต่การศึกษา ตลอดจนการประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติโดยเน้นการร่วมประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยเน้นการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม หรือ ชุมนุมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- กิจกรรมตามความถนัด และความเข้าใจของผู้เรียน เช่น ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมดนตรี ชุมนุมกีฬา เป็นต้น
- กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และรักษาดินแดนที่ปลูกฝังความเป็นพลเมืองดีของชาติ มีระเบียบวินัย มีความรักสามัคคี รู้จักเสียสละและช่วยเหลือผู้อื่น
ในกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้นโดยกำเนินการ ดังนี้ (รูปที่1 ลูกเสือ เนตรนารี)
- กำหนดเวลาเรียนรายปี ตามประมาณการเวลาเรียนรายปีของแต่ละช่วงชั้น ในโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แบ่งเวลาเรียนรายปี เป็น 2 ส่วน สำหรับเรียนสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม 1 ส่วน และ สำหรับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 ส่วน โดยช่วงชั้นที่ 1-2 มีสัดส่วนเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนค่อนข้างสูงและลดลงในช่วงชั้นที่ 3-4 สุดท้ายกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ช่วงชั้นที่ 4 ต้องจัดให้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดช่วงชั้นประมาณ 480 ชั่วโมง หรือ 180 ชั่วโมงต่อปี ดังนั้นทุกช่วงชั้นจึงควรจัดให้มีเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่าช่วงชั้นที่ 4
- นำเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปีไปคำนวณหาค่าน้ำหนัก ซึ่งใช้หน่วยบอกขนาดหรือปริมาณของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อการเปรียบเทียบ การคำนวณ และการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การคำนวณหาค่าน้ำหนักกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปี สามารถคำนวณโดยนำ เวลาปฏิบัติกิจกรรมรายปี มาหารด้วยจำนวนชั่วโมงของค่า 1 หน่วยน้ำหนักมาตรฐาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 80 ชั่วโมง ดังนี้
- การกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กำหนดให้ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จึงจะผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตรได้ ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องกำหนดการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินให้นักเรียนผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร
เกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น คือ เกณฑ์ที่กำหนดว่า ตลอดช่วงชั้นเรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้นจำนวนกี่หน่วยน้ำหนัก และจะต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์รวมจำนวนกี่หน่วยน้ำหนัก เช่น
|
- ก. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน 12 หน่วยน้ำหนัก
- ข. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 10 หน่วยน้ำหนัก
- ค. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 10 หน่วยน้ำหนัก โดยต้องปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หรือยุวกาชาดหรือบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาดินแดน ให้ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 3 หน่วยน้ำหนัก
- รวมจำนวนผ่านหน่วยกิจกรรมรายปีที่กำหนดใน ข้อ 2 ทั้ง 3 ปี จะได้จำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้น
- กำหนดจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขั้นต่ำ ที่จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้เป็นหลักในการปฏิบัติ และไม่มีข้อกำหนดใดระบุให้ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมได้ผ่านทุกกิจกรรม การกำหนดจำนวนหน่วยน้ำนักรวมของกิจกรรมที่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา ที่จะต้องกำหนดโดยยึดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาสามารถจะกำหนดจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องผ่านเกณฑ์ประเมิน ให้เท่ากับจำวนหน่วยน้ำหนักรวมที่ต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้นก็ได้ หรือ กำหนดให้ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นบางส่วนก็ได้ นอกจากนั้น ยังสมารถกำหนดให้กิจกรรมหนึ่งเป็นกิจกรรมบังคับสำหรับสถานศึกษาของตนเองก็ได้อีกด้วย
- นำจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้นจากข้อ 1. ไปเชื่อมโยงกับจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขั้นต่ำที่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินในข้อ 2. จะได้เกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น
สถานศึกษาจะต้องกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น สำหรับสถานศึกษาของตนเป็นรายช่วงชั้น โดยจะกำหนดให้แต่ละช่วงชั้นมีเกณฑ์เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
|
กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษา เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องนำไปใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร สถานศึกษาจะต้องมีความมั่นใจแน่วแน่ว่าเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมีความถูกต้อง มีคุณภาพเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพราะจะต้องใช้เกณฑ์นั้นตัดสินนักเรียนไปตลอดหลักสูตรหรือจนกว่าสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควรให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องมีการใช้เกณฑ์นั้นเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควร สถานศึกษาไม่ควรเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การผ่านช่วงชั้นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นในแต่ละรุ่นโดยมีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน สร้างความสับสนให้กับผู้เรียน ผู้ปกครองและสังคม รวมทั้งสร้างความยุ่งยากให้กับระบบตรวจสอบรับรองผลการเรียนและวุฒิการศึกษาของผู้เรียนด้วย
เกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชันที่ได้จัดทำขึ้นเรียบร้อย สถานศึกษาควรจัดทำคำสั่ง หรือระเบียบสถานศึกษาขึ้นประกอบการใช้เกณฑ์นั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย และประกาศให้ นักเรียน ผู้แกครอง ครู บุคลากร ของสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ และถือปฏิบัติร่วมกัน
|
ที่มาข้อมูล : สมทรง ลิมาลัย วารสารวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2549
|
Advertisement
เปิดอ่าน 34,901 ครั้ง เปิดอ่าน 50,693 ครั้ง เปิดอ่าน 188,290 ครั้ง เปิดอ่าน 20,102 ครั้ง เปิดอ่าน 13,492 ครั้ง เปิดอ่าน 17,117 ครั้ง เปิดอ่าน 13,244 ครั้ง เปิดอ่าน 32,469 ครั้ง เปิดอ่าน 39,782 ครั้ง เปิดอ่าน 8,829 ครั้ง เปิดอ่าน 19,176 ครั้ง เปิดอ่าน 27,394 ครั้ง เปิดอ่าน 28,094 ครั้ง เปิดอ่าน 14,056 ครั้ง เปิดอ่าน 6,990 ครั้ง เปิดอ่าน 19,523 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 31,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 92,880 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,688 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,880 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 76,739 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,712 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 188,290 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,783 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,750 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,892 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,631 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,223 ครั้ง |
|
|