บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีรายละเอียดลำดับดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.1 เพื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90
1.2 เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ให้มีคะแนนสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 85
1.3 เพื่อการประเมินผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
2. ความสำคัญของการวิจัย
2.1 ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
2.2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเนื้อหาอื่นๆ ต่อไป
2.3 เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
3. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ได้ดำเนินการดังนี้
3.1 ประชากร / กลุ่มเป้าหมาย
ประชากรที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรที่มีผลสัมฤทธิ์โดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ยดังนี้ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คือ กลุ่มอ่อน ผลการเรียน อยู่ระหว่าง 2.50 - 3.00 คือ กลุ่มปานกลาง และผลการเรียนสูงกว่า 3.00 คือ กลุ่มเก่ง กลุ่มเป้าหมายต้องทำการวิจัยมีจำนวน 50 คน และแบ่งเป็น 3 กุล่ม คือกลุ่มเป้าหมายที่ 1 จำนวน 3 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 จำนวน 12 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ 3 (กลุ่มทดลองภาคสนาม) จำนวน 50 คน เพื่อการใช้นวัตกรรม
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 12 ข้อ โดยมีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.38 - 0.76 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.52 เป็นข้อสอบที่ง่ายพอเหมาะ และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.24 - 0.64 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.36 เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี รุจิร์ ภู่ภาระ และคณะ. 2526 : 120 - 121
3.2.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบการสอนเนื้อหา (Tutorial Instruction) โดยมีกรอบโครงสร้างของโปรแกรม Adobe Flash จำนวน........ .....กรอบ ผู้เรียนจะใช้เวลาในการศึกษา โดยเฉลี่ย 2 คาบ เมื่อเรียนแล้วนำไปฝึกปฏิบัติๆ แต่ละครั้งแล้วบันทึกลงในใบงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำมาส่งครูเพื่อประเมินผลการปฏิบัติ โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 90/90
3.2.3 แบบประเมินสื่อการสอนของผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาได้ค่าประเมินเฉลี่ย 4.85 ด้านเทคนิคการผลิตสื่อได้ค่าประเมินเฉลี่ย 4.86 แสดงว่าผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก ผู้วิจัยกำหนดให้มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป
3.2.4 แบบวัดเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เป็นรายการแสดงความคิดเห็น ใช้แบบของลิเคิร์ท (Likert’s Scale) ประกอบด้วยข้อคำถามที่แสดงเจตคติหรือความรู้สึก ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางบวกและทางลบ ในแบบวัดจะต้องประกอบไปด้วยทั้งข้อคำถามทางบวกและทางลบในจำนวนพอๆ กัน ระดับเจตคตินิยมแบ่งออกเป็น 5 ระดับ (Scale) คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วยอย่างมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด ถ้าเป็นข้อทางบวกจะมีคะแนน 5 4 3 2 1 แต่ถ้าเป็นข้อความทางลบจะมีคะแนน 1 2 3 4 5
3.3 ตัวแปรที่ศึกษา
3.3.1 ตัวแปรอิสระ (Dependent Variable) ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
3.3.2 ตัวแปรตาม (Independent Variable) ได้แก่
1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.) เจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
4. ดำเนินการทดลอง
4.1 ผู้วิจัยทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องเรียนที่ใช้ในการทดลองและติดตั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ครบจำนวนกลุ่มเป้าหมาย
4.2 ผู้วิจัยแนะนำนักเรียนในการใช้คู่มือแนะนำการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
4.3 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วบันทึกคะแนนเพื่อหาค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (T1)
4.4 นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (X) แล้วทำแบบฝึกหัด ตรวจคำตอบ ครูจดบันทึกคะแนนเพื่อหาค่า E1
4.5 หลังจากจบบทเรียนให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (T2) ทันที แล้วบันทึกคะแนน เพื่อหาค่า E2
4.6 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากคะแนนที่ได้จาก การทำแบบฝึกหัด (E1) และคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบหลังเรียน (E2) ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปเปรียบเทียบว่าถึงเกณฑ์มาตรฐาน 90 : 90 ที่ตั้งไว้หรือไม่ หากยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ต้องปรับปรุงบทเรียนใหม่
4.7 กลุ่มเป้าหมายที่ 2 กลุ่มทดลองกลุ่มย่อย เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อเปรียบเทียบว่าถึงเกณฑ์มาตรฐาน 90 : 90 ที่ตั้งไว้หรือไม่ หากยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ต้องปรับปรุงบทเรียนอีก
4.8 กลุ่มเป้าหมายที่ 3 เป็นกลุ่มทดลองภาคสนามที่ใช้นวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เพื่อเปรียบเทียบว่าถึงเกณฑ์มาตรฐาน 90 : 90 ที่ตั้งไว้
4.9 วิเคราะห์หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการทดสอบหาค่าสถิติที (t - test dependent) ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่สูงขึ้น
5. สรุปผลการวิจัย
จากการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน การหาประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการวัดเจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
5.1 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา โดยมีกรอบโครงสร้างของโปรแกรม Adobe Flash จำนวน ........... กรอบ ใช้เวลาศึกษาเฉลี่ย 2 คาบ เมื่อเรียนแล้วนำไปฝึกปฏิบัติๆ แต่ละครั้งแล้วบันทึกลงในใบงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำมาส่งครูเพื่อประเมินผลการปฏิบัติ การทดสอบภาคสนามได้ค่าประสิทธิภาพ E1 = 90.67 : E2 = 95.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 90 : 90 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน
5.2 ผลการประเมินสื่อการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ทั้งด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับ ดีมาก คือ มีค่าเฉลี่ย = 4.5 และ4.86 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก ผู้วิจัยกำหนดให้มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป ประสิทธิภาพ ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 90 : 90 โดยผลการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มทดลองภาคสนาม จำนวน 50 คน ได้ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 90.67 : 95.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
5.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย (T2 = 11.46) สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย (T1 = 6.12) ค่าสถิติที (t - test dependent) = 21.64
5.4 ผลการวัดเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เป็นรายการแสดงความคิดเห็น และเมื่อพิจารณาเรียงลำดับเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ทางบวก ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกข้อ ( X- = 4.72) ทางลบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับเห็นด้วยน้อยที่สุดเกือบทุกข้อ (X- = 4.58)
อภิปรายผลการวิจัย
จากการสังเกตของผู้วิจัยในการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าผู้เรียนได้รับความรู้ตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ทุกคนมีความสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาของการเรียนและมีความตั้งใจ ในการทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็นอย่างดี และจากการสอบถามผู้เรียนส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่าเป็นรูปแบบการเรียนที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื้อหาแต่ละกรอบให้ความรู้ได้ดีมาก จำนวนข้อทดสอบมีความเหมาะสม แบบฝึกหัดมีความเหมาะสม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความเหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียน มีความต้องการให้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้อวิชาอื่นๆ อีก เพื่อที่จะสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ดีมาก
1. ผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
จากการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 90 : 90 โดยผลจากการทดลองภาคสนามกับนักเรียนจำนวน 50 คน ได้ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 90.67 : 95.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นก่อน ที่จะนำไปทดลองใช้ได้มีการเตรียมการและออกแบบ พร้อมทั้งได้พิจารณาเนื้อหาอย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนั้น จึงทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดี และยังมีการสร้างแรงจูงใจนักเรียนในการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้สร้างขึ้นด้วยเทคนิคการผลิตสื่อที่ประกอบด้วยตัวอักษร การเคลื่อนไหว รวมทั้งสียงทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนมีค่า 90.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ผู้เรียนทำทีละตอนของเนื้อหา จึงทำให้ผู้เรียนจำเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายขึ้นสามารถเปิดหน้าเนื้อหาบทเรียน ทบทวนได้จนกว่าจะเข้าใจ จึงทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่วนค่าเฉลี่ยของแบบทดสอบมีค่า 95.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของแบบฝึกหัด เนื่องจากเนื้อหาสาระของบทเรียนเมื่อนักเรียนเรียนแล้ว สามารถเกิดความรู้ความเข้าใจตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ซึ่งค่าประสิทธิภาพของบทเรียนมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ อัญชลี อติแพทย์. 2535 : 15 กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถโต้ตอบกับผู้เรียน และแสดงผลการเรียนได้ทันที ทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ ท้าทายให้เกิดการเรียนรู้ และ ยืน ภู่วรวรรณ. 2529 : 7 ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ให้ข้อดีกว่าสื่อการสอนแบบอื่น คือ สามารถโต้ตอบและแสดงผลลัพธ์บางสิ่งให้กับผู้เรียนดูได้ ทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ อยากรู้
จากการศึกษาผลการประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้งด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังกล่าวมีคุณภาพ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และประหยัดเวลาในการเตรียมการสอนซึ่งสอดคล้องกับ กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. 2536 : 138 ได้กล่าวว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีวิธีการสร้างด้วยเจตนาจะช่วยสอน ถ้าผู้สอนมีภาระงานสอนมากๆ การเตรียมการสอนที่ซับซ้อนจะไม่สะดวกกับผู้สอนอย่างยิ่ง ความเหนื่อยล้า จะทำให้การสอนแต่ละกลุ่มในเนื้อหาเดียวกันมีประสิทธิภาพไม่เท่าเทียมกัน บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน จะสามารถนำมาช่วยทดแทนผู้สอน ในเนื้อหาและเทคนิควิธีการสอนที่ซ้ำๆ กันได้เป็นอย่างดี
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย 🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇
https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,215 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,457 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง