บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบ One – Group Pretest – Posttest Design ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนการวิจัยไว้ดังนี้
1. ขอบเขตการวิจัย
2. การออกแบบการวิจัย
3. ขั้นตอนการวิจัย
3.1 ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
3.2 ขั้นที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.3 ขั้นที่ 3 การทอลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4 ขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา
1. ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหา ประชากร กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปรที่ศึกษา ระยะเวลา ในการทดลอง ดังต่อไปนี้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประชากร/ กลุ่มเป้าหมาย
1.1 ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 320 คน
1.1.1 กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 3 คน ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ยดังนี้ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คือ กลุ่มอ่อน ผลการเรียนอยู่ระหว่าง 2.50 - 3.00 คือ กลุ่มปานกลาง และผลการเรียนสูงกว่า 3.00 คือ กลุ่มเก่ง
1.1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 โรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 12 คน ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ย ดังนี้ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คือ กลุ่มอ่อน ผลการเรียนอยู่ระหว่าง 2.50 - 3.00 คือ กลุ่มปานกลาง และผลการเรียนสูงกว่า 3.00 คือ กลุ่มเก่ง
1.1.3 กลุ่มเป้าหมายที่ 3 ภาคสนาม เพื่อการใช้นวัตกรรม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 คน ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ย ดังนี้ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คือ กลุ่มอ่อน ผลการเรียนอยู่ระหว่าง 2.50 - 3.00 คือ กลุ่มปานกลาง และผลการเรียนสูงกว่า 3.00 คือ กลุ่มเก่ง
1.2 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.1 ความหมายของการบริหารจิต
2.2 ประโยชน์ของการบริหารจิต
2.3 สมาธิ
2.3.1 ความหมายของสมาธิ
2.3.2 ลำดับขั้นของสมาธิ มี 3 ระดับ
2.3.3 สมาธิมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
2.3.4 การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
2.3.5 การฝึกสมาธิตามแบบอานาปานสติ
1.) ข้อดีของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
2.) ขั้นตอนการฝึกสมาธิตามแบบอานาปานสติ
2.1) ขั้นเตรียมการปฏิบัติ
2.2) ขั้นปฏิบัติ
3.) อิริยาบถการนั่ง
3.1) วิธีกำหนดลมหายใจ
3.2) การกล่าวคำบริกรรม โดยใช้กำหนดลมหายใจเข้า - ออก
4.) อิริยาบถการยืน
5.) อิริยาบถการเดิน
6.) อิริยาบถการนอน
2.4 สรุป
1.3 ตัวแปรที่ศึกษา
1.3.1 ตัวแปรอิสระ (Dependent Variable) ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.3.2 ตัวแปรตาม (Independent Variable) ได้แก่
1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
2.) เจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
1.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2551
1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา มีดังต่อไปนี้
1.5.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
1.5.2 แบบฝึกหัดระหว่างเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
1.5.3 แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา จำนวน 12 ข้อ
1.5.4 แบบวัดเจตคติของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา จำนวน 30 ข้อ
1.5.5 แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหา และด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. การออกแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน One - Group Pretest - Posttest Design (Tuckman 1999 : 160) ในการเก็บข้อมูลการทดลอง ของกลุ่มเป้าหมายในขั้นวิจัยที่ 2 (การทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนรู้
การทดสอบก่อนทดลอง
|
การทดลอง
|
การทดสอบหลังทดลอง
|
T1
|
X
|
T2
|
T1 = การทดสอบก่อนการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต
X = การทดลองเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
T2 = การทดสอบหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต
3. ขั้นตอนของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย ขั้นตอนการวิจัยดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1. ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา การจัดการศึกษา ต้องเป็นบริการที่พอเพียงรวดเร็วฉับไว ให้ได้ทั้งปริมาณและมาตรฐานคุณภาพ
2. ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แนวการจัดการศึกษา ที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นจึงให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ตามสติปัญญา ความสามารถของผู้เรียนและพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ศึกษาวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า “โรงเรียนสายปัญญารังสิตเป็นแหล่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ ของชุมชน มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีวินัย คุณธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี”
4. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ขั้นตอนเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากเอกสารการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. ศึกษาความต้องการของนักเรียนด้านเนื้อหาสาระ กิจกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจากครูผู้สอน<