ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทที่ 1)


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,144 ครั้ง
Advertisement

งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทที่ 1)

Advertisement

 

บทที่   1

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

           

               แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  10  พ.ศ.  2550  -  2554  ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท   ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ  จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคตและแสวงหาผลประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  5  บริบท  เช่น  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด  โดยจะต้องมีการจัดการบริหาร     องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ   ทั้งการพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้  รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี        ที่เหมาะสมมาผสมผสานกับจุดแข็งในสังคมไทย  วิสัยทัศน์ประเทศไทย  มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็น    เป็นสุขร่วมกัน  (Green  and Happiness Society)  คนไทยมีคุณธรรม  มีความรู้  รู้เท่าทันโลก  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนแข็งแรง  สังคมสันติสุข  เศรษฐกิจมีคุณภาพ  เสถียรภาพ  และเป็นธรรม  สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มี            ธรรมาภิบาล  ดำรงไว้ซึ่งระบอบที่มีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และอยู่ภายในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี  วัตถุประสงค์บางประการเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม  จริยธรรมต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว  สถาบันศาสนา  และสถาบันการศึกษา  เสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุล  ระหว่างการส่งเสริม การป้องกันการรักษา  และการฟื้นฟูสมรรถภาพและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

               แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  9  พ.ศ.  2545  -  2549  ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย ของการพัฒนาประเทศ  เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน  ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ     ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย  โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา          ในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม  สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (2544  :    -  ฉ)   ซึ่งโลกในปัจจุบันจัดเป็นโลกแห่งวิทยาการและเทคโนโลยี  ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้า          อย่างรวดเร็ว  ความเจริญก้าวหน้าได้ส่งผลกระทบถึงความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ  และสังคม  แม้กระทั่งการศึกษา  เพื่อให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพ      ของสังคมโดยกระบวนการต่างๆ   กิตติพงษ์   คงเอียด  (2546  :  1)  อ้างถึงใน  กาญจนา    คุณารักษ์  (2540  :  43)     

               การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นรากฐาน        ในกระบวนการ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า  และพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  เพราะการศึกษา        มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นผู้ที่รู้จักคิดรู้จักทำ  และรู้จักพัฒนา  แก้ไขปัญหา   ในประเทศ   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาคนหรือประชากรให้มีคุณภาพควบคู่กันไป โดยเฉพาะ    อย่างยิ่งการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ผู้เรียนมีระดับสติปัญญา  มีความรับผิดชอบ    ต่อสังคม  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีทักษะตลอดจนบุคลิกภาพที่พึงประสงค์  เพื่อให้สามารถนำหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ฉบับที่  8  พ.ศ.  2540   2544  :  ซีดีรอม)  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  8   พ.ศ.  2540  -  2544   ได้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาของคนไทย  เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาทุกระดับ  โดยปฏิรูปการเรียนการสอน  พัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน  ปรับปรุงเนื้อหาสาระวิชาและกระบวนการเรียนรู้   การจัดให้มีสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเพียงพอ  ทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอน   ชณรรษ   หาญอาษา  (2550  :  1)

               ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษา    ที่ยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  การจัดกระบวนการเรียนรู้  มาตรา  24  ได้ระบุให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ  ดังนี้  1)  จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  2)  ฝึกทักษะกระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์  และการประยุกต์ความรู้มาใช้  เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา  3)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติ   ให้ทำได้  คิดเป็นทำเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง  4)  จัดการเรียนการสอน               โดยผสมผสานความรู้ต่างๆ  อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม          และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกสาระการเรียนรู้   5)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ทั้งนี้ผู้เรียนและผู้สอนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้                         6)  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ  อุดมศักดิ์                    ธนะกิจรุ่งเรือง  (2546 : 26)  ดังนั้นการจัดการศึกษาที่มีผู้เรียนทุกคนเป็นศูนย์กลาง  ให้ผู้เรียน                  มีความสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ  ตามสติปัญญา  ความสามารถของผู้เรียน  และพัฒนาตนเอง      ได้เต็มตามศักยภาพ  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล    ชณรรษ   หาญอาษา  (2550  :  1)

               จากรายงานผลการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ  2542  ของผู้ตรวจราชการ 12  เขตการศึกษา  สรุปได้ว่าคุณภาพการศึกษาอยู่ระดับต้องปรับปรุง  จึงมีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น  ปรับปรุงพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของผู้เรียนและครู  กล่าวคือ  ลดบทบาทของครู ผู้สอนจากการเป็นผู้บอกเล่าและบรรยายมาเป็นการวางแผนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  จากแนวโน้มของการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนไป  เริ่มเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปตามศักยภาพของผู้เรียน    แต่ละบุคคล  และเชื่อว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านประสบการณ์ต่างๆ   ที่จะทำให้เกิดกระบวนการคิด พรรณี   เกษกมล (2546  :  48)  และในหมวด  9  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ได้ให้ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาว่า  เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาให้ลุล่วงไปได้  โดยเฉพาะเทคโนโลยีการศึกษา        เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้  กระทรวงศึกษาธิการ  (2543)  มาตรา  66  ผู้เรียน       มีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้      ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550  ได้กำหนดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ     ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้ใน  สวนที่ 8   สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา   มาตรา 49 บุคคล         ยอมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไมนอยกว่าสิบสองปที่รัฐจะตองจัดใหอย่างทั่วถึง            และมีคุณภาพ   โดยไมเก็บคาใชจายผูยากไร ผูพิการหรือทุพพลภาพ หรือผูอยูในสภาวะยากลําบาก       ตองไดรับ สิทธิตามวรรคหนึ่ง  และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อใหไดรับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น  การจัดการศึกษาอบรมขององคกรวิชาชีพหรือเอกชน   การศึกษาทางเลือกของประชาชน  การเรียนรู้ดวยตนเอง และการเรียนรูตลอดชีวิต  ยอมไดรับความคุมครองและสงเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ  หนา  15  เลม  124   ตอนที่ 47    ราชกิจจานุเบกษา  24  สิงหาคม  2550

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2540  ได้กำหนดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ     ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้ในมาตรา  81  อาทิ  ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ  การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ปลูกฝังจิตใต้สำนึกที่ถูกต้อง  สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะ  และวัฒนธรรมของชาติ  (แผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2545  -  2559  :  ฉบับสรุป)  บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีหลายประการ  จะเห็นได้ว่าการจัดการการศึกษาต้องเป็นบริการที่พอเพียง  รวดเร็วฉับไว  ให้ได้ทั้งปริมาณและมาตรฐานคุณภาพ  เป็นบริการที่อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค  เท่าเทียม            และเป็นธรรม  ทั้งนี้เพราะการศึกษาเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ

              สังคมโลกเป็นสังคมของมวลมนุษย์ที่ได้สั่งสมวัฒนธรรมกันมาช้านานทำให้เกิดความเจริญ งอกงามขึ้นได้  เนื่องจากมนุษย์มีการพัฒนาขึ้นในหลายๆ  ด้าน  มนุษย์ได้อาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานที่จะพัฒนาด้านต่างๆ  ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต  ดังนั้นโลกในอนาคตต้องพึ่งพาเทคโนโลยี  และเทคโนโลยีต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานหลัก  (กิตติพงษ์   คงเอียด.  2546  :  1   อ้างถึงใน  สิปปนนท์   เกตุทัต.  2536  :   52  -  64)  การปลี่ยนแปลง  ของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์  (Globalization) กลายเป็นสังคมแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology)  ซึ่งเริ่มต้นเมื่อราว  ค.ศ.  1995  จนถึงปัจจุบัน  การเคลื่อนตัวเข้ามา   ของคลื่นลูกที่สามนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วไปสู่สังคมต่างๆ ทั่วโลกเป็นยุคที่ความก้าวหน้า    ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการถ่ายทอดความรู้อย่างสูงมีพัฒนาการ ด้านคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยี  การสื่อสาร  คมนาคม  ทำให้ข้อมูลแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว  เกรียงศักดิ์   เจริญวงศ์ศักดิ์.  2541  :  32

               ในศตวรรษที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดการหลั่งไหล    ของกระแสโลกาภิวัฒน์   ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์   เทคโนโลยี  และการเมืองการปกครอง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจประสบความสำเร็จอย่างมาก  มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมเป็นหลัก  ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ  ทางด้านสังคม   ด้านสิ่งแวดล้อม  เป็นการพัฒนาที่ขาดความสมดุลกัน  หากไม่แก้ไขจะนำไปสู่          การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนในอนาคต    จินตนา   เวทยาวงศ์.  2547  :  1

               จากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้โลก  ไร้พรมแดน  อันเป็นสาเหตุให้ประเทศไทยต้องแข่งขันกันกับนานาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และเพื่อให้ประเทศมีศักยภาพอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี     ในสังคม  โดยเห็นว่า คนเป็นทั้งเหตุปัจจัย  และผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศ คนป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการพัฒนาสังคม  หากได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  และจิตใจ  จะเป็นพื้นฐานสร้างพลังครอบครัว  ชุมชน  และสังคม  อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมอย่างสมดุลกับธรรมชาติและอยู่รวมกับประชาคมโลกได้อย่างสันติ  อัญชลี   โพธิ์ทอง  และ    อัปษรศรี   ปลอดเปลี่ยว.  2543  :  1

               เมื่อโลกเข้าสู่ปี  ค.ศ.  2000   ประเทศส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการศึกษา  โดยเน้น     การปฏิรูปการศึกษา  เพราะตระหนักดีว่าศักยภาพของคนจะเกิดได้จากการรับการศึกษาแบบต่อเนื่อง  หลากหลายวิธีทั้งสนุกและมีความสุข  ลักษณะเช่นนี้จะแตกต่างจากการสอนแบบเดิมๆ  ซึ่งมักจะใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่  และใช้วิธีการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง     อัญชลี   โพธิ์ทอง.  2544  :  คำนำ

               พระธรรมปิฎก  (ประยุทธ์   ปยุตฺโต)   กล่าวว่า  การศึกษา  คือ  การพัฒนาคนโดยมีการพัฒนาปัญญาเป็นแกนกลาง  เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปภายในตัวบุคคล แกนนำของกระบวนการศึกษา  ได้แก่  ความรู้ความเข้าใจ  ความคิดเห็น  แนวความคิด  เจตคติ  ค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม  (อัญชลี  โพธิ์ทอง.  2544  :  3   อ้างถึงใน  สำนักพัฒนาการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  เขตการศึกษา  10  การพัฒนา   การเรียนรู้.  2543  : 1 - 3)  ซึ่งสอดคล้องกับความหมายในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542   มาตรา  4  ที่ระบุ  ความหมายของคำว่า  การศึกษา  คือ  กระบวนการเรียนรู้   เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม  การสืบสาน                ทางวัฒนธรรม  การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม  สังคม  การเรียนรู้  และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  จิตนา   เวทยาวงศ์.  2547  : 2    อ้างถึงใน  กระทรวงศึกษาธิการ.  2542  :  2 

               วิสัยทัศน์ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต  โรงเรียนสายปัญญารังสิตเป็นแหล่งจัดการศึกษา      ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน  เป็นที่ยอมรับของชุมชน  มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  มีวินัย  คุณธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี  (สารสนเทศโรงเรียนสายปัญญารังสิต)  สอดคล้องกับในอดีต    ที่ครูมีบทบาทมากในการถ่ายทอดความรู้  แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เข้ามา          มีบทบาทในสังคมของคนไทยมากขึ้น  โดยเฉพาะการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน  หรือที่เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษา  (Education  Technology)”  การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน  โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษา ที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน  ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยมีการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือ โสตทัศนูปกรณ์  รวมทั้งเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ  เช่น                 เครื่องคอมพิวเตอร์   สื่อการสอนต่างๆ  ในลักษณะของสื่อประสม  และการศึกษาด้วยตนเอง         จินตนา   เวทยาวงศ์.  2547   :  4  อ้างถึงใน  Good.  1973  :  592 

                การพัฒนาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ต้องพัฒนาความรู้ควบคู่กับคุณธรรม  ด้วยการพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งให้ประชากรมีความรู้อย่างทั่วถึงทั้งทางด้านสติปัญญา  ด้านศีลธรรม  และจริยธรรม           

               ปัจจุบันสภาพสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นคนไทยจะต้องปรับตัว          ให้เหมาะสม  สิ่งที่เคยช่วยให้คนไทยดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้  คือหลักธรรมและจริยธรรม            ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ดังที่  จินตนา  เวทยาวงศ์.  2547 :4  อ้างถึงใน                            สุทธิพงศ์    ตันตยาพิศาลสุทธิ์.  2528  :  23   ได้กล่าวว่า   ถ้าต้องการให้สังคมไทยมีความสุขและก้าวหน้าอย่างแท้จริงจะต้องจัดให้มีการพัฒนาจริยธรรมของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนา      ทางด้านวัตถุ  โดยเริ่มพัฒนาที่เด็กก่อน  ภารกิจนี้ทำได้โดยการนำหลักธรรมคำสั่งสอน                        ทางพระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทในด้านการพัฒนาทางด้านจิตใจของเยาวชน  ซึ่งสอดคล้อง            กับพระโสภณคณาภรณ์.  2522  :  163  ที่กล่าวว่า  การศึกษาโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทางด้านจิตใจคนให้มีแต่ความดีงาม   ด้วยระบบคำสอนในทางพระพุทธศาสนา วิชาพระพุทธศาสนา   จึงสอนเพื่อพัฒนาจิตใจให้คนเป็นมนุษย์  เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เป็นกัลยาปุถุชน  เป็นบัณฑิต                 เป็นนักปราชญ์  เป็นคนดีจริงๆ  เรียกว่า  สัตบุรุษ

                ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้  วงการศึกษาของไทยจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาทางด้านจริยธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านอื่นๆ  โดยกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช   2544  โดยเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาเป็นต้นไป

               พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยและเป็นสถาบันหลักของสังคมไทยที่แทรกอยู่    ในวัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิต  ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ  ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลง  ไปอย่างรวดเร็ว  เยาวชนไทยสมควรได้รับการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมตามหลักคำสอน                ทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับวัย  และเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มแรก  โดยการจัดเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนการสอนที่ชัดเจน  เพื่อให้เยาวชนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง  มีเจตคติ  และค่านิยมที่ดีต่อพระพุทธศาสนา

               แต่ในสภาวะการเรียนการสอนที่แท้จริงของสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาพบปัญหา           ที่เกิดขึ้นมากมาย   ซึ่งสามารถแจกแจงข้อมูลของ   จินตนา   เวทยาวงศ์.  2547:  5  อ้างถึงใน   นงลักษณ์    จันทร์แสนโรจน์.  2529  :  112   ไว้ดังนี้ 

               1.   ครูผู้สอนพระพุทธศาสนาไม่มีคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา  ไม่เคยมีประสบการณ์สอนศีลธรรมมาก่อน  และขาดความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

               2.   ผู้เรียนไม่มีคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา  และมีประสบการณ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา     น้อยมาก  และวัฒนธรรมตะวันตกทำให้ผู้เรียนเห็นว่าพระพุทธศาสนาล้าสมัย

  3.   ฝ่ายบริหารและบุคลากรของโรงเรียนไม่เห็นความสำคัญของวิชาพระพุทธศาสนา

  4.   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรมีการจัดทำน้อยมาก

              5.   วิธีการของครูผู้สอนตั้งแต่อดีตยึดการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก  มีการจัดกิจกรรม      เสริมบทเรียนน้อยมาก

              6.   ครูผู้สอนแทบไม่ได้ใช้สื่อการสอนเลย  และมีวิธีการที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาน้อยมาก  ทำให้ผู้เรียน เบื่อหน่ายต่อวิธีการสอน  เนื้อหา  และสื่อแบบเดิม

              7.   ผู้ปกครองขาดการติดตามผลการเรียน  หรือมีการติดตามผลการเรียนในรายวิชาน้อยมาก

              8.   การเรียนการสอนส่วนใหญ่จัดขึ้นในห้องเรียนปกติ  สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน         ไม่สนับสนุนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา

               การเรียนการสอนตามหลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องไกลตัว  ผู้เรียนควรรู้เรื่องสังคมในท้องถิ่น  ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น  การทำมาหากิน  ความจำเป็นพื้นฐาน  ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  เพื่อที่จะปฏิบัติตนตามสถานภาพ  บทบาท  สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น  จังหวัด  ภาค  และประเทศ  รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น   ของตนมากยิ่งขึ้น   ชรัญ   เชาว์ฉลาด.  2550  :  2 

               อีกทั้งสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบเก่า  เช่น  รูปภาพ  แผนที่  แผนภูมิ  ภาพ  กราฟิก       ไม่สามารถที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ได้มากเท่าที่ควร  รวมไปถึง        ในด้านของกระบวนการจำที่ผู้เรียนเกิดการจำได้ไม่นานและไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกด้วย

               จากผลการวิจัยของนักการศึกษา  พบว่าเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพในการสอน      ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนตามความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี  ก็คือ    การใช้สื่อและอุปกรณ์การสอน  ในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมกันมาก    ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว  ทำให้ผู้สอนมีเวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าทางการศึกษาได้มากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสม      กับสภาวะของผู้เรียนได้อีกด้วย  จึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องช่วยสอนในรูปแบบต่างๆ  กัน  (กิตติพงษ์   คงเอียด. 2546  :  3  อ้างถึงใน  ชูศรี   ยินดีตระกูล.  2530  :  28  -  29)  กล่าวว่ามีความสอดคล้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในลักษณะการนำเสนอการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์  จัดเป็นการเรียนรู้โดยใช้        สื่ออิเล็กทรอนิครูปแบบหนึ่ง  ซึ่งจะมีการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่  ข้อความ  ภาพนิ่ง  กราฟิก  แผนภูมิ  กราฟ   ภาพเคลื่อนไหว   วีดีทัศน์และเสียง  เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้        ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถดึงดูด        ความสนใจของผู้เรียน  และกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้   ถนอมพร   เลาหจรัสแสง.  2541  :  7


งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทที่ 1)งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการบริหารจิตชั้นม.3(บทที่1)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แบบประเมิน

แบบประเมิน


เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
Sweet heart...

Sweet heart...


เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
น้ำมันมะกอก .....แก้นอนกรน

น้ำมันมะกอก .....แก้นอนกรน


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
ผลการประกวดวงดนตรี Folk Song

ผลการประกวดวงดนตรี Folk Song


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เพิ่มกำลังใจ....ให้ชีวิต

เพิ่มกำลังใจ....ให้ชีวิต


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อยากเรียนเก่ง? สร้างได้

อยากเรียนเก่ง? สร้างได้

เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไม...ขี้ลืม สมองไม่จดจำอะไรเลย...อาการน่าเป็นห่วง
ทำไม...ขี้ลืม สมองไม่จดจำอะไรเลย...อาการน่าเป็นห่วง
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย

ออกกำลังกายเวลาไหนดีที่สุด?
ออกกำลังกายเวลาไหนดีที่สุด?
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

"ชุดชั้นใน"
"ชุดชั้นใน"
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

ผักใบเขียวอุดมอาหารสมอง กินมากช่วยปกป้องความจำ
ผักใบเขียวอุดมอาหารสมอง กินมากช่วยปกป้องความจำ
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

เชิญเพื่อนครูเรียนต่อ  ป.โท  ม.ราชภัฏสกลนคร
เชิญเพื่อนครูเรียนต่อ ป.โท ม.ราชภัฏสกลนคร
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

“IAU”ประกาศ 106 ชื่อดาวเคราะห์น้อยล่าสุด หนึ่งในนั้นมีชื่อ“คนไทย”
“IAU”ประกาศ 106 ชื่อดาวเคราะห์น้อยล่าสุด หนึ่งในนั้นมีชื่อ“คนไทย”
เปิดอ่าน 10,855 ครั้ง

เลือกเฟอร์นิเจอร์อย่างไร? ให้สะดวกและเหมาะสมสำหรับโรงเรียน
เลือกเฟอร์นิเจอร์อย่างไร? ให้สะดวกและเหมาะสมสำหรับโรงเรียน
เปิดอ่าน 39,238 ครั้ง

6 ข้อดีของการพาลูกไปที่ทำงาน
6 ข้อดีของการพาลูกไปที่ทำงาน
เปิดอ่าน 16,645 ครั้ง

รู้ไว้ใช่ว่า...อัตราค่าปรับตามกฎหมายจราจรทางบก
รู้ไว้ใช่ว่า...อัตราค่าปรับตามกฎหมายจราจรทางบก
เปิดอ่าน 41,757 ครั้ง

วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน
วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน
เปิดอ่าน 8,410 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ