บทที่ 2
รายละเอียดของโครงการ และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อต่อไปนี้
1. ความเป็นมาของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
2. แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประเมิน
2.1 ความหมายของการประเมินโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
2.3 เป้าหมายของการประเมินโครงการ
2.4 รูปแบบของการประเมินโครงการ โดยใช้ CIPP Evaluation Model
3. แนวคิดการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
4. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสารปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
5. หลักการในการจัดกิจกรรม
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ตอนที่ 1 กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินโครงการ
ตอนที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักการและเหตุผลของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 ความว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั่งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้มาตราที่ 24 (2) ยังได้กำหนดแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
แต่อย่างไรก็ตามสภาพสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์มีการรับรู้ทางด้านข่าวสารต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านวัตถุและด้านสังคมอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผู้คนในสังคมขาดคุณธรรม จริยธรรมใน การดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่กำลังเติบโตมักจะขาดความยั้งคิด หลงใหลกับความเจริญทางวัตถุ ทำให้มองข้ามความสำคัญทางด้านจิตใจ นั่นก็คือ การขาดคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการดำรงชีวิต ดังนั้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จำเป็นต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักพุทธธรรม และสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตและสังคมได้
การพัฒนาโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญ คือ โรงเรียนสายปัญญารังสิต มีความตั้งใจจะดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ให้นักเรียนได้มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ปรากฏเกียรติและเกิดความภูมิใจในตัวเอง การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนให้มีคุณภาพนำความรู้คู่คุณธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความเก่ง ดี และมีสุขที่สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันคุณภาพของผู้เรียนทางด้านคุณธรรม จริยธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพระพุทธศาสนากับโรงเรียน ร่วมกันพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดกับตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตอนที่ 1 กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการประเมินโครงการ
หลักการแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
1. ความหมายของการประเมินโครงการ
มีผู้ให้ความหมายของการประเมินไว้หลายทัศนะดังนี้
ประชุม รอดประเสริฐ (อ้างถึงใน พาณี จินดาวงศ์. 2541: 13) ได้ให้ความหมาย ไว้ว่า การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลของ การดำเนินโครงการและพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือจุดด้อยของโครงการนั้นอย่างมีระบบแล้วตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นเพื่อการดำเนินงานต่อไป หรือจะยุติการดำเนินงานโครงการนั้นเสีย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525: 502) ได้ให้ความหมายของ การประเมินโครงการ ว่าการประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือการใช้วิธีการวิจัยเพื่อหาข้อมูลที่เป็นจริงและมีความเชื่อถือได้ของโครงการแล้วพิจารณาตัดสินว่าโครงการนั้นถึงวัตถุประสงค์หรือไม่และด้วยคุณภาพของความสำเร็จนั้นเป็นเช่นใด
พาณี จินดาวงค์. (2541: 14) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจดำเนินโครงการครั้งต่อไป
สุรชัย วงค์คำ. (2543: 12) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การประเมินโครงการ หมายถึง เป็นกระบวนการตรวจสอบ ตัดสินใจ ตามขอบเขต หาทางเลือกที่เหมาะสมทุกขั้นตอน
สุวิมล ติรกานันท์. (2543 : 2-3) ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการว่า หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้น ในทุกขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถใช้ใน การพิจารณาดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างทันท่วงที
ทวีป ศิริรัศมี. (2544: 114) ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการว่า หมายถึงกระบวนการในการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการกำหนดคุณค่าของสิ่งใด ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเป็นระบบระเบียบและมีหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผล และเชื่อถือได้
มยุรี อนุมานราชธน. (2546: 286) ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการว่า หมายถึง การออกแบบการวิจัยประเมินผล และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสรุปการวิจัยที่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่ง ๆ
จากความหมายของการประเมินโครงการที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะ พอจะสรุปได้ว่า การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล ของการดำเนินโครงการนั้นอย่างเป็นระบบแล้วตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้น เพื่อที่จะดำเนินโครงการต่อไปหรือยุติโครงการ
2. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
รัตนะ บัวสนธ์. (2540: 18) วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ หมายถึง ความต้อง การเกี่ยวกับการประเมินโครงการที่กำหนดไว้ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนมีความเป็นไปได้ในความต้องการจากการทำการประเมินผลนั้น
Anderson และBell (อ้างถึงใน รัตนะ บัวสนธ์. 2540: 18) กล่าวไว้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการมี 6 ประการ คือ
1. เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำโครงการไปใช้ ซึ่งได้แก่ การประเมินว่าโครงการที่จัดทำขึ้นนั้นมีความจำเป็นมากน้อยหรือมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ มีความเป็นไปได้หรือคุ้มค่ากับเงินทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพียงไร โครงการเป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือจะได้รับ การสนับสนุน แค่ไหน รวมทั้งขอบเขตของการนำโครงการไปใช้กว้างหรือแคบเป็นต้นข้อมูลจาก การประเมินเหล่านี้จะช่วยในการนำมาประมวลสรุปตัดสินใจสำหรับผู้บริหารหรือแหล่งทุน ที่จะตัดสินใจอนุมัติการนำโครงการดังกล่าวไปดำเนินการใช้ต่อไป
2. เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโดยต่อเนื่องต่อไปหรือการขยายโครงการและการรับรองโครงการ ซึ่งได้แก่การประเมินภายหลังจากโครงการ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว (ตามเวลาที่กำหนดไว้) เป็นการประเมินเพื่อจะรู้ว่าโครงการดังกล่าว ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปอีกหรือไม่ ผลที่ได้จากการดำเนินการไปนั้นก่อให้เกิดผลข้างเคียง (Side Effects) ทั้งทางบวกและทางลบหรือไม่
3. เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงการซึ่งเป็นการประเมินเมื่อโครงการดำเนินการในระยะหนึ่ง หรือเป็นการประเมินเพื่อจะปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ได้แก่
3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อที่จะรู้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการ ที่กำหนดไว้นั้นเมื่อดำเนินการไประยะหนึ่ง มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่หรือได้รับการยอมรับสนับสนุนร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
3.2 เนื้อหาของโครงการเป็นการพิจารณาว่าเนื้อหา หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในโครงการมีความครอบคลุมเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ลำดับขั้นตอนของกิจกรรมเป็นไปตามลำดับที่จะเอื้อต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเพียงไร นอกจากนั้นก็พิจารณาอีกว่าเนื้อหาสาระของโครงการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภูมิหลังหรือพื้นเพเดิมของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการจากโครงการมากน้อยเพียงใด
3.3 วิธีการดำเนินโครงการโดยพิจารณาว่าโครงการที่กำลังดำเนิน การอยู่นั้นมีกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการเป็นจำนวนเท่าใด ครบหรือไม่ครบตามที่กำหนดไว้ โครงการมีผู้ร่วมงานเพียงพอหรือไม่ เท่าใด โครงการมีการดำเนินงานหรือดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมาย ผู้ร่วมโครงการได้รับการเสริมแรงหรือการสร้างแรงจูงใจอย่างไร ทำนองนี้เป็นต้น
3.4 สภาวะแวดล้อมของโครงการ หมายถึง การพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองหรือการบริหารของผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการว่าให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการหรือไม่เพียงไร สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานในโครงการมีลักษณะเช่นไร ขัดแย้งกันหรือไม่ เป็นอุปสรรคต่อการที่จะดำเนินการต่อไปเพียงใด ตลอดจนกระทั่งการยอมรับหรือให้การสนับสนุนและการต่อต้านของสาธารณะที่มีต่อโครงการเป็นไปในทางทิศทางใด เป็นต้น
(1) เพื่อที่จะได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนโครงการจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาสนับสนุนโครงการสาธารณชน การเมือง แหล่งเงินทุน รวมทั้งนักวิชาชีพอื่น ๆ โดยต้องการรู้ว่าแหล่งดังกล่าวนี้มีแหล่งใดบ้างให้การสนับสนุนโครงการอย่างแท้จริงเมื่อมีการดำเนินโครงการอยู่ในขณะนั้น ๆ
(2) เพื่อที่จะได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขัดขวาง ต่อต้านโครงการจากแหล่ง ต่าง ๆ ในทางตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการในข้อที่สี่ นอกจาก เราต้องการรู้ถึงแหล่งที่ให้การสนับสนุนโครงการแล้ว ในการดำเนินโครงการใดก็ตามบางครั้งโครงการดังกล่าวนั้นก็จะได้รับการขัดขวางต่อต้านทำให้การดำเนินโครงการไม่อาจเป็นไปโดยสะดวกและวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้อาจจะไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อพิจารณาว่าแหล่งใดบ้างที่ขัดขวางโครงการจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดำเนินโครงการเป็นไปโดยสะดวกต่อไป
(3) เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานด้านต่างๆ ซึ่งหมายถึง การได้รับความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานอื่นที่นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ทำการประเมิน แต่ทว่ามีผลต่อโครงการได้แก่ พื้นฐานด้านการศึกษา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวิทยาและด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
สุรชัย วงค์คำ. (2543: 17) ได้กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ มีอยู่ 3 ประการ คือ (1) เพื่อรวบรวมข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการเมื่อนำไปใช้ดำเนินการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เพื่อการตัดสินใจก่อนใช้โครงการ (2) เพื่อรวบรวมข้อมูลช่วยในการตัดสินใจปรับปรุงส่วนต่างๆของโครงการเมื่อมีการนำโครงการไปใช้หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ (3) เพื่อรวบรวมข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการขยายโครงการให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อไป หรือการล้มเลิกโครงการ
จากความหมายของวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการพอจะสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ หมายถึง การตรวจสอบโครงการเพื่อตัดสินใจที่จะปรับปรุงโครงการ หรือ ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินการตามโครงการ การขยายโครงการต่อเนื่อง หรือการล้มเลิกโครงการ
3. เป้าหมายของการประเมินโครงการ
รัตนะ บัวสนธ์ (2540, หน้า 17) ได้ให้ความหมายของเป้าหมายของการประเมิน ไว้ว่า หมายถึงความต้องการความคาดหวังที่เกี่ยวกับการดำเนินงานประเมินโครงการ นั้นคือการพยายามตอบคำถามที่ว่าเราประเมินโครงการไปทำไม ทั้งนี้คำตอบดังกล่าวจะเป็นลักษณะนามธรรม กล่าวไว้อย่างกว้าง ๆ โดยมีลักษณะค่อนข้างเป็นอุดมคติ (Ideal) ซึ่งมีอยู่ 2 เป้าหมาย คือ เป้าหมาย ที่หนึ่ง การประเมินโครงการเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม ซึ่งหมายถึงผู้ทำการประเมินโครงการและผู้ให้มีการประเมินโครงการนำผลจากการประเมินโครงการไปใช้ให้เกิดการพัฒนาสังคมและกลุ่มคนจำนวนมากตลอดจนการใช้ผลการประเมินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่หรือพึ่งเกิดขึ้นในสังคม เป้าหมายที่สอง การประเมินโครงการเป็นไปเพื่อการตัดสิน ควบคุม กำกับการดำเนินงานของโครงการ โดยอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินเป็นเกณฑ์ใน การตัดสินคุณค่าของโครงการ ส่วนการจะนำผลการประเมินไปใช้หรือไม่นั้นเป็นเป้าหมายรองลงไป
กล่าวโดยสรุปเป้าหมายของการประเมินโครงการ คือ
1. เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เพื่อใช้เป็นสารสนเทศของผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินโครงการ หรือล้มเลิกโครงการ
3. เพื่อนำผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค หรือข้อบกพร่องที่ได้จากการประเมินผลโครงการไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการให้ดำเนินการได้โดยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. รูปแบบการประเมินโดยใช้ CIPPI Evaluation Model
CIPP Model เสนอโดย Daniel L. Stufflebeam (อ้างถึงใน สุรชัย วงค์คำ. 2543: 20) แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นModel ที่ได้รับความสนใจมากจากนักประเมินผลในปัจจุบัน คำว่า CIPP เป็นคำย่อมาจาก Context, Input, Process, และProduct รูปแบบของการประเมินผลนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ สารสนเทศเพื่อนำไปใช้ใน การตัดสินใจหาทางเลือกที่เหมาะสม มุ่งประเมิน 4 ด้านคือ
1. ด้านสภาพแวดล้อม เพื่อพิจารณาจุดหมายโครงการ (Context)
2. ด้านปัจจัย เพื่อออกแบบโครงการ (Input)
3. ด้านกระบวนการ เพื่อประเมินขั้นตอนในการดำเนินการตามโครงการ (process)
4. ด้านผลผลิต เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ตามโครงการ (Product)
5. เป้าหมายของโครงการ
ด้านปริมาณ นักเรียนร้อยละ 80 ได้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ ทั้งหมด 5 กิจกรรม คือ
1. กิจกรรมสอบธรรมสนามหลวง ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
2. กิจกรรมตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2550 “ทุกโรงเรียนรัก
ในหลวง ขอทำความดีน้อมเกล้าถวายฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศระดับครู – อาจารย์ และระดับนักเรียน
3. กิจกรรมบรรพชาสามเณร 91 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
4. กิจกรรมปฏิบัติธรรมบวชศีลธรรมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
5. กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา: วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พิธีหล่อเทียนจำนำพรรษาและจัดแห่เทียนพรรษา
ด้านคุณภาพ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
งบประมาณ
งบประมาณทางราชการ สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี โรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
งบประมาณจากหน่วยงาน องค์กร บุคคลในชุมชน วัดเขียนเขต วัดซอยสามัคคี (วัดธรรมสุขใจ)วัดพิชิตปิตยาราม ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ณวัดพระธรรมกาย เทศบาลเมืองรังสิต
ปัจจัยในการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
วัสดุอุปกรณ์
1. อุปกรณ์สำหรับพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา
2. อุปกรณ์การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ
3. โต๊ะหมู่บูชา
4. วงดุริยางค์ กลองยาว วงดนตรีไทย
5. จำนวนเงินได้รับการสนับสนุนจากสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี จากเทศบาลเมืองรังสิต จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ณ วัดพระธรรมกาย และจากโรงเรียนสายปัญญารังสิต
6. เทียนจำนำพรรษา
7. เครื่องถวายไทยธรรม
8. ภัตราหารเพล น้ำปานะ
9. อุปกรณ์สำหรับปฏิบัติธรรม เครื่องนอน
10. ยานพาหนะในการเดินทาง
เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวก
1. แบบทดสอบสอบธรรมสนามหลวง ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ของแม่กลองธรรมสนามหลวง
2. แบบทดสอบตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ของชมรมพุทธศาสตร์สากล ใน
อุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
3. แบบประเมินโครงการ ทั้ง 5 ด้าน คือ
3.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
3.2 เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)
3.3 เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
3.4 เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
3.5 เพื่อประเมินด้านผลกระทบเชิงบวก (Impact Evaluation)
4. แบบประเมินการแข่งขันประกวดจัดบอร์ด วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
บุคคลที่ร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่
1. ท่านเจ้าอาวาส พระภิกษุสงฆ์ และบุคลากรของวัด
2. ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี
3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2
4. ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
5. บุคลากรของชมรมเปรียญธรรมจังหวัดปทุมธานี
6. บุคลากรของพุทธสมาคมจังหวัดปทุมธานี
7. บุคลากรของชมรมธรรมศึกษาและครูผู้สอนพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี
8. บุคลากรของชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดพระธรรมกาย
9. 🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇
https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,243 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,211 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,219 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง