ละครสังคีตเป็นละครที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กัน
ละครสังคีต
คำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการ ฟ้อนรำ และการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย
ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
ผู้แสดง
ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
การแต่งกาย
แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
เรื่องที่แสดง
นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า " ละครสลับลำ " เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า " ละครพูดสลับลำ " เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"
การแสดง
มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
ดนตรี
บรรเลงด้วย วงปี่พาทย์ไม้นวม
เพลงร้อง
ใช้ เพลงชั้นเดียว หรือ เพลง 2 ชั้น มีลำนำที่ไพเราะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต