การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา หมายถึง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ 8 ด้าน ดังนี้
1.1 ปัญญาด้านภาษา คือ ความสามารถในการใช้ภาษา โดยการให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอย่างถูกต้องชัดเจนคล่องแคล่วในการอ่านการเขียนโดยให้นักเรียนทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่าน อธิบาย เล่านิทาน ประชาสัมพันธ์ โต้วาทีเรื่องความสามัคคี ย่อวาที อ่านบทความ สัมภาษณ์ อ่านเค้าโคลงฉัน คำภาษิต คำชี้แจง คำสั่งที่เป็นข้อความและโจทย์ปัญหา การเขียนบันทึกประจำวัน
ทำจดหมายข่าว จุลสาร
1.2 ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล การคิดเชิงนามธรรม โดยการให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์หลักธรรมปฏิจจสมุปบาทความเป็นเหตุเป็นผลแห่ง
ปัจจยาการ การนับพุทธศักราชเปรียบเทียบศักราชแบบพุทธกับสากล การนับจำนวนคำฉันท์ทั้ง 6 ชนิด การฝึกอุปมาอุมัย การฝึกคิดแก้ปัญหา คิดหลักธรรมเป็นวิทยาศาสตร์
1.3 ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถทางศิลปะในการวาดภาพระบายสี
โดยให้นักเรียนได้เขียนภาพ แปลข้อความหรือเนื้อหาภาพ ให้หลับตาจินตนาการภาพตามเรื่องราวพุทธประวัติที่พึงเรียนจบไปใหม่ๆ วาดภาพธรรมจักรและแปลความหมาย เขียนภาพประกอบพุทธภาษิตคำสอนต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา
1.4 ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว คือ ความสามารถในการใช้ร่างกาย
ของตนแสดงความคิด ความรู้สึก การแสดงท่าทางประกอบเพลง ฝึกเดินจงกรม การสร้างสติ
15 จังหวะ การสื่อสารโดยใช้ภาษาทางกาย
1.5 ปัญญาด้านดนตรี คือ ความสามารถทางด้านการร้องเพลง การแต่งเพลง มีความสนใจในเรื่องจังหวะ ทำนอง โดยให้ นักเรียนขับร้องสรภัญญะ สรรเสริญพระรัตนตรัย มนัสการพระอรหันต์ 8 ทิศ สรภัญญะเรื่องความสามัคคี ให้แต่งคาถาทำนองสังโยค
1.6 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ คือ ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก
ความคิดและเจตนาของผู้อื่น โดยการร่วมกิจกรรมกลุ่ม การช่วยเหลือผู้อื่น การฟังความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม จัดสัมมนาปัญหาธรรมะ ฝึกการแจกภัตรการอปโลกภัตรเพื่อแบ่งปันปัจจัยสี่
1.7 ปัญญาด้านเข้าใจตนเอง คือ ความสามารถในการรู้จักตนเองสามารถบอก
เหตุผลการตัดสินใจของตนเองในการเลือกทำกิจกรรมและการเขียนแสดงความรู้สึก จัดเข้าค่ายปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิไตร่ตรอง ให้ฝึกระบายความรู้สึกเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเองและจดบันทึกประจำวันประเมินผลงานการปฏิบัติว่าเข้าใจตนเองอย่างไร
1.8 ปัญญาด้านเข้าใจธรรมชาติ คือ ความสามารถในการรู้จักธรรมชาติ คือ ความสามารถในการรู้จักธรรมชาติของพืชและสัตว์ ให้นักเรียนอธิบายกฎของธรรมชาติ 4 ความหมาย การปลูกต้นไม้มงคลที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ฝึกสังเกตสัญชาตญาณของสัตว์ที่มีอยู่สี่อย่างทั้งคนและสัตว์ มองธรรมะที่เกิดจากสัตว์และสิ่งแวดล้อมแล้วนำมาอธิบายว่าเราเข้าใจธรรมชาติตามความเป็นจริงหรือไม่จดบันทึกสังเกตธรรมชาติประจำวัน
นำมาฝากสำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปบูรณาการใช้สำหรับพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมวิชาพระพุทธศาสนา หรือกลุ่มสาระอื่น ๆ นะค่ะ
จากคนหลังมอ (มมส.)