การปฎิบัติงานหากเป็นงานเดิม ๆ ที่ปฎิบัติอยู่เป็นประจำ จะทำให้ผู้ที่ปฎิบัติเกิดความเคยชิน เคยปฎิบัติมาอย่างไร ก็จะทำเช่นเดิมต่อไป ทำให้ขาดความคิดที่จะพัฒนา ขาดการริเริม ส่วนหนึ่งเกิดจากกลัวความผิดพลาด เบื่อการชี้แจงให้ผู้ที่เคยทำแบบเดิม ๆ ให้เข้าใจ ความเคยชินดังกล่าวมีส่วนทำให้ขาดความริเริมสร้างสรร และขาดความ กระตือรือร้นที่จะพัฒนา
งานแม้จะเป็นเนื้องานเหมือนเดิมก็ตาม ผู้ปฎิบัติก็ควรที่จะริเริ่ม คิดหาวิธีการปฎิบัติให้มีการพัฒนาก้าวหน้าอยู่เสมอ กล่าวคือ
๑. ต้องทำงานนั้นให้ดีกว่าเดิม จะต้องพิจารณาดูว่างานที่เราเคยทำนั้น มีส่วนใด เนื้อหาตรงไหน ขั้นตอนใดที่ไม่ดีบ้าง จะต้องค้นหา งานแต่ละงานเมื่อทำไปทุกวัน เราก็จะมองออกตั้งแต่ต้นทาง จนถึงขั้นตอนสุดท้ายว่าควรจะแก้ไข และพัฒนาตรงจุดใด
๒. ต้องทำให้สำเร็จเร็วกว่าเดิม จะต้องตรวจสอบกระบวนงานว่าขั้นตอนใด ทำให้งานสะดุด ล่าช้า มีขั้นตอนมากเกินไปหรือไม่ มีขั้นตอนใดบ้างที่ไม่จำเป็น ก็ควรจะลดขั้นตอนลง ซึ่งกระบวนงานแต่ละงานจะมีขั้นตอนกำหนดไว้อยู่แล้ว ผู้ปฎิบัติก็ควรจะมาตรวจสอบและพัฒนากระบวนงานให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
๓. ต้องทำให้มากกว่าเดิม กล่าวคือควรจะสำรวจตรวจด้วยว่าแม้จะเป็นงานเดิม ๆ ในแต่ละวันทำให้สำเร็จจำนวนกี่เรื่องต่อวัน ก็ควรจะพัฒนาให้มีการทำงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งปฎิบัติงานนานย่อมเกิดทักษะ และมีความชำนาญมากขึ้น ผลงานก็ควรจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
๔. ต้องมีคุณภาพมากกว่าเดิม กล่าวคือ แม้จะเป็นงานประจำ ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะต้องมีการพัฒนาและหาวิธีการว่า จะทำอย่างไรจึงจะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด และความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนใด และควรนำทีมงานมาแลกเปลี่ยน เรียน รู้ และหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน
...คนและงานจะได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา หากผู้ปฎิบัติงานลองนำหลัก ๔ กว่านี้ไปพิจารณาและปรับใช้ในการปฎิบัติงาน ก็จะมีส่วนทำให้การทำงานไม่เกิดความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น และเกิดอาการเซ็ง...