ประวัติศาสตร์ไทยมีความเป็นมาที่ยาวนานและหลากหลายมีชุมชน โบราณในสมัยต่างๆมากมาย จากการ ขุดค้นทางโบราณคดี จะพบ เครื่องปั้นดินเผา แบบต่างๆอยู่เสมอการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา เป็นหน ทางหนึ่งที่ช่วย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้เป็นอย่างดี ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้เป็นแหล่งความเจริญทาง ด้านวัฒนธรรมยุคต่างๆและมีการพัฒนาการของสังคมมากว่าหมื่นปี มีการค้นพบเมล็ดข้าวติดอยู่กับหม้อดินเผาอายุประมาณ 8,000 ปี และ ที่สำคัญคือวัฒนธรรมบ้านเชียงเมื่อประมาณ4,000ปีมาแล้ว( ปัจจุบัน- อยู่ในพื้นที่อ.หนองหาร จ.อุดรธานี ) มีความเจริญอยู่ในเขตภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือติดต่อกันมากว่า 2,000 ปี จัดอยู่ในยุคสำริดที่มีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้สำริดและเครื่องปั้นดินเผาในอุณหภูมิต่ำที่สวยงาม นอกจากนี้ยังพบที่บ้านเก่าจ.กาญจนบุรี จากนั้นก็มีอารยธรรมที่รุ่งเรือง ขึ้นมาในยุคหลัง ปรากฏเป็นอาณาจักรทวารวดี ของชาวมอญในลุ่มแม่ น้ำเจ้าพระยาและมีการพัฒนาการทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ถัดจากอาณาจักรทวารวดี เป็นอาณาจักรลพบุรี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสมัย ขอมเรืองอำนาจ ในทางเหนือแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนเป็นชุมชนของ พวกลัวะ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองทางภาคเหนือ จนกระทั่งประมาณต้นคริสตศตวรรษที่ 13 ชุมชนชาวไทยได้ ตั้งตนเป็นอิสระและตั้งอาณาจักรไทยขึ้นมา ซึ่งมีอยู่ 3 อาณาจักรที่ สำคัญและตั้งขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันคืออาณาจักรสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาหลังจาการตั้งชุมชนชาติไทยอย่างมั่นคงแล้วในระยะต่อมา ก็เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรไทยกับชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อ ค้าขายหรือเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เช่น ชาวจีน แขกมัวร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น ชุมชนเหล่านี้มีส่วนมากในการพัฒนาของ สังคมไทย
ในการทำเครื่องปั้นดินเผานั้นเป็นที่ทราบกันว่าจีนเป็นต้นกำเนิด ของการทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบและเผาในอุณหภูมิสูง เป็น เแหล่งความรู้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบให้แก่ชาติต่างๆใน เอเชียแต่ชาวจีนก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง กับการผลิตเครื่องปั้นดิน เผาไทย เพราะจากหลักฐานที่ค้นพบจะเห็นว่าเรามีวิวัฒนาการของการ เผาเคลือบ ค่อนข้างช้า แและมีข้อบกพร่องในการลอกเลียนแบบเครื่อง ปั้นดินเผาจีน ซึ่งถ้าเป็นช่างชาวจีนก็คงจะไม่บกพร่อง การทำเครื่อง หมาย ของผู้ผลิตก็ใช้ภาษาไทย แทนที่จะใช้อักษรจีน สิ่งเหล่านี้เป็น หลักฐาน ที่แสดงให้ เห็นว่า การทำเครื่องปั้นดินเผาในประเทศเป็น การกระทำ ของชาวไทยซึ่งมีการลอกเลียนแบบและลวดลายของจีนบ้าง สำหรับชาว จีนที่อพยพ เข้ามานั้นอาจทำเครื่องปั้นดินเผาบ้างเป็นครั้งคราว