Advertisement
"โบท็อกซ์" อันตรายจริงหรือ? |
ตอนนี้มีคำถามกันเข้ามาถามหมอมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะนักข่าวไม่ว่าวิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างก็วิ่งกันมาสัมภาษณ์ เขาบอกว่าเรื่องนี้ต้องไปถามหมอนันทภัทร์ สุภาพรรณชาติ
เพราะหมอได้รับฉายาว่า "ควีนออฟโบท็อกซ์" มานานมาก หมอก็ยิ้มแก้มปริเป็นธรรมดานะ อันที่จริงแล้วหลังจากที่เหตุการณ์ข่าวใหญ่ขึ้นหน้า 1 เมื่อไม่กี่วันมานี้... หมอขอเริ่มต้นแบบนี้ก็แล้วกันนะคะว่า การฉีดโบท็อกซ์หรือสารโบทูลินั่ม ท็อกซินนั้น โบท็อกซ์ เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ซึ่งสกัดได้จากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินั่ม ชนิดเอ (Clostridium Botulinum Type A) มีการนำมาใช้เสริมสร้างความงามและความอ่อนเยาว์ให้แก่ผิวพรรณ จัดเป็นสารที่นำมาใช้ในวงการความงามโดยไม่ต้องพึ่งพาศัลยกรรม
ไอ้เจ้าสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เป็นสารพิษจากแบคทีเรียที่มักจะพบในอาหารกระป๋องที่บุบ มีผลทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว ขึ้นกับปริมาณที่ได้รับ ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้หยุดหายใจได้ แต่สารที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารที่สกัดออกมาให้มีความบริสุทธิ์และมีปริมาณน้อยมาก เพื่อที่จะสามารถจำกัดการออกฤทธิ์ของสารโบท็อกซ์ให้อยู่ในกล้ามเนื้อมัดเล็กที่เราต้องการฉีดได้ โดยเฉพาะตัวยาที่ผลิตจากอเมริกาจะได้รับการรับรองเรื่องความปลอดภัยสูง
โบท็อกซ์มีการใช้มานานมาก เริ่มต้นโดยการนำมารักษากล้ามเนื้อคอกระตุก กล้ามเนื้อตากระตุก รวมถึงอาการปวดไมเกรน ตาเหล่ ก็รักษาด้วยโบท็อกซ์นี้ ต่อมาปี 2002 FDA ของอเมริการับรองการใช้โบท็อกซ์ เพื่อการลดริ้วรอยหน้าผาก และรอยตีนกา จึงเป็นจุดเริ่มต้นการนำโบท็อกซ์มาใช้ในเรื่องของผิวพรรณและความสวยงาม
ยาโบท็อกซ์ตัวแรกที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ในการฉีดคือ ตัวที่ผลิตจากอเมริกา ต่อมาก็มีการผลิตจากประเทศต่างๆ มากมาย เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลี เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้องค์การอาหารและยาในหลายๆ ประเทศยังไม่มีการรับรองการใช้อย่างชัดเจน ในผลข้างเคียงและอันตราย รวมทั้งความบริสุทธิ์ของตัวยา ยังบอกไม่ได้แน่ชัดนัก
การฉีดโบท็อกซ์ ตัวยาจะเข้าไปคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณที่ฉีด คือเมื่อฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ หรือทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ เป็นอัมพาตชั่วคราว จึงมีการนำสารโบท็อกซ์ มาใช้ในการช่วยดูแลผิวพรรณ เริ่มตั้งแต่ลดริ้วรอยบนใบหน้า ตีนกา ริ้วรอยรอบปาก รอยย่นสันจมูก ฉีดช่วยยกกระชับใบหน้า ลำคอให้ตึงระหง ฉีดลดเส้นตึงรั้งที่ลำคอ ฉีดยกคิ้ว ทำให้ดวงตาดูโตขึ้น ฉีดยกมุมปาก ฉีดลดกราม หน้าเรียว ฉีดลดน่อง ขาเรียว แถมยังฉีดลดเหงื่อได้อีกด้วย
เห็นไหมคะบางคนที่มีเหงื่อออกใต้วงแขน เปียก มีกลิ่น อันนี้ได้ผลดีมาก นอกจากนี้แล้วยังช่วยคนไข้ให้ลดอาการปวดศีรษะ จากไมเกรนได้เป็นอย่างดี มีคนไข้ของหมอคนหนึ่งประสบปัญหาปวดศีรษะ ไมเกรนเรื้อรังมานานมาก ต้องกินยาวันหนึ่งหลายเม็ด พยายามหลายๆ วิธี ไม่ว่า ฝังเข็ม นั่งสมาธิ อดอาหารทุกชนิดที่คิดว่าเป็นสาเหตุทำให้ปวดไมเกรน แต่แล้วก็ยังต้องทนทรมานการปวดเหมือนเดิม พอคนไข้คนนี้ได้เข้าสัมมนาและทราบว่าโบท็อกซ์ช่วยได้ ก็เลยมาถามหมอแล้วก็ตัดสินใจฉีดเลย
เชื่อไหมหลังจากนั้นคนไข้ก็เข้ามาเล่าว่า คุณหมอขา ขอบพระคุณคุณหมอมากเลย ตอนนี้กินยาห่างกว่าเดิมมาก การปวดลดลง แถมจะลืมกิยยาไปเลย คนไข้มีความสุขมาก แถมรอยตีนกาก็หายเป็นผลพลอยได้ไปด้วย นี่เป็นประสบการณ์ของคนไข้คนหนึ่ง ตอนนี้คนไข้คนนี้ก็มาเป็นประจำ หมอก็มีความสุขมากนะคะที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือความทุกทรมานของคนไข้ ทำให้เขาดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
โบท็อกซ์เนี่ยนะคะ จะออกฤทธิ์ภายใน 2-3 วันหลังจากฉีด และเห็นผลสูงสุดภายใน 1 เดือน และออกฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะคะ คนไข้ที่ไม่เคยฉีดก็จะมีคำถาม ว่าหมอเจ็บไหมคะ โอ้ยไม่เลยค่ะ แป๊บเดียวไม่ถึง 10 นาที หลังฉีดก็อย่าไปขยี้ และต้องหยุดทำทรีตเมนต์บนหน้าเราสักอาทิตย์ สองอาทิตย์นะคะ เราจะเห็นได้ว่าโบท็อกซ์ สามารถใช้ดูแลเรื่องผิวพรรณและความงามได้อย่างหลากหลาย และได้ผลดีเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกมานานหลายปี
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ตาตก หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุนะคะ การฉีดโบท็อกซ์เป็นการเล่นกับกล้ามเนื้อนะคะ แพทย์ผู้ฉีดต้องมีความเข้าใจโครงสร้างของการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กเหล่านั้นอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้หลังการฉีด ไม่แข็งตึง และงดงาม
แหมจริงๆ นะคะ จากการที่ได้มีข่าวเรื่องการฉีดโบท็อกซ์แล้วมีผลข้างเคียงในการใช้ยาดังกล่าวนั้น ถ้าถามหมอ หมอก็บอกได้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ ไอ้เจ้าอาการตาตก อาจเกิดจากปริมาณยาที่เข้าไปอาจไปอยู่ผิดกล้ามเนื้อที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ เช่นไปอยู่ในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกหนังตา ก็ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นทำงานไม่ได้ หรืออาจเกิดจากการที่ไปขยี้บริเวณที่ฉีดหลังทำการฉีดยา แล้วทำให้ตัวยาซึมผ่านไปสู่กล้ามเนื้อมัดที่เราไม่ต้องการก็เป็นได้ หรือการออกฤทธิ์ของตัวยาผิดตำแหน่ง จากการกระจายของตัวยาออกไปผิดกล้ามเนื้อ หรืออันนี้สำคัญมากคือ การที่ตัวยาไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้การกระจายตัวของยาไปมัดอื่นๆ ได้โดยที่ควบคุมยาก
ถ้าถามหมอว่า เมื่อการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เช่นนี้จะทำอย่างไร วิธีแก้ก็มีอยู่บ้างนะคะ โดยการใช้ยาหยอดตา เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในการควบคุมหนังตาอีกมัดกระชับขึ้น จะช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อตาดีขึ้น หนังตาก็จะเปิดขึ้นมาได้ดีขึ้น หรือการใช้เครื่องมือในการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้กระชับขึ้น และช่วยให้ตัวยาสลายไปได้เร็วขึ้น ผลข้างเคียงเหล่านี้จะดีขึ้น และแน่นอนเมื่อยาหมดฤทธิ์ อาการเหล่านี้จะหายไป
หมอขอย้ำนะคะว่า การรักษาเรื่องใดๆ ก็ตาม ผลข้างเคียงก็อาจเกิดขึ้นได้ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการรับการรักษา อีกทั้งควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบครอบคลุมในทุกปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะทุกอย่างย่อมมีผลดีและผลเสียควบคู่กันเสมอ เพียงแต่เราควรควบคุมผลเสียให้เกิดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าเข้าใจและมั่นใจแล้วรับรองว่าคุณจะสวยได้โดยไม่เสียใจแน่นอนค่ะ
เคล็ดลับในการป้องกันผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นนะคะ ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เลือกสถาบันที่เชื่อถือได้จริง โปรดระวังเรื่องการใช้ยาที่ไม่ได้คุณภาพ
หมอขำมากหลังจากมีข่าวเกิดขึ้น ก็มีคนไข้ประจำมาหาแล้วบอกว่าพออ่านข่าวแล้วก็นึกขึ้นได้ว่าถึงเวลาที่ต้องมาฉีดกับคุณหมอแล้ว เสร็จแล้วก่อนฉีดแกก็เอามือจับที่หน้าอกบอกว่า หมอคะ หนูมั่นใจกับคุณหมอค่ะ เฮ้อ...หมอก็มีความสุขที่ทำให้คนไข้มีความสุขและมั่นใจนะคะ
แพทย์หญิง นันทภัทร์ สุภาพรรณชาติ
ข้อมูลจาก :
|
วันที่ 22 พ.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 8,076 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,213 ครั้ง เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,255 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,960 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,751 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,231 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 52,446 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,818 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,965 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,386 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,724 ครั้ง |
|
|