Advertisement
เพราะว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราไม่หมือนใคร และไม่มีใครเหมือนเรา ดังนั้นวิธีการเรียนรู้ก็เป็นเรื่องที่เฉพาะตัวเช่นกันค่ะ
ในวงการการศึกษา ตอนนี้เขาตื่นตัวกันมากเกี่ยวกับเรื่อง Learning styles มากกว่าเรื่องของ I.Q. อีกนะคะ เพราะว่าเป็นการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์เรา ว่าเรามีกระบวนการรับข้อมูลใหม่ๆ และมีกลยุทธ์ในการเรียนอย่างไรบ้าง เนื่องจากสไตล์การเรียนรู้ของคนเรา ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งที่เรียนค่ะ มีนักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น เขาเชื่อว่า หากผู้เรียน รู้สไตล์การเรียนของตนเอง และเข้าใจวิธีการรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับตนเองก็จะทำให้เราเรียนหนังสือได้ดีขึ้น คือ จดจำสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้นนั่นเอง และถ้าผู้สอนรู้สไตล์การเรียนของผู้เรียน และนำมาปรับใช้ในการสอน ก็จะสามารถป้อนข้อมูลให้กับผู้เรียนได้ตรงจุด และผู้เรียนก็จะเกิดการรับรู้ได้ดี
ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีค่ะ อยู่ที่ว่าใครเป็นผู้คิดค้น แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะคล้ายๆ กัน แตกต่างกันบ้างในรายละเอียดและการจัดหมวดหมู่ ที่ดังๆ ก็คือ Kolb’s Learning Style Inventory (LSI) , The Myers-Briggs Type Indicator, Felder-Silverman Learning Style Model และก็อีกหลายทฤษฎีการเรียนรู้
วันนี้ขอเอาทฤษฎีของ Felder-Silverman Learning Style Model (Index of Learning Styles –ILS) มาเล่าให้ฟังละกันนะคะ ว่าเขาแบ่งการเรียนรู้ของคนเราเป็นยังไง ลองอ่านแล้วนึกภาพตามนะคะ แล้วลองคิดเล่นๆ ว่าเรามีสไตล์การเรียนรู้เป็นแบบไหน
ทฤษฎีนี้แบ่งสไตล์การเรียนรู้ออกเป็น 8 ประเภทหลักค่ะ
1. Active – Reflexive
Active คือลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการได้ทำกิจกรรมกับสิ่งที่เรียนรู้ คือ learn by doing นั่นเอง ชอบการทำงานกลุ่ม เช่น group discussions, ชอบอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นฟัง และชอบแก้ปัญหาค่ะ
Reflexive คือ ผู้เรียนที่ชอบใช้เวลาคิดกับตัวเอง เวลาได้รับรู้ข้อมูลอะไรใหม่ๆ จะนำมาคิดประมวลผลกับตัวเองก่อน คือ พอตัวเองทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนมาได้แล้วถึงจะเข้ากลุ่มสนทนากับผู้อื่น หรือลงมือทำ ผู้เรียนลักษณะนี้ชอบแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้จากการวิเคราะห์ ชอบทำงานเดี่ยว (จากที่ทำงานวิจัยมา พบว่า ผู้ที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบนี้ เรียนหนังสือเก่งมากค่ะ)
2. Sensory - Intuitive
Sensory คือผู้เรียนที่ชอบหัวข้อเรียนที่เป็นข้อเท็จจริง นำมาทดลอง ปฏิบัติได้จริง และข้อมูลที่เรียนนั้นสามารถนำมาเชื่อมโยงได้กับเรื่องอื่นๆ หรือวิชาอื่นๆ ได้ ผู้เรียนประเภทนี้ชอบแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี ไม่ชอบอะไรที่สลับซับซ้อน และไม่ชอบการถูกเซอร์ไพรส์
Intuitive คือ ผู้เรียนที่ชอบหัวข้อเรียนที่เป็นแนวความคิด นวัตกรรมใหม่ๆ และข้อมูลทฤษฎีต่างๆ เป็นคนที่ทำอะไรได้รวดเร็ว และไม่ชอบการทำอะไรซ้ำๆ ที่เป็นลักษณะ routine ไม่ชอบการคำนวน และก็ไม่ชอบการท่องจำ
3. Visual – Verbal
Visual คือ ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากรูปภาพ (คือ เห็นภาพแล้วจำได้ดีกว่า อ่านตำราที่เป็นเอกสาร) เขาจะเข้าใจสื่อการเรียนประเภท รูปภาพ, กราฟ, ไดอะแกรมได้ดี เรียกว่า ถ้าได้เห็นแล้วล่ะก็ เข้าใจและจำได้ดีเลยล่ะค่ะ (จากที่อ่านมา พบว่าคนที่เรียนวิศวกรรมส่วนใหญ่ จะมีทักษะ หรือพฤติกรรมการเรียนด้วยภาพสูงมากค่ะ สูงถึง 80-90% เลยทีเดียว)
Verbal คือ ลักษณะผู้เรียนที่ชอบฟังอาจารย์พูดเลคเชอร์ให้ฟังในห้องเรียน หรือชอบอ่านตำราเอง เพราะเขาจะเข้าใจได้ดีจากคำอธิบายที่เป็นคำพูด ลักษณะแบบนี้ ก็ประเภท เวลาไปคุยอะไรกับใครมา ใครพูดอะไร จะจำคำพูดเขาได้น่ะค่ะ ประเภท นึกข้อมูลออกมาเป็นเสียงกันเลยทีเดียว
4. Sequential – Global
Sequential คือผู้เรียนที่ชอบลักษณะการเรียนแบบเป็นขั้นเป็นตอน เป็นหัวข้อๆ ไล่ลงมา พอเขาได้ข้อมูลมาหมด เขาก็จะมองเห็นภาพใหญ่ได้เลยว่าเรื่องที่เรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่ผู้เรียนประเภทนี้จะมีปัญหาในการเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้มา กับเรื่องอื่นๆ ที่เป็นคนละหัวข้อ
Global คือผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีด้วยการเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่เรียนก่อน พอเข้าใจแล้วก็จะโยงประเด็นย่อยๆ ออกมาได้จากเรื่องนั้นๆ ลักษณะผู้เรียนประเภทนี้มีความสามารถในการปะติปะต่อข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน
พอนึกภาพออกหรือยังคะ ทีนี้ถ้าเราเข้าใจตัวเอง ว่าเรามีพฤติกรรมการเรียนแบบไหน แล้วนำมาปรับใช้ได้ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องที่เรียน และจำข้อมูลที่ได้เรียนมาได้ค่อนข้างแม่นทีเดียว
การที่เราจะรู้ได้ว่า เราเป็นคนมีสไตล์การเรียนแบบไหน ก็ต้องทำ questionnaire ค่ะ ถึงจะประมวลออกมาได้ชัดเจน ไม่มีใครหรอกค่ะ ที่จะมีสไตล์การเรียนเป็นแบบเดียว ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นแบบผสมๆ กันไป แต่อาจจะมีลักษณะแบบใดแบบหนึ่งที่เป็นลักษณะเด่น
ไว้คราวหน้าจะเอา questionnaire มาให้ลองทำกันสนุกๆ ค่ะ พร้อมกับข้อชี้แนะสำหรับผู้มี learning styles ในแต่ละรูปแบบว่าจะพัฒนาการเรียนของเราได้อย่างไรบ้าง
วันที่ 18 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,210 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,189 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,233 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,186 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,107 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,729 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,236 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,728 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,801 ครั้ง |
|
|