Advertisement
|
สังคมต้องการให้ผู้เรียน เป็นคนเก่ง-เป็นคนดี-เป็นคนมีความสุข มี
ผลการเรียนรู้ได้มาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นคนไทย ผู้เรียนควร คิดกว้าง มองไกล ใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีคุณธรรม
ในบทความเรื่อง "หลักการพื้นฐานในการบริหารงานบุคคลของ
เครือซิเมนต์ไทย" จากวารสารคชสัมพันธ์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 4/2542 ได้สรุปคุณสมบัติของคนเก่งและคนดีไว้ดังนี้
|
คนเก่ง |
1. เก่งงาน
2. เก่งคน
3. เก่งคิด
4. เก่งเรียน
|
จะเห็นว่าคนเก่งนั้น ต้องเก่งทั้งเรื่องการทำงาน เก่งทั้งเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น การใช้จิตวิทยา และการรู้เท่าทันคน เก่งในการคิดวิเคราะห์ (เช่นไม่เชื่ออาจารย์ใบ้หวย ไม่งมงายเรื่องไสยศาสตร์ เลือกผู้แทนด้วยเหตุผลที่ดี) และเก่งเรียน เรื่องเก่งเรียนนี้ คนใน กศน.บางส่วนไม่ให้
ความสำคัญ ที่จริงวิชาหนังสือทุกวิชาช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความฉลาด
ผู้ที่มีสติปัญญาดีจะสามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงได้ดี มีการวิจัย
พบว่าเพียงการคิดเลขในใจก็ช่วยพัฒนาสมองทั้งสองซีก มีประโยชน์
มากกว่าการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ จริงอยู่คนฉลาด อาจใช้ความฉลาด
ไปในทางลบ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความฉลาดไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีแต่ความฉลาด
เป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่น ๆ เราควรปลูกฝังและพัฒนานักศึกษา
ทั้งด้านวิชาความรู้และคุณธรรม |
คนดี |
1. เป็นคนมีน้ำใจ
2. ใฝ่หาความรู้
3. มีความวิริยะอุตสาหะ
4. มีความเป็นธรรม
5. เห็นแก่ส่วนรวม
6. รู้หน้าที่ในงาน ในครอบครัว และสังคม
7. มีทัศนคติที่ดี
8. มีวินัยและมีสัมมาคารวะ
9. มีเหตุผล
10. รักษาชื่อเสียงทั้งของตัวเองและของสถานที่ทำงาน
|
สำหรับนักศึกษา กศน. ถ้าเราปลูกฝังให้มีนิสัย "ใฝ่หาความรู้" ได้ และพัฒนาให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านการอ่านคล่องเขียนคล่อง ก็พอจะวางใจให้ไปเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ เราเพียงแต่คอยประเมินผลการพัฒนา แต่ถ้ายังไม่มีนิสัยใฝ่รู้ และ/หรือ อ่านเขียนไม่คล่อง (โลกปัจจุบันคงต้องอ่านเขียนคล่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงจะสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง) ก็คงหวังไม่ได้ว่านักศึกษาจะศึกษาเรียนรู้เพื่อการพัฒนาด้วยตนเอง (ถ้าจะว่าไป ทุกวิชา ก็เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญ ทั้งสิ้น ไม่เฉพาะแต่วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ) |
ในส่วนของการปลูกฝังความดี ผลลัพธ์ของความเป็นคนดีของนักศึกษา เราอาจใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนาเป็นตัวตั้งในการตัดสิน แต่
หลายครั้งจะพบการตรวจสอบพิจารณาที่ง่ายขึ้นถ้าใช้พฤติกรรมความดีที่
เป็นรูปธรรมในชิวิตจริงที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในศูนย์การเรียนเป็นตัวตั้ง โดยไม่ต้องระบุชื่อจริยธรรม เช่น ใช้การระบุพฤติกรรมที่พึงปรารถนาต่อไปนี้ เป็นเป้าหมายในศูนย์การเรียน
|
- ตั้งใจใฝ่รู้ ขยันทำชิ้นงาน
- ช่วยเหลือครอบครัว ช่วยรักษาความสะอาดที่ศูนย์การเรียน
- ทำตามกฏิกาข้อตกลง กฎ ระเบียบ
|
ในการปลูกฝังให้นักศึกษาเป็นคนดี ต้องให้ความสำคัญในการ
ระมัดระวังในแง่ "แม่ปูสอนลูกปู" ซึ่งยังคงมีความหมาย เช่น คนไทย
จำนวนไม่น้อยขาดวินัยในตนเอง แต่ผู้บริหารและครูก็ไม่ค่อยมีวินัย แล้วจะ
ไปพัฒนานักศึกษาอย่างไร ผู้บริหารและครูจะต้องทำตนเป็นแบบอย่างของ
การเป็นคนดี "ทำให้ดู-อยู่ให้เห็น" การได้รับศรัทธาจากนักศึกษาที่ชื่นชม
ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การมีวินัยแห่งตน ความขยันอุทิศตนให้กับ
การเรียนรู้ของนักศึกษา การไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข ก็จะเป็นต้นแบบที่ดี |
กลับหน้าหัวข้อ สรรสาระ |
วันที่ 18 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,264 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 29,091 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,606 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,755 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,788 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,361 ครั้ง |
|
|