มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับตำแหน่งหรือให้ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ
มากมายหลายกระแส หลายทัศนะ และแอบอมยิ้มกับคำวิจารณ์ต่อข้อตอมเมนท์ของกรรมการ แต่ที่น่าสงสัยและกังขาเป็น
อย่างยิ่งว่า การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่2 มีความจำเป็นหรือไม่?
บางแห่งต้องจัดทำแฟ้มอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อความสมบูรณ์ แต่บางแห่งก็ทำแบบเพียงแต่ว่ามีให้กรรมการมาดูส่วนจะสมบูรณ์
หรือไม่ ไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญไม่เคยรู้ข่าวว่า ไม่มีใครที่ไม่ผ่านการประเมินด้านที่1ด้านที่2 เลย
ที่มาของกรรมการประเมินด้านที่1 ด้านที่2 มาจากที่ใด ใครเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง หรือผู้ถูกประเมินเป็นผู้เสนอชื่อไปยังเขตพื้นที่
การศึกษา?
มีหรือไม่ว่า....ผลงานด้านที่3(สมัยเชิงประจักษ์)ชิ้นหนึ่งเป็นของครูทางภาคใต้ที่เสนอเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ดำรงตำแหน่ง คศ.3 ไม่ผ่านการประเมินแต่ครูอีกท่านหนึ่ง Copy แล้วเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวบางอย่างแล้วยื่นที่เขตพื้นที่ทางจังหวัดภาคอีสานแล้วผ่านการประเมิน
มีหรือไม่ว่า....ข้อคอมเมนท์ของกรรมการ(บางคน)บอกว่าผลงานทางวิชาการขาดความละเอียดรอบรอบ เช่นหน้า 95 ทั้งๆที่ผลงานทางวิชาการนั้น มีแค่ 83 หน้า
................................และอีกมากมายที่ได้รับฟังมาจากเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ต้องการมีความก้าวหน้าในอาชีพ
อยากมองเห็นมาตรฐาน ความเที่ยงแท้ กรรมการจำเป็นต้องมาจากบุคคลที่ทรงคุณวุฒินอกสังกัดด้วยหรือไม่?
หรือว่าคนใน สพฐ.ขาด "ทรงคุณวุฒิ" เพราะเคยได้ยินผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาลัยวิจารณ์ผู้ที่เข้าเยียวยา(หลังจากไม่ผ่านด้านที่3)ว่า "ศพเขาฝังแล้วยังขุดขึ้นมาปลุกให้คืนชีพอีก" มโนธรรมของ"ผู้ทรงคุณวุฒิ"อยู่ที่ใด?
สร้างขวัญและกำลังใจด้วยคุณภาพกรรมการ มาสู่คุณภาพของผู้จะได้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วยคุณธรรม ความเที่ยงแท้ของ
กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเทอญ