ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล(ครูมืออาชีพ)


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,403 ครั้ง
การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล(ครูมืออาชีพ)

Advertisement

การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

กล้อง Digital มีลักษณะ หน้าตาเหมือนกับกล้องถ่ายรูปทั่ว ๆ ไป ที่สิ่งหนึ่งที่ดีคือ ไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์ม รูปแบบการเก็บภาพนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น เก็บใน Disk 3.5", Zip Disk หรือ การ์ดหน่วยความจำ (ราคาค่อนข้างแพง) สำหรับการเลือกซื้อก็คงต้องดูลักษณะงานที่จะนำไปใช้สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าศึกษามีดังนี้

  1. ความละเอียดของภาพที่ได้
            หน่วยที่เราเรียกคือ ฟิกเซล (Pixel) ซึ่งคือความละเอียดสูงสุดของภาพที่สามารถถ่ายได้ จำนวนฟิกเซลนี้จะอยู่บนเซนเซอร์หรือที่เรียกว่า Charge-Couple Device(CCD)ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของภาพถ่ายความละเอียดที่ได้ของภาพถ่ายอาจไม่เท่ากับความละเอียดของ CCD ดังนั้นควรตวจสอบค่าทั้งสองให้ดีเสียก่อน
  2. การบีบอัดข้อมูล
            หลักง่าย ๆ ในการตรวจสอบคือ ยิ่งมีการบีดอัดข้อมูลมากเท่าใด คุณภาพของภาพก็จะด้อยลงไปมากเท่านั้น
  3. หน่วยความจำ
            หลายรุ่นจะเก็บใน การ์ดหน่วยความจำที่เรียกว่า SmartMedia หรือ CompactFlash ซึ่งการ์ด แต่ละรุ่นก็สามารถเก็บความจุได้ต่างกัน บางรุ่นเก็บใน Disk 3.5" แล้วแต่ความชอบ ความสะดวกที่ต้องการ เนื่องจากราคาจะแตกต่างกันมาก
  4. ระบบการซูมภาพและเลนส์
            การซูมภาพมี 2 ประเภท คือ ซูมด้วยเลนส์ (เหมือนกล้องทั่วไป) และแบบระบบดิจิตอล (ใช้วิธีคำนวณแล้วเก็บข้อมูลไว้)ระบบซูมด้วยเลนส์จะดีกว่า แต่ราคาก็จะแพงกว่าด้วย ส่วนเรื่องของเลนส์ควรเป็นเลนส์ที่ทำจากแก้ว ไม่ใช่พลาสติก
  5. จอ LCD
            บางรุ่นก็มีจอ LCD ช่วยให้สะดวกเวลาถ่าย แถมมักจะสามารถดูข้อมูลภายใน ทันทีได้ด้วย หลังจากถ่ายเสร็จแล้ว
  6. เทคโนโลยีใหม่ Pictbridge
            เป็นเทคโลยีที่ช่วยให้สามารถพิมพ์พิมพ์ภาพจากล้องดิจิตอล ไปยังเครื่องพิมพ์ได้โดยตรง โดยการความสามารถในการปรับแต่งค่าสี ความสว่างของภาพอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ความเร็ว (Burst mode) และ ความสามารถพิเศษ กล้องที่ดีควรสามารถถ่ายภาพได้ในความเร็ว 2 ภาพต่อวินาทีเป็นอย่างต่ำ, สำหรับ เรื่องความสามารถพิเศษ ได้แก่ทำภาพขาวดำ ซีเปีย บันทึกเสียงได้ รวมทั้งบันทึก ภาพวีดีโอได้ด้วย (แค่เป็นวีดีโอคลิปสั้นๆ)
  7. แบตเตอรรี่
            บางรุ่นสามารถใช้ถ่าย AA ได้แต่อย่าลืม กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะค่อนข้าง กินไฟมาก และโดยเฉพาะกล้องที่มีจอ LCD ดังนั้น ควรระวังเรื่องการใช้งาน
  8. อุปกรณ์เสริม
            อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่, สายเคเบิลในการโอนย้ายข้อมูลจากกล้องผ่านทาง พอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์, รีโมทคอนโทรล

เทคนิคการถ่ายภาพ/การถ่ายภาพย้อนแสง

จาก Wikibooks

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

การถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouette) จะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ควรถ่ายในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แสงแดดเริ่มอ่อน อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า เฉียง 45 องศา กับดวงอาทิตย์ และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา

เทคนิคการถ่ายภาพ/การถ่ายภาพเน้นระยะชัด

จาก Wikibooks

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

การถ่ายภาพเพื่อเน้นระยะชัด (Depth of field) ผู้ถ่ายภาพควรต้องทำความเข้าใจในการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ ค่าของรูรับแสง จะมีตั้งแต่กว้างสุด คือ 1.2, 4, 5.6, 8, 11, 16 และ 22 ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง ระยะชัด ของภาพจะสั้นลง หรือที่เรียกว่า ชัดตื้น ค่าของตัวเลขยิ่งมาก รูรับแสงจะแคบลง ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพ เกิด ระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

เทคนิคการถ่ายภาพ/การถ่ายภาพระยะใกล้

จาก Wikibooks

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

การถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up) เน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย จำหน่ายเป็นชุด ๆ ละ 3 อัน สามารถต่อกันได้ แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะ ภาพจะชัดเฉพาะ ตรงกลางภาพ ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส์ ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่งลดความคมชัดของภาพลง ถ้าต้องการคุณภาพดี ควรใช้เลนส์มาโคร หรือเลนส์ถ่ายใกล้ จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง จะช่วยได้มาก

"

เทคนิคการถ่ายภาพ/การถ่ายภาพไฟกลางคืน

จาก Wikibooks

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

การถ่ายภาพไฟกลางคืน (Night Picture) ที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา

[แก้ไข] อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. กล้องถ่ายภาพพร้อมฟิล์ม
  2. ขาตั้งกล้องพร้อมสายลั่นชัตเตอร์
  3. อื่น ๆ เช่น ไฟฉาย ผ้าดำ

[แก้ไข] วิธีการถ่ายภาพ

  1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
  2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
  3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)
  4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้

การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้

เทคนิคการถ่ายภาพ/การจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพ

จาก Wikibooks

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

เทคนิคในการจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพจะมี 3 ทิศทาง คือ แสงด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

แสงด้านหลัง 
โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่นิยม ถ่ายภาพย้อนแสง เพราะกลัวแสงเข้ากล้อง หน้าดำ หรือหน้ามืด จริง ๆ แล้ว การถ่ายภาพย้อนแสง จัดว่าเป็นารถ่ายภาพที่สวยงามมีมิติมากที่สุด เพราะสามารถจะเห็นรูปร่าง ของแบบ โดยเฉพาะการถ่ายภาพของบุคคลจะมีความสำคัญมาก เพราะสามารถให้เห็น ลิมพ์ไลฟ์ของเส้นผม ซึ่งทำให้ภาพดูนิ่มนวล ส่วนการแก้ปัญหาความเข้มหรือความมืดที่ใชหน้า ด้วยการใช้รีแฟกซ์ สะท้อนแสง ลบเงา หรือตบแฟชศ์อ่อน ๆ
แสงด้านข้าง 
จัดว่าเป็นหัวใจรอง ในการสร้างภาพที่สวยงามการใช้แสงด้านข้าง ส่วนมากจะเป็นการเน้น จุดใดจุดหนึ่งหรือเพียงด้านเดียว การใช้แสงด้านข้าง ยังสามารถบอกมิติสัดส่วนของรูปร่างได้ แสงด้านข้างที่นิยมใช้ในการบันทึกภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพบุคคล ในการถ่ายแบบ หรือการถ่ายสถาปัตยกรรมก็ได้
แสงด้านหน้า 
สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพแบบมืออาชีพ หรือผู้ที่มีความเข้าใจในการสร้างภาพสวย จะไม่นิยมถ่ายบันทึกภาพกัน เพราะจะทำให้ภาพดูแบน ไร้มิติ สีสันในองค์ประกอบจะจืด เพราะโดนความจ้าของแสงด้านหน้า บดบังทำให้สีหรือใบหน้า ดูจืดชืดไม่สะดุดตา

ดังนั้น การจัดทิศทางแสงในการถ่ายภาพ จึงมีความสำคัญไม่น้อย และจะขาดเสียไม่ได้ แสงในการถ่ายภาพเราะจนิยมถ่ายในช่วงเวลา เช้า หรือแดดอ่อน ๆ ที่ดวงอาทิตย์ทำมุมประมาณ 30 - 40 องศา นั่นคือ พื้นฐานในการนำทิศทางแสงมาช่วยปรุงแต่ง เพิ่มเติมความสวยงามในภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญอีกขั้นหนึ่ง

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 4030 วันที่ 14 พ.ค. 2552


การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล(ครูมืออาชีพ)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การเบิกบุญ

การเบิกบุญ


เปิดอ่าน 7,276 ครั้ง
ล้างพิษด้วย

ล้างพิษด้วย '....ถั่วดำ


เปิดอ่าน 6,400 ครั้ง
ความสุข....แบบยั่งยืน

ความสุข....แบบยั่งยืน


เปิดอ่าน 6,412 ครั้ง
 ??????

??????


เปิดอ่าน 6,417 ครั้ง
ตาสวย...เราช่วยได้

ตาสวย...เราช่วยได้


เปิดอ่าน 6,412 ครั้ง
วิกฤติ.....กับโอกาส

วิกฤติ.....กับโอกาส


เปิดอ่าน 6,404 ครั้ง
คุณค่าประโยชน์ของกล้วย

คุณค่าประโยชน์ของกล้วย


เปิดอ่าน 6,398 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

จิตว่างไม่มีในพระไตรปิฏกจริงหรือ?

จิตว่างไม่มีในพระไตรปิฏกจริงหรือ?

เปิดอ่าน 6,412 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
 คนขี้อาย
คนขี้อาย
เปิดอ่าน 6,409 ☕ คลิกอ่านเลย

กำจัดกลิ่นกระเทียม...ติดปาก
กำจัดกลิ่นกระเทียม...ติดปาก
เปิดอ่าน 6,412 ☕ คลิกอ่านเลย

หลอดไฟสุดทน-สว่าง60ปี
หลอดไฟสุดทน-สว่าง60ปี
เปิดอ่าน 6,407 ☕ คลิกอ่านเลย

รักคนมีเจ้าของ
รักคนมีเจ้าของ
เปิดอ่าน 6,416 ☕ คลิกอ่านเลย

รับเหมางานไฟฟ้าทั่วไป  ติดต่อ 0847556030 ด่วน !!!
รับเหมางานไฟฟ้าทั่วไป ติดต่อ 0847556030 ด่วน !!!
เปิดอ่าน 6,400 ☕ คลิกอ่านเลย

UPdate ตัวเราเอง"การพัฒนาบุคคลิกภาพ"
UPdate ตัวเราเอง"การพัฒนาบุคคลิกภาพ"
เปิดอ่าน 6,398 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดีท็อกซ์ร่างกาย ล้างพิษสมอง ชำระขยะใจ รับ "สุขมหาศาล" ทั้งปี 2556
ดีท็อกซ์ร่างกาย ล้างพิษสมอง ชำระขยะใจ รับ "สุขมหาศาล" ทั้งปี 2556
เปิดอ่าน 13,861 ครั้ง

โทรภาพ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7
โทรภาพ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7
เปิดอ่าน 15,834 ครั้ง

"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556
"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556
เปิดอ่าน 26,903 ครั้ง

13-17 พ.ค.2554 ครม.ไฟเขียวให้เป็นวันหยุดยาว 5 วัน
13-17 พ.ค.2554 ครม.ไฟเขียวให้เป็นวันหยุดยาว 5 วัน
เปิดอ่าน 21,898 ครั้ง

สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
เปิดอ่าน 12,349 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ