เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
การจัดป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมาก
ทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง
กล่าวโดยสรุปว่าป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ตามความเหมาะสมรูปแบบของป้ายนิเทศอาจเป็นป้ายสำเร็จรูปที่มีเนื้อหาเขียนหรือพิมพ์ติดอยู่กับแผ่นป้ายโดยตรงสามารถนำไปจัดแสดงได้ทันที่ หรืออาจเป็นแผ่นป้ายว่าเปล่าเพื่อเป็นพื้นรองรับการติดตั้งเนื้อหาความรู้จากสื่อทัศนวัสดุอื่น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติโปสเตอร์ บางครั้งแผ่นป้ายว่างเปล่าอาจถูกนำไปใช้เป็นป้ายประกาศป้ายโฆษณา หรือป้ายประชาสัมพันธ์ก็ได้
1. คุณค่าของป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าหลายประการ เช่น เป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ
ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงามและมีความหมายต่อผู้ชม
2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
การจัดป้ายนิเทศที่ดีมีเทคนิคและหลักการดังนี้
2.1 หลักการจัดป้ายนิเทศ
-การกระตุ้นความสนใจ
-การมีส่วนร่วม
-การตรึงความสนใจ
-ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
-การเน้น
-การใช้สี
2.2 เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ การจัดป้ายนิเทศที่ดีมีคุณค่าในการสื่อความหมาย
ควรมีองค์ประกอบต่าง ๆ และเทคนิคดังต่อไปนี้
-ชื่อเรื่อง
-ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย
-การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
-การใช้สี แสง เงา และบริเวณว่าง
-การเคลื่อนไหว
-การใช้รูปภาพ
-การจัดองค์ประกอบ
-การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
-การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่น
-การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด
3. การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
การจัดป้ายนิเทศให้ประสบผลสำเร็จได้ดีต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังนี้
3.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์
3.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus)
3.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (axial)
3.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame)
3.5 การจัดภาพแบบตาราง การจัดภาพแบบตาราง (grid)
3.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ (band)
3.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path)
บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้
นิทรรศการมีคุณค่าและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดีบริเวณ
ว่างจะเข้าไปเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อองค์ประกอบอื่นทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอ
ใจในประโยชน์ใช้สอยและความงามจากการออกแบบและการกำหนดบริเวณว่าง
ที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
1. ลักษณะของบริเวณว่าง
บริเวณว่างมี2ลักษณะได้แก่บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space)
และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
2. การออกแบบบริเวณว่าง
บริเวณว่างเป็นพื้นที่ที่สามารถออกแบบให้เกิดประโยชน์ได้หลายวิธีดังนี้
2.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง
2.2 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง
2.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล(L)
2.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน
2.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู
3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชมโดยเฉพาะลูกค้าใดๆ ทุกชนิดระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่การกำหนดทางเดินชมนิทรรศการการจัดตั้งป้ายนิเทศเป็นงานขั้นลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริงซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนจากแบบบ้างเพื่อให้เหมาะกับสภาพพื้นที่จริงตำแหน่งและทิศทางการติดตั้งป้ายนิเทศควรสัมพันธ์กับทางเดินดังนั้นควรเลือกมุมที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและสะดวกในการเดินเข้าไปชมในระยะใกล้ได้ต้องหลีกเลี่ยงมุมอับลึกแหลมหรือมุมแคบด้วยการจัดเสียใหม่ให้เป็นมุมป้านออก จะทำให้ผู้ชมสามารถชมได้อย่างทั่วถึง
1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ
ขอบคุณที่มาข้อมูล