ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 30 เม.ย. 2561 เวลา 05:31 น. เปิดอ่าน : 17,034 ครั้ง

Advertisement

นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’

(ขอบคุณภาพจาก-Pixabay)

“รูหนอน” มีชื่อเรียกในทางวิชาการว่า “ไฮโปเททิคอล ทันเนล” ถูกนำเสนอเป็นเชิงทฤษฎีไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ยังไม่มีการค้นพบหรือยืนยันการมีอยู่จริงของมัน อย่างไรก็ตาม รูหนอนกลับเป็นวิธีการเดินทางที่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ใช้กันอยู่ทั่วไปเพื่ออธิบายการเดินทางในจินตนาการในอนาคตว่าไปได้เร็วกว่าแสงได้อย่างไร

ตามจินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์ “รูหนอน” ถือเป็น “ทางลัด” ในห้วงอวกาศ เป็นอุโมงค์ที่ช่วยให้ยานอวกาศผ่านสู่ไฮเปอร์สเปซได้ โดยการกระโจนเข้าไปจากด้านหนึ่งแล้วก็จะทะลุผ่านออกไปยังอีกด้านหนึ่งของจักรวาล แนวความคิดเรื่องนี้มีที่มาจากสมการในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์

ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ รูหนอน คือพื้นที่ในจักรวาลที่แผ่นกาล-อวกาศ (สเปซ-ไทม์) ถูกเร่งความเร็วขึ้นสูงมาก สูงจนแสงไม่สามารถเดินทางเป็นเส้นตรงได้อีกต่อไป อนุภาคของแสงหรือโฟตอน ที่เกิดจากก๊าซ, ธุลีอวกาศและดาวฤกษ์ที่เป็นพื้นหลัง ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะเคลื่อนวนรอบรูหนอนดังกล่าวจะหมุนวนอยู่โดยรอบหลุมดำ ก่อให้เกิดวงแหวนของแสงขึ้น อย่างไรก็ตาม อนุภาคของโฟตอนที่อยู่ใกล้กับขอบรูหนอนมากเกินไปจะถูกดูดเข้าไปในอุโมงค์ ส่งผลให้เกิดพื้นที่มืดขึ้นโดยรอบ เรียกว่า “แชโดว์” หรือ “เงา” ซึ่งคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นบริเวณริมขอบหลุมดำ รวมทั้งบริเวณใจกลางของหลุมดำมวลยิ่งยวด หรือซุปเปอร์แมสซีฟ แบล็คโฮล ใจกลางกาแล็กซี ทางช้างเผือก ที่เป็นหลุมดำซึ่งนักดาราศาสตร์กำลังดำเนินความพยายามเพื่อตรวจสอบโดยตรงอยู่ในขณะนี้ โดยอาศัยการเชื่อมโยงกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเท่ากับโลกทั้งใบ และกำลังศึกษาวิจัยข้อมูลชุดแรกที่ได้จากการนี้อยู่ในเวลานี้

ในงานวิจัยทางฟิสิกส์ชิ้นใหม่ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ราชิบัล เสข นักฟิสิกส์ชาวอินเดีย จากสถาบันเพื่อรากฐานการวิจัยทาทา (ทีไอเอฟอาร์) ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย นำเสนอแนวความคิดเอาไว้ว่า รูหนอนบางประเภทที่หมุนวนอยู่ด้วยความเร็วสูง จะก่อให้เกิดเงามืดที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความบิดเบือนมากกว่าที่หลุมดำสร้างขึ้น โดยยิ่งรูหนอนหมุนวนด้วยความเร็วสูงมากขึ้น เงามืดบริเวณริมขอบก็จะราบเรียบมากกว่าเงามืดของหลุมดำซึ่งจะยังคงสภาพลักษณะคล้ายจานอยู่ต่อไป

 

“ด้วยการสังเกตการณ์เงามืดบริเวณริมขอบนี่เอง ที่ทำให้เราสามารถบ่งชี้ได้ว่าในบริเวณใดเป็นหลุมดำ และในบริเวณใดเป็นรูหนอน” ซึ่งสามารถใช้เป็นทางลัดในการเดินทางข้ามห้วงอวกาศได้ ราชิบัล ระบุ

ราชิบัลตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยจำนวนหนึ่งเคยคำนวณการหมุนวนของเงามืดริมขอบหลุมดำมาก่อน แต่มองข้ามส่วน “ลำคอ” หรือ “ท่ออุโมงค์” ที่เชื่อมต่อระหว่างช่องทาง 2 ด้านของรูหนอนไป แต่หากอาศัยการวิเคราะห์แบบใหม่ของตน โดยหลักการแล้ว นักดาราศาสตร์ก็จะสามารถระบุได้ว่า เงามืดที่พบเห็นและกำลังตรวจสอบนั้น เป็นรูหนอนซึ่งมีทางออกอีกทางหนึ่งหรือไม่ ซึ่งหากทำได้จริง ไม่เพียงแต่ทำให้การเดินทางข้ามห้วงอวกาศที่เคยปรากฏอยู่แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์เป็นความจริงขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหลักฐานโดยอ้อมที่แสดงให้เห็นว่า “สสารประหลาด” หรือ “เอ็กโซติค แมทเทอร์” ที่ไอน์สไตน์เคยพูดถึงไว้ก็น่าจะมีอยู่จริง

ทั้งนี้ ไอน์สไตน์ระบุเอาไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปว่า เพื่อให้รูหนอนคงสภาพ “เปิด” อยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องมีสสารประหลาด ซึ่งมีพฤติกรรมในลักษณะต่อต้านแรงโน้มถ่วงปรากฏอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นตัวรูหนอนดังกล่าวจะยุบหายไปในทันทีที่ก่อรูปขึ้น สสารประหลาด ที่ไอน์สไตน์พูดถึงไว้นี้ยังคงเป็นสสารในทางทฤษฎี การค้นพบปากทางรูหนอนจึงอาจบ่งชี้ถึงเรื่องนี้

หรือไม่เช่นนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการคิดกันใหม่ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแรงโน้มถ่วงกันใหม่นั่นเอง

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 24 เมษายน 2561 - 18:19 น. 


นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’นักฟิสิกส์อินเดียชี้มีวิธีค้นหา‘รูหนอน’

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สนามไฟฟ้า (electric field)

สนามไฟฟ้า (electric field)


เปิดอ่าน 83,166 ครั้ง
เมลามีน คืออะไร?

เมลามีน คืออะไร?


เปิดอ่าน 102,546 ครั้ง
กำเนิดดวงดาว

กำเนิดดวงดาว


เปิดอ่าน 24,760 ครั้ง
สายตาสั้น

สายตาสั้น


เปิดอ่าน 16,674 ครั้ง
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร


เปิดอ่าน 128,463 ครั้ง
ลมบกและลมทะเล

ลมบกและลมทะเล


เปิดอ่าน 45,209 ครั้ง
วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า


เปิดอ่าน 64,621 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต

ฝนดาวตกสิงโต


เปิดอ่าน 20,421 ครั้ง
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร


เปิดอ่าน 1,207 ครั้ง
แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว


เปิดอ่าน 14,414 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

พายุไต้ฝุ่น

พายุไต้ฝุ่น

เปิดอ่าน 31,179 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
9 สุดยอดสัตว์มีพิษที่อันตรายที่สุดในโลก
9 สุดยอดสัตว์มีพิษที่อันตรายที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 76,968 ☕ คลิกอ่านเลย

จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
เปิดอ่าน 38,274 ☕ คลิกอ่านเลย

การละลาย (Solubility)
การละลาย (Solubility)
เปิดอ่าน 3,132 ☕ คลิกอ่านเลย

กุ้งเดินขบวนมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ
กุ้งเดินขบวนมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ
เปิดอ่าน 23,018 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้แล้ว สโตนเฮนจ์ มีไว้ทำไม
รู้แล้ว สโตนเฮนจ์ มีไว้ทำไม
เปิดอ่าน 30,176 ☕ คลิกอ่านเลย

แผ่นดินไหวปากีสถานดัน"เกาะ"โผล่กลางทะเล
แผ่นดินไหวปากีสถานดัน"เกาะ"โผล่กลางทะเล
เปิดอ่าน 15,740 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
เปิดอ่าน 81,402 ครั้ง

ตำแหน่ง "สิว" บอกสุขภาพ
ตำแหน่ง "สิว" บอกสุขภาพ
เปิดอ่าน 16,154 ครั้ง

ค่าตัว 2.8 หมื่นบาทต่อเดือน เผย 3 อาชีพที่นายจ้างต้องการแรงงาน
ค่าตัว 2.8 หมื่นบาทต่อเดือน เผย 3 อาชีพที่นายจ้างต้องการแรงงาน
เปิดอ่าน 18,606 ครั้ง

ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
เปิดอ่าน 22,703 ครั้ง

กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 17,465 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ