ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

มศว เปิดผลวิจัยแท็บเล็ต ป.1 "ไม่คุ้ม" มีผลต่อสายตา


ข่าวการศึกษา เปิดอ่าน : 10,371 ครั้ง
มศว เปิดผลวิจัยแท็บเล็ต ป.1 "ไม่คุ้ม" มีผลต่อสายตา

Advertisement

มศว เปิดผลวิจัยนำร่องแท็บเล็ต ป.1 ไม่คุ้มทุน เด็กมีปัญหาสุขภาพสายตา ปวด-เคือง-แสบ แม้ช่วยกระตุ้นเรียนรู้-ฝึกคิดสร้างสรรค์ ด้านครูผู้สอนขาดความชำนาญ-หันพึ่งตำราเรียน "ผู้ปกครอง" ลั่นไม่เอาแท็บเล็ตกลับบ้าน สะท้อนอาจเกิดปัญหาจริยธรรม-ความรับผิดชอบ เครือข่าย Wi-Fi ไม่อำนวย อธิการบดี มศว เสนอ 5 ข้อให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย ควรเริ่มที่ ป.4 ไม่จำเป็นต้องแจกทุกคน

ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) วันที่ 11 พ.ค.55 ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว ได้แถลงข่าวผลการศึกษาโครงการนำร่อง "การประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อการเรียนการสอน ในระดับประถมศึกษาตามแนวนโยบายของรัฐบาล ระยะที่ 1" ว่าจากการศึกษากับเด็ก 2 ช่วงชั้น คือ ชั้นป.1 และ ป.4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในโรงเรียน(รร.) 5 แห่ง ได้แก่ รร.ราชวินิต กทม., รร.อนุบาลลำปาง จ.ลำปาง, รร.อนุบาลพังงา จ.พังงา, รร.สนามบิน จ.ขอนแก่น และ รร.สาธิต มศว ประสานมิตร ฝ่ายประถม โดยใช้ระยะเวลาทดลองในชั้นเรียน 6-7 สัปดาห์ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ม.ค.-มี.ค.55 พบว่า

ด้านผู้เรียน ส่งผลใน 2 ส่วน คือ พฤติกรรมการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการฝึกหัด และทำกิจกรรมที่หลากหลายจนพบความถนัดของตนเอง แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยี การฝึกคิดหลายวิธี และการสร้างสรรค์ ตลอดจนความสนใจใฝ่รู้ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็ก ป.4 เรียนรู้ได้เร็วกว่า มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเด็ก ป.1 และมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียนด้วย ด้านการเรียนรู้ในห้องเรียน นักเรียนมีความสุข กระตือรือร้น และไม่พบปัญหาเด็กติดเกมส์

ส่วนด้านสุขภาพ พบว่าสุขภาพตา นักเรียนปวดตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการใช้แท็บเล็ต เนื่องจากกลุ่มที่ไม่ใช้แท็บเล็ต ก็มีการใช้สายตามองดูวัตถุในระยะใกล้ไม่แตกต่างกัน และมีค่าสายตาเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านพฤติกรรมการสอนของครู ยังต้องพึ่งผู้ช่วยด้านเทคนิค ระหว่างการสอนที่ใช้แท็บเล็ต เพราะหากครูไม่ชำนาญการใช้แท็บเล็ต การเรียนการสอนก็จะยุติ เนื่องจากไม่สามารถพลิกหน้ากลับไปมาได้ แล้วต้องกลับไปใช้หนังสือสอนแทน ซึ่งทั้งครูและผู้บริหารมองว่า การให้นักเรียนเรียนรู้จากสื่อในแบบรายบุคคล พร้อมกันทั้งห้องทำได้ยาก สำหรับการดูแล และควบคุมเวลา เนื่องจากผู้เรียนมีความแตกต่างกัน และยังพบปัญหาในเรื่องความพร้อมของนักเรียน ป.1

"ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการใช้แท็บเล็ต ไม่สามารถสอนเพิ่มได้ในเรื่องจริยธรรม และจะเกิดปัญหาขึ้นบนสื่อออนไลน์ ขณะที่ผู้ปกครองและชุมชน ให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบ ในกรณีแท็บเล็ตเสียหาย หรือสูญหาย และความไม่พร้อมของเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่บ้าน อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ ซึ่งสิ่งที่ผู้ปกครองและชุมชนต้องการคือ จัดให้มีการอบรมผู้ปกครอง เพื่อดูแลบุตรหลานได้ และเห็นว่าไม่ควรให้นำแท็บเล็ตกลับบ้าน เพราะจะเกิดปัญหาการดูแลและความปลอดภัย อีกทั้งต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องเครือข่าย Wi Fi ในระดับชุมชน"

ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวและว่า คณะทำงานศึกษาโครงการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายแก่รัฐบาล 5 ข้อ ดังนี้

1.ควรมีการจัดทำแผนแม่บทในการแจกแท็บเล็ต โดยให้มีผลถึงผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น ครูประจำกลุ่มสาระ และมีผลต่อนักเรียน เพื่อเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนมีผลถึงผู้ปกครองด้วย

2.กรณีที่จะแจกแท็บเล็ตอย่างกว้างขวาง ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้ครบถ้วน และมีความน่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจมากขึ้นกว่าการเรียนในหนังสือ

3.จัดหาบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยครูทางเทคนิคในทุกโรงเรียน อย่างน้อยละโรงเรียนละ 1 คน

4.ถ้ามีงบประมาณจำกัดแ ละจำเป็นต้องเลือกแจกในบางชั้น ควรแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.4 ก่อน ป.1


และ

5.ถ้างบฯจำกัดไม่จำเป็นต้องแจกนักเรียนทุกคน โดยเปิดเป็นห้องเรียนแท็บเล็ต และจัดตารางเรียนให้นักเรียนหมุนเวียนกันมาใช้ ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบฯ แล้วนำมาพัฒนาครู จ้างช่างเทคนิค และพัฒนาเนื้อหาต่างๆ ได้ รวมถึงสามารถกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่โรงเรียนอื่นๆ ได้อีกทางหนึ่งด้วย

"ผลการศึกษายังไม่สามารถชี้ชัดถึงผลกระทบในเชิงลบที่เกิดขึ้นชัดเจนใน ป.1และ ป.4 เพราะระยะเวลาศึกษาไม่นานพอที่จะให้เกิดผลลบได้ ส่วนผลบวก ป.4 มีความชัดเจนมากกว่า ป.1 เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลได้คุ้มค่ากว่า และเรียนรู้ได้เร็วกว่าในเรื่องการจัดการ สร้างสรรค์ ประเมิน และบูรณาการ"

ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวด้วยว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้งบฯ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง มศว จะส่งผลการศึกษาให้ สพฐ. และนำเสนอรัฐบาล ส่วนรัฐบาลจะนำไปใช้ทบทวนนโยบายแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล แต่เมื่อผลการศึกษาระบุว่าแจก ป.4 คุ้มค่ากว่า ป.1 แล้วรัฐบาลยังเดินหน้าแจก ป.1 ก็ต้องตอบคำถามสาธารณชนให้ได้ว่าเพราะอะไร ซึ่ง มศว อยากจะเห็นการตัดสินใจนโยบายเชิงสาธารณะที่ใช้งบฯ จำนวนมากบนพื้นฐานของข้อมูล โดยใช้โครงการนี้เป็นตัวนำร่อง ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก

 

ที่มา สยามรัฐ


มศว เปิดผลวิจัยแท็บเล็ต ป.1 "ไม่คุ้ม" มีผลต่อสายตามศวเปิดผลวิจัยแท็บเล็ตป.1ไม่คุ้มมีผลต่อสายตา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567

เปิดอ่าน 19,286 ☕ 26 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
เปิดอ่าน 70 ☕ 10 พ.ค. 2567

ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 511 ☕ 9 พ.ค. 2567

กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง
เปิดอ่าน 706 ☕ 9 พ.ค. 2567

ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ.
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 478 ☕ 9 พ.ค. 2567

ว 11/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ.
ว 11/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 1,461 ☕ 9 พ.ค. 2567

แนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567
แนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 14,859 ☕ 9 พ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย
"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย
เปิดอ่าน 41,409 ครั้ง

แรงบิดและแรงม้า
แรงบิดและแรงม้า
เปิดอ่าน 12,728 ครั้ง

ความลับของ ลูกแพร์หน้าทารก ที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตจีน
ความลับของ ลูกแพร์หน้าทารก ที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตจีน
เปิดอ่าน 12,830 ครั้ง

มหัศจรรย์ "ผึ้งบำบัด" รักษาอาการเรื้อรัง-ไมเกรน-อัลไซเมอร์ กระแสตอบรับล้นหลาม
มหัศจรรย์ "ผึ้งบำบัด" รักษาอาการเรื้อรัง-ไมเกรน-อัลไซเมอร์ กระแสตอบรับล้นหลาม
เปิดอ่าน 20,172 ครั้ง

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
เปิดอ่าน 121,742 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ