ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทีดีอาร์ไอชี้ วิกฤตการศึกษาไทยเรื้อรังมากว่า 10 ปี หลักสูตรไม่ทันสมัย


ข่าวการศึกษา 14 ธ.ค. 2566 (08:25 น.) เปิดอ่าน : 13,132 ครั้ง
ทีดีอาร์ไอชี้ วิกฤตการศึกษาไทยเรื้อรังมากว่า 10 ปี หลักสูตรไม่ทันสมัย

Advertisement

การศึกษาไทยวิกฤตเรื้อรังมา 10 ปี ยังไม่ถูกแก้ ทีดีอาร์ไอ เปิดงานวิจัยชี้ รัฐลงทุนการศึกษาสูงระดับต้นของโลกแต่พัฒนาไม่ถูกจุด แนะ 3 แนวทางแก้เร่งด่วน “ลดภาระครู-ยกเครื่องหลักสูตรใหม่-ยุบควบโรงเรียนเล็ก”

วันที่ 13 ธันวาคม 2566 หลังจากที่ผลสอบ PISA 2022 รายงานว่าเด็กไทยมีคะแนนตกต่ำสุดในรอบ 20 ปี สะท้อนถึงระบบการศึกษาไทยถึงขั้นวิกฤต หากไม่หาแนวทางปรับเปลี่ยนจะทำให้ความสามารถแรงงานไทยแข่งขันกับประเทศอื่นยาก ทั้งนั้นสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้แถลง “ผลสอบ PISA สัญญาณเตือนวิกฤตการศึกษา แก้ปัญหาให้ถูกจุด” พร้อมกับวิเคราะห์ถึงระบบการศึกษาไทยว่ากำลังเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง

นายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโสด้านการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า จากผลประเมิน PISA 2022 สะท้อนให้เห็น 4 ด้านคือ 1.ความสามารถของเด็กไทยเริ่มห่างไกลความสามารถของเด็กทั้งโลกมากขึ้นทุกที 2.PISA ระบุว่าโควิดเป็นปัจจัยทำให้การเรียนรู้ของเด็กถดถอย แต่จากผลการวิเคราะห์ โควิดไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ความสามารถของเด็กไทยลดลง 3.คะแนนที่ออกมาสะท้อนว่าระบบการศึกษาไทยกำลังอ่อนแอลงเนื่องจากเรามีเป้าหมายการเรียนรู้ หรือหลักสูตรที่ไม่ทันสมัย และมีข้อจำกัด เรื่องการใช้ทรัพยากร และใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ 4.เราต้องแก้อย่างเร่งด่วน

“PISA ระบุว่าความรู้ที่เด็กมียังไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำได้ โดยเฉพาะการอ่าน เด็กอายุ 15 ปี กว่า 65% ไม่สามารถอ่านจับใจความหรือบทความสั้นๆ ได้ รวมถึงวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรืออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ถึงแม้ว่าการศึกษาของไทยจะสร้างเด็กที่เป็นแชมป์ด้านต่าง ๆ ได้ แต่มีเพียง 1% เท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น อนาคตมีแนวโน้มผลิตเด็กที่จะไปแข่งขันและได้แชมป์ด้านต่างๆ ลดลงเรื่อย ๆ”

เช่นเดียวกับ ในแง่ของความเหลื่อมล้ำยังสูง หากแบ่งกลุ่มเด็กตามฐานะทางเศรษฐกิจจะพบว่า เด็กที่มาจากพื้นฐานครบครัวดี จะมีคะแนนมากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้ต่ำสุด ซึ่งช่องว่างระหว่างเด็กสองกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหามากว่า 10 ปี อีกทั้งช่วงโควิดที่มีการปิดโรงเรียนยังพบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้สูง สามารถเอาตัวรอดได้จากการเรียนเพิ่มเติม แต่เด็กฐานะยากจนยังต้องเพิ่งพาโรงเรียน”

หลักสูตรล้าหลัง

นายพงศ์ทัศกล่าวอีกว่า หลักสูตรการเรียนในไทยยังไม่ทันสมัย เนื่องจากเราใช้หลักสูตรแกนกลางมากกว่า 15 ปีแล้ว ที่ผ่านมามีการปรับเล็กแต่ปรับเป็นรายวิชา แต่โครงสร้างโดยรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังมีการสอนในรูปแบบเดิม ๆ

ทีมวิจัยวิเคราะห์หลักสูตรปัจจุบันพบว่าไม่น่าจะทำให้เกิดสมรรถนะได้ เพราะเน้นความรู้เป็นหลัก พบว่าตัวชี้วัดกว่า 88% ยังวัดแค่ความรู้เป็นหลัก มีแค่ 4% ที่เป็นการส่งเสริมรอบด้านที่สำคัญความรู้ส่วนใหญ่เป็นการท่องจำยังไม่ได้ยกระดับไปถึงขั้นประเมิน หรือวิเคราะห์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ทีดีอาร์ไอมองว่าหลักสูตรมีความสำคัญ สะท้อนว่ารัฐมีความคาดหวังว่าให้เด็กทำอะไรได้ หลังจากเรียนครบทั้งหลักสูตร

ใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ

หากดูในแง่ของการใช้ทรัพยากร และเงินลงทุน ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยลงทุนด้านการศึกษาสูง ในระดับต้น ๆ ของโลก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจะเห็นว่าไทยใช้เงินลงทุนมาก แต่ผลลัพธ์ไม่น่าพอใจ “แสดงว่าเงินไม่ใช่ปัญหาของไทย แต่อาจะเป็นเพราะเราใช้เงินไม่ตรงจุด ใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ”

“งบประมาณโดยส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นเงินเดือนครู แต่ไทย มีปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนประถมกว่า 90% เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กน้อยกว่า 120 คน อีกทั้งครูไม่ครบชั้น ดูแลไม่ทั่วถึง แต่ถ้าจะเพิ่มครูให้ครบชั้น เราต้องเติมครูเข้าระบบอีกประมาณ 50,000 คน ซึ่งถ้าคำนวณเงินเดือนครูใหม่ประมาณ 15,000 บาท อาจใช้เงินมากกว่า 9 พันล้านบาทต่อปี

ซึ่งครูเป็นเรื่องจำเป็น เพราะ ผล PISA ระบุอีกว่าโรงเรียนที่ขาดแคลนครู มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าโรงเรียนที่มีครูครบ นอกจากนั้น งบที่ใช้ราว 11% เป็นการใช้เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้รัฐเป็นฝ่ายตัดสินใจ โรงเรียนไม่มีอิสระในการตัดสินใจใช้จ่ายเอง

อีกหนึ่งปัญหาคือ ครูมีภาระงานอื่นมากเกินไป เช่นต้องทำประเมินด้านต่าง ๆ ทำให้ไม่มีเวลาสอนเด็กอย่างเต็มที่ โดยผลสำรวจของทีดีอาร์ไอ พบว่าภาระที่ครูมีความกังวลใจมากที่สุดคือการรายงานผลโครงการต่าง ๆ

ทีดีอาร์ไอ ได้สำรวจครู 214 คน ในระยอง ศรีษะเกษ สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราตั้งคำถามด้วยว่าปีที่ผ่านมา 2564 รู้สึกภาระงานเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากแค่ไหน ซึ่งงานที่ครูรู้สึกว่าเป็นปัญหามากที่สุดก็คือ การรายงานผลตามนโยบาย หรือโครงการของกระทรวง รวมถึงการประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่สอดคล้องกัน”

กรณีศึกษา สิงคโปร์-ฟินแลนด์

อย่างไรก็ตาม ทีดีอาร์ไอ ยกตัวอย่างประเทศที่มีระบบการศึกษาดีอย่าง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ โดยสิงคโปร์จะมีความโดดเด่นด้านการพัฒนาและผลิตครู ส่วนฟินแลนด์โดดเด่นด้านหลักสูตรและการสอน โดยสิงคโปร์มีหลักสูตรที่มีเกณฑ์ว่าต้องปรับทุก 6 ปี และเน้นสมรรถนะ ซึ่งคล้ายกับประเทศไทย เน้นปรับเป็นศาสตร์รายวิชา แต่สิงคโปร์มีการบูรณาการมากกว่า ส่วนการผลิตครู จะต้องมีความมั่นใจว่า ครูสามารถนำหลักสูตรมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และต้องเชื่อมโยงความต้องการของโรงเรียน ไม่ได้ผลิตจำนวนน้อยหรือมากจนเกินไป

ทั้งยังมีการสนับสนุนให้เป็นครูพิเศษ สนับสนุนการศึกษา ค่าครองชีพ มีการตรวจสอบค่าครองชีพ ค่าตอบแทน และตรวจสอบอาชีพอื่น ๆ ข้างนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับให้ค่าจ้างครูให้สามารถแข่งขัน หรือดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นครูได้ตลอด รวมถึงมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประเมินก็จะแตกต่างกันตามตำแหน่งครู หรือประสบการณ์ของครู

ส่วนฟินแลนด์ จะมีหลักสูตรต่างกัน แต่มีกติกาเหมือนกันว่าต้องปรับทุก 10 ปี แต่เรื่องของเป้าหมาย สมรรถนะไม่เน้นศาสตร์เหมือนไทย แต่เน้นเรื่องการบูรณาการ เรียนรู้ผ่านการวิจัย ส่วนการพัฒนาครู ให้ครูนำหลักสูตรไปใช้สอนอย่างเต็มที่ และฟินแลนด์มีการจัดสรรเวลาให้ครูไปพัฒนาวิชาชีพร่วมกัน เช่น พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน 100 ชั่วโมงต่อปี

อย่างไรก็ตามถึงแม้ 2 ประเทศจะมีความแตกต่างกัน แต่มีจุดร่วมกันคือ ณ ปัจจุบัน หลักสูตรมีความทันสมัย มีความพยายามที่จะปรับอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้หลักสูตรมีการอัพเดทอยู่เสมอ ต่อมาคือ มีการออกแบบระบบการผลิตพัฒนาครู เพื่อให้มีความมั่นใจว่าครูสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนะลดภาระครู ปรับหลักสูตร

ทั้งนี้ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอมองว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะยกเครื่องเรื่องการศึกษาอย่างเร่งด่วน และแก้ให้ตรงจุด โดยมี 3 ข้อเสนอ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย ดังนี้

ระยะสั้น ภายใน 1 ปี ลดภาระงานอื่นครู ให้ครูสอนเต็มที่ กระทรวงศึกษา ควรทบทวนโครงการต่าง ๆ ที่ต้องรายงานผล ปีต่อไปไม่ต้องสร้างตัวชี้วัดใหม่ๆ เพื่อให้โรงเรียนรายงาน แต่ควรนำผลลัพธ์จากระบบปกติมารายงาน เช่น คะแนนสอบ คุณภาพต่าง ๆ
ระยะกลาง 3 ปี ยกเครื่องหลักสูตร ออกแบบระบบ อื่น ๆ ให้รองรับหลักสูตรใหม่ เพื่อให้พร้อมนำไปใช้ โดยที่ควรปรับหกลักสูตรแกนหลาง ให้มีความใหม่มากขึ้น และส่งเสริมใก้เกิดการคิดขั้นสูง ทดลอง นำไปใช้ ขณะเดียวกันก็ควรออกระบบอื่น ๆ เพื่อให้ครูได้สอนสิ่งใหม่ๆ ได้
ระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาไทย คือการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐควรมีนโยบายชัดเจน อาจจะเริ่มจากข้อเสนอของธนาคารโลก เรื่องการบริหารควบรวมและการพัฒนาเครือข่าย หมายความว่า บริหารควบรวมโรงเรียนเล็กที่ห่างกันไม่มากที่สามารถเคลื่อนย้ายเด็กได้ ส่วนโรงเรียนที่ควบรวมไม่ได้ จำเป็นต้องมีอยู่ก็ต้องเพิ่มทรัพยากรให้เพียงพอ
อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการ ต้องมีการยกระดับร่วมกับชุมชน สื่อสารทั้งสองทางให้มีความเข้าใจว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร จำเป็นให้ชุมชนตัดสินใจเต็มถ้าหากมีการยุบ ควบ รวมโรงเรียน และรัฐต้องสร้างหลักประกันสัญญาที่ให้ไว้ว่า ทรัพย์สินของโรงเรียนที่ถูกยุบจะเอาไปใช้ทำอะไร มีหลักประกันว่า จะต้องเป็นไปตามนั้น

และประเด็นสำคัญ ควรมีการออกแบบสร้างแรงจูงใจให้ครูอยากไปทำงานในโรงเรียนที่ห่างไกล เราต้องมีการศึกษาวิจัยด้วยว่า ว่าแต่ละพื้นที่ควรมีมาตรการแบบไหน เพื่อตอบโจทย์ให้ครู ไปทำงานโรงเรียนที่อยู่ไกลได้

“การแก้ปัญหาเหล่านี้ อาจไม่มีวิธีที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะจำเป็นต้องปรับทั้งระบบ สิ่งที่ไม่ควรทำคือการอบรมครูเป็นครั้ง ๆ แม้จะให้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรม ก็ไม่อาจจะตอบโจทย์หรือแก้ได้ตรงจุด เพราะโครงสร้างระบบการศึกษาไม่ได้เปลี่ยน ไม่คิดว่าจะเกิดผลดีในระยะยาว และไม่ควรจะมีการจัดสอบมากมาย เนื่องจากว่าไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์จริง”

ผู้นำต้องให้ความสนใจการศึกษา

ด้านดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาไทย มีนโยบายที่สอดคล้องกับข้อเสนอของทีดีอาร์ไอคือ การลดภาระงานครูในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนที่ทำได้ แต่สิ่งที่ยากสุดอาจเป็นเรื่องการเปลี่ยนหลักสูตร เพราะต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองด้วย ไม่เช่นนั้นเด็กไทยจะปรับตัวกับความท้าทายของโลกไม่ทัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำ

“ที่ผ่านมาเรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาแล้วหลายคน แต่ละช่วงมักจะอยู่ระยะสั้น จึงทำให้ไม่เกิดการผลักดันการปฏิรูปการศึกษา จะเห็นว่าการเมืองก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากมีประสิทธิภาพ หรือแข็งแรง ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

ทั้งนี้มองว่าการที่ใครก็ตามจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาเข้ามาดูแลระบบการศึกษาไทย หากจะคาดหวังให้เป็นผู้ที่มีภูมิหลังเกี่ยวกับการศึกษาก็คงยาก แต่ให้มองว่ามีความสนใจด้านการศึกษามากน้อยแค่ไหน ขอให้มีความสนใจและมีความสามารถในการขับเคลื่อน เข้าใจว่าอะไรคือปัญหา แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว เราอยากเห็นผู้นำมีความเข้าใจแม้ไม่มีภูมิหลังการศึกษา แต่รับข้อมูลมาและไตร่ตรอง เดินหน้าปรับปรุงไปด้วยกัน”


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 


ทีดีอาร์ไอชี้ วิกฤตการศึกษาไทยเรื้อรังมากว่า 10 ปี หลักสูตรไม่ทันสมัยทีดีอาร์ไอชี้วิกฤตการศึกษาไทยเรื้อรังมากว่า10ปีหลักสูตรไม่ทันสมัย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 1,187 ☕ 26 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เปิดเกณฑ์ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 1 พ.ค.67 กลุ่มไหน ได้ปรับเท่าไร
เปิดเกณฑ์ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 1 พ.ค.67 กลุ่มไหน ได้ปรับเท่าไร
เปิดอ่าน 564 ☕ 27 เม.ย. 2567

คืบหน้าแล้ว!โครงการ Anywhere Anytime เรียนดีมีความสุข ระบบคลาวด์ใช้ "จีทูจี"ยกให้กระทรวงEDรับผิดชอบ
คืบหน้าแล้ว!โครงการ Anywhere Anytime เรียนดีมีความสุข ระบบคลาวด์ใช้ "จีทูจี"ยกให้กระทรวงEDรับผิดชอบ
เปิดอ่าน 137 ☕ 27 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
เปิดอ่าน 10,778 ☕ 26 เม.ย. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,187 ☕ 26 เม.ย. 2567

สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 1,510 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 874 ☕ 25 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค
8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค
เปิดอ่าน 20,603 ครั้ง

แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
เปิดอ่าน 2,992 ครั้ง

นวดกดจุดบนใบหน้า ทางเลือกแก้นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
นวดกดจุดบนใบหน้า ทางเลือกแก้นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
เปิดอ่าน 13,661 ครั้ง

ตาบอดสี
ตาบอดสี
เปิดอ่าน 18,869 ครั้ง

เด็กแรกเกิด เรียนไวกว่าผู้ใหญ่ มีฐานการเรียนรู้ขณะนอนหลับติดมากับตัว
เด็กแรกเกิด เรียนไวกว่าผู้ใหญ่ มีฐานการเรียนรู้ขณะนอนหลับติดมากับตัว
เปิดอ่าน 11,260 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ