ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่


บทความการศึกษา 6 ก.ค. 2558 เวลา 18:51 น. เปิดอ่าน : 16,287 ครั้ง
แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่

Advertisement

กลายเป็นข่าวใหญ่ของสังคมออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำเอาเด็กจบใหม่ที่กำลังรอยื่นใบสมัครงานต้องเกาหัวแกรกๆ กันเป็นแถว ด้วยเรื่องราวสร้างความรันทดท้อที่มีต่อความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย หลังจากมีการแชร์ภาพประกาศของธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งที่ปรึกษาทางการเงินฝึกหัด โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครว่าจะต้องเรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง 14 สถาบันที่ระบุเท่านั้น ทำเอาถูกวิจารณ์กันขรมถึงการเลือกปฏิบัติ

จนสุดท้ายธนาคารไทยพาณิชย์ต้องรีบออกแถลงการณ์ขออภัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่าเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาด และทางธนาคารยังมีความต้องการสรรหาบุคลากรทางด้านนี้ โดยเปิดรับสมัครคัดเลือกจากนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน 

เรื่องยังไม่ทันจะจบ อยู่ๆ ก็มีเอกสารจัดเกรดมหาวิทยาลัยหลุดขึ้นมาอีกชุด โดยในเอกสารนั้นแบ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยออกเป็นหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่ม AA, AB และ BB ซึ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยดังกลุ่ม AA เกรดต่ำเพียง 2.5 ขึ้นไปก็รับ ขณะที่มหาวิทยาลัยชื่อดังน้อยกว่าต้องมีเกรดสูง 3.00 หรือมีประสบการณ์ถึงจะผ่านเกณฑ์ งานนี้ไม่มีเจ้าภาพออกมาแสดงความรับผิดชอบว่าเป็นของหน่วยงานไหน

แม้ไม่มีผู้รับผิดชอบ แต่กระแสการจัดอันดับสถานศึกษาแบบที่ว่า ก็เหมือนกลายเป็นระเบิดชนวนที่ทำให้ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์สมัครงานที่หลากหลายร่วมเข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงมีกระทู้เผยแพร่ถึงสถานประกอบบริษัทอื่นๆ ที่ใช้เกณฑ์รายชื่อมหาวิทยาลัยในการรับสมัครอีกด้วย

เช่น กระทู้พันทิป ในหัวข้อ “ห้าง Central เลือกปฏิบัติในการรับพนักงาน (Discrimination) ไม่ต่างจาก SCB ครับ” จากนั้นก็มีผู้เข้าไปวิพากษ์วิจารณ์และแสดงทัศนะกันอย่างเข้มข้น อาทิเช่น

“ผมก็ไม่เห็นด้วยหรอกครับ มันคือการแบ่งชนชั้นดีๆ นี่เอง แต่คนส่วนใหญ่กลับมองเป็นเรื่องปกติไปซะงั้น... อืม....เรื่องปกติ ไม่ได้รู้สึกอะไรกันเลยสินะ ก็ไม่แก้ไข ปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป คนขวางโลกอย่างผมคงต้อง จำใจยอมรับ” ความเห็นจาก Saberos 

“จริงค่ะ เคยสมัครของเซ็นทรัลในจังหวัดบ้านเกิด ประกาศว่ารับ นศ.จบใหม่ด้วย สมัครอยู่คนเดียว ตอนสัมภาษณ์บอกว่าจะไหวเหรอคนเก่าเค้าจบ มช.นะ (เกรดก็ไม่ได้ขี้เหร่ มีผลโทอิกให้ตามที่ขอ) หลังจากสัมภาษณ์เราสัปดาห์นึงก็ประกาศรับตำแหน่งที่เราสมัครอีกครั้ง เศร้ามาก ก้มหน้าหางานต่อไป” ความเห็นจากกิ๊งก่องแก้ว แมว แมว

“ดูแล้วก็โอเคนะครับ ผมว่าไม่ได้แบ่งแยกอะไรเลย เรียนไม่เก่ง จบสถาบันไม่ดัง เขาก็รับ แต่ต้องมีประสบการณ์ 3 ปีขึ้นไป ผมว่าก็เหมาะสมดี” ความเห็นจากสำราญ บานบุรี 

“มหา'ลัยในต่างประเทศเขาก็มีการจัดอันดับ ถึงแม้ไม่ได้แบ่งเกรด แต่อันดับมันก็บอกอยู่ ถ้าอยากยกฐานะของตนเองขึ้นมา ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพของมหาวิทยาลัยในทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะจูงใจให้นักศึกษาที่เก่งและมีความสามารถเข้ามาเรียนเยอะๆ ในอเมริกาเอง มหา'ลัยเอกชนติดอันดับ top ก็เยอะพอสมควร ดังนั้นมหา'ลัยดังๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นของรัฐเสมอ ในแง่ของนักศึกษาเอง ถ้าอยากเรียนมหา'ลัยดังๆ ก็ต้องขวนขวาย รู้จักบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ของดีมีน้อย ต้องแย่งกันเป็นหลักพื้นฐานอยู่แล้ว อยากได้งานดี ก็ต้องมุมานะ ขวนขวาย เหมือนอยากได้หุ้นดีก็ต้องหมั่นทำการบ้าน” ความเห็นจากนักฆ่านิรนาม

“ต่อให้เอาประกาศแบบนี้ออกไป มันก็คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอยู่ดี เพราะสุดท้ายผมว่าเค้าก็คัดเด็กจากหมาลัยอันดับต้นๆ อยู่ดีเราต้องยอมรับว่าตราบใดกระบวนการสมัครงานที่มีแค่ดู resume แล้วเรียกสัมภาษณ์ ชื่อมหา'ลัยมันก็ช่วยเป็นตัวกรองได้อีกทาง เด็กจบมหา'ลัยชั้นนำ แต่ทำงานไม่ได้เรื่องก็มีหลายคน เด็กจบราชภัฏทำงานเก่งๆ ก็มีหลายคน แต่ความเสี่ยงมหา'ลัยชั้นนำมันมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเจอเด็กที่ไม่ได้เรื่อง อันนี้มองในฐานะผู้ประกอบการนะ ผมก็เป็นเด็กที่จบจากราชภัฏ แต่โชคดีตรงที่งานที่ทำเค้าเน้นที่ portfolio เลยไม่ประสบปัญหาเรื่องนี้ ฉะนั้นผมว่าถ้าจะแก้ที่ต้นเหตุจริงๆ มันต้องมีกระบวนการคัดกรองที่เข้มกว่านี้ ว่าเด็กคนไหนเก่งจริงๆ น่ารับมาทำงาน ไม่ใช้ดูโปรไฟล์แล้วเรียกสัมภาษณ์ ไม่งั้นมันก็วนลูปๆ เดิม” ความเห็นจากสามาชิกหมายเลข 958404 

งานนี้คงต้องขอหยิบยกข้อคิดดีๆ จากท่าน ว.วชิรเมธี ที่กล่าวว่า อย่าดูถูกใครด้วย “การศึกษา” เพราะใบปริญญา ไม่ได้การันตี “สันดานคน” มาเตือนใจกันไปก่อนก็แล้วกัน...ธรรมะอำนวยพร.

 

 

ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 4 ก.ค.2558 


แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่แบ่งเกรดมหาลัยความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 10,016 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม

เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม

เปิดอ่าน 9,752 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
เปิดอ่าน 17,693 ☕ คลิกอ่านเลย

การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
เปิดอ่าน 5,912 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
เปิดอ่าน 25,485 ☕ คลิกอ่านเลย

คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
เปิดอ่าน 9,074 ☕ คลิกอ่านเลย

สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
เปิดอ่าน 9,156 ☕ คลิกอ่านเลย

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
เปิดอ่าน 9,398 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฝึกลูกจำศัพท์อังกฤษ50คำได้ไม่ต้องท่อง หมวดสิ่งของทั่วไป
ฝึกลูกจำศัพท์อังกฤษ50คำได้ไม่ต้องท่อง หมวดสิ่งของทั่วไป
เปิดอ่าน 48,724 ครั้ง

มะขามป้อม
มะขามป้อม
เปิดอ่าน 16,001 ครั้ง

วางตำแหน่งถ่ายภาพแบบไหนจึงสวย
วางตำแหน่งถ่ายภาพแบบไหนจึงสวย
เปิดอ่าน 17,587 ครั้ง

เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 71,316 ครั้ง

วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
เปิดอ่าน 10,742 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ