ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน


บทความการศึกษา 30 มี.ค. 2558 เวลา 09:44 น. เปิดอ่าน : 11,700 ครั้ง
ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน

Advertisement

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ระบบสารสนเทศเพื่อการสร้างหลักประกันโอกาสการเรียนรู้เชิงพื้นที่" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนงานของกลไกความร่วมมือในจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ โดยผู้ร่วมประชุมประมาณ 120 คน จาก 14 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต อำนาจเจริญ สุรินทร์ ตราด ชลบุรี นครราชสีมา กระบี่ น่าน ยะลา ลำปาง สุโขทัย สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่และพิษณุโลก

ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี ม.นเรศวร ประธานในที่ประชุมได้ให้ข้อคิดว่า โลกแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ดิจิตอล เอ็ดดูเคชั่น" แต่ศาสตร์ในการเรียนรู้ยังติดอยู่เฉพาะรายวิชาและขาดการบูรณาการ การใช้ "ระบบสารสนเทศ" ซึ่งเป็นศาสตร์สมัยใหม่ประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาให้เกิดประโยชน์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดย "ข้อมูล" เป็นหัวใจสำคัญในการได้มาซึ่ง "ปัญหาเชิงพื้นที่" เพื่อเป็นกระจกสะท้อนประเด็นที่พื้นที่ต้องเร่งแก้ไขให้สอดรับกับความต้องการของจังหวัด

น.พ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. กล่าวว่า "ข้อมูล" ที่หลายท่านมักมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากรู้จักใช้ ข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ จะเกิดประโยชน์แก่จังหวัด และเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย หัวหน้าศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบหลักประกันทางสุขภาพพบว่า กุญแจดอกสำคัญไม่ใช่สูตรการแบ่งงบประมาณ แต่อยู่ที่ระบบ "สารสนเทศ" ที่ช่วยให้รัฐบาลรู้ว่าจ่ายเงินแล้วลงถึงประชาชนตามสิทธิที่ควรได้รับหรือไม่ และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ สิ่งสำคัญของการทำงานเชิงพื้นที่จึงอยู่ที่จะทำอย่างไรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสามารถเข้ามาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือนี้

สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การยูเนสโกพบว่ายังมีเด็กวัยประถมศึกษาเกือบ 600,000 คนในประเทศไทยที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งคิดเป็น
ราว 1% ของเด็กวัยเดียวกัน 67 ล้านคนทั่วโลกที่ยังอยู่นอกระบบการศึกษา ฉะนั้นจึงต้องนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกัน บางครั้งข้อมูลในพื้นที่ขาดการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง และขาดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ ทำให้หน่วยงานในพื้นที่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาของเด็กเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศบราซิลเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบสารสนเทศและข้อมูลพื้นฐานระดับปฏิบัติการ เช่น การขาดเรียน และคะแนนสอบมาตรฐาน ในประกันโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านการบริหารจัดการแรงจูงใจของสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษาของบราซิล


ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ยังเพิ่มเติมด้วยว่า ปัจจุบันการวางแผนการเรียนต้องวิเคราะห์และมอง "ข้อมูล" จากโลกภายนอกเข้าสู่โรงเรียน เริ่มจาก 1) อัตราการจ้างงาน ซึ่งสะท้อนสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ 2) ทักษะที่จำเป็น เพื่อจะรู้ว่าควรพัฒนาหลักสูตรอย่างไร และ 3) ควรจัดกระบวนการสอนอย่างไร แต่ปัจจุบันโรงเรียนมักใช้โจทย์ที่เริ่มจากความหวังดีและศักยภาพที่มีอยู่ของครู โดยที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ข้อมูลจึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจและขับเคลื่อนนโยบายได้ดีที่สุด เช่น ประเทศออสเตรเลียเกิดวิกฤติ "แรงงานเหมืองแร่" ล้นตลาด นักศึกษาที่จบในปี 1990 ได้งานเพียงร้อยละ 10 เนื่องจากละเลยผลวิเคราะห์จากกระทรวงแรงงานและการศึกษาธิการที่ระบุว่า ออสเตรเลียจะไม่ได้ผูกขาดการผลิตแรงงานเหมืองแร่เพียงเจ้าเดียวอีกต่อไป นักเรียน ผู้ปกครองและครูจึงพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวในการวางแผนอนาคตการศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ให้ความมั่นใจว่า "ระบบสารสนเทศ" นี้จะไม่สร้างภาระเพิ่มให้ผู้ใช้ เพราะออกแบบให้คล้ายคลึงเอกสารที่ครูต้องบันทึกอยู่แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจากการบันทึกในกระดาษเป็นการบันทึกในระบบออนไลน์ เช่น การเข้าเรียน ผลสัมฤทธิ์ ความถนัด และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เป็นต้น แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่ระบบออนไลน์นี้สามารถประมวลข้อมูลที่ได้ทุกมิติ ทั้งพื้นฐานทางครอบครัว ร่างกายและข้อจำกัดต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งต่อข้อมูลจากชั้นประถมศึกษาสู่มัธยมศึกษาตอนปลาย ฐานข้อมูลรายบุคคลเหล่านี้จึงช่วยผู้เรียนได้เป็นรายกรณี ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อทีมแนะแนวของโรงเรียนในการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในการเลือกสาขาอาชีพ และวางแผน อนาคตทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์สุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการกำกับทิศทางโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งได้ร่วมกระบวนการทั้งสองวันได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจจากผลสำรวจทิศทางสังคมโลกในอีก 10 ข้างหน้า ของสสส.และ TDRI พบว่า มีแนวโน้มที่ตรงกัน 5 ประการได้แก่ 1) ต้องมีการกระจายอำนาจสู่พื้นที่มากขึ้นและลดทอนอำนาจส่วนกลางลง 2) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง ร้อยละ 32 3) ลักษณะวิถีชีวิตจะเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบท 4) มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น และ 5) มีการแข่งขันกันสูงขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ฉะนั้นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ให้เร็วที่สุด 2 ประการ ได้แก่ 1) กลไกในการขับเคลื่อนจังหวัดในลักษณะจิตอาสา ไม่ยึดติดกับอำนาจ 2) ระบบสารสนเทศ ที่ต้องไม่เป็นภาระและต่อยอดงานให้เกิดประโยชน์คืนกลับสู่ระบบงานเดิม

"ผมอยากให้กำลังใจคณะทำงานทุกท่านว่า เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่จะเกิดการงอกงามในพื้นที่ การเรียนรู้ครั้งนี้จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่มีใครได้หรือใครเสียทั้งหมด ก้าวต่อไปที่ควรทำร่วมกันคือ 1) ประมวลจุดแข็งของรูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ว่าแบบใดเหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ 2) กลไกจังหวัดต้องตอบโจทย์ภาระหน้าที่และมีกระบวนการทำอย่างไร และใครเป็นผู้ทำ และ 3) ควรมีการกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน ซึ่งเชื่อว่า ข้อมูลและเครื่องมือที่ทาง ม.นเรศวรได้พัฒนาขึ้นครอบคลุมเครือข่ายทั้งจังหวัด ฉะนั้นการทำงานอย่าทำงานคนเดียว ต้องทำทั้งจังหวัดจึงจะสำเร็จ"

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

 


ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปการศึกษา ?

ปฏิรูปการศึกษา ?


เปิดอ่าน 8,327 ครั้ง
อ่านอะไร...คนไทย?

อ่านอะไร...คนไทย?


เปิดอ่าน 7,679 ครั้ง
การศึกษาไทย 2.0

การศึกษาไทย 2.0


เปิดอ่าน 12,641 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

เปิดอ่าน 49,574 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 17,157 ☕ คลิกอ่านเลย

ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 15,379 ☕ คลิกอ่านเลย

จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
เปิดอ่าน 10,614 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง
ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง
เปิดอ่าน 8,492 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
เปิดอ่าน 34,013 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 9,143 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตำนานพระโกศ
ตำนานพระโกศ
เปิดอ่าน 20,399 ครั้ง

ประโยคเพื่อการสื่อสาร
ประโยคเพื่อการสื่อสาร
เปิดอ่าน 4,416 ครั้ง

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
เปิดอ่าน 121,500 ครั้ง

การใช้ตราสัญลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การใช้ตราสัญลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 35,894 ครั้ง

ฮอร์โมนเพศชายDHT-ต้นตอศีรษะล้าน
ฮอร์โมนเพศชายDHT-ต้นตอศีรษะล้าน
เปิดอ่าน 16,856 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ