ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"


บทความการศึกษา 10 พ.ย. 2557 เวลา 10:09 น. เปิดอ่าน : 20,573 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"

Advertisement

เพชร เหมือนพันธุ์

เกาหลีใต้เป็นชาติที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก บริษัท Pearson และ The Economic Intelligence : EIU ระบุว่า ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกคือ ฟินแลนด์เป็นอันดับที่ 1 และเกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 2 ขณะที่คุณภาพการศึกษาของไทยเรากำลังตกต่ำลงทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เราลองมองดูตัวอย่างของประเทศที่ประสบผลสำเร็จเพื่อใช้เป็นต้นแบบหรือตัวอย่าง เป็นเส้นทางลัดในการพัฒนา

เกาหลีใต้เป็นชาติที่เก่าแก่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เกิดเป็นชาติตามที่มีบันทึกไว้ตั้งแต่ 1,790 ก่อนสมัยพุทธกาล เมี่อ พ.ศ.434 เกาหลีได้ถูกชาติจีนเข้าครอบครองอยู่ 2 ครั้ง นับเวลารวมได้ถึง 500 ปี ภายใต้การปกครองของจีนทำให้ชาวเกาหลีได้รับเอาวัฒนธรรมจีนมาด้วย เช่น ตัวอักษรจีนศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื้อ

ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ยุคล่าอาณานิคม) เป็นเวลา 35 ปี ญี่ปุ่นได้สร้างบาดแผลที่ร้าวลึกในประวัติศาสตร์ของเกาหลีที่คนเกาหลีจำไม่ลืมในศตวรรษที่ 18 ญี่ปุ่นซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจชาติเดียวในอาเซียนในสมัยนั้นได้เลียนแบบการล่าอาณานิคมของฝรั่ง เข้ายึดผนวกเอาเกาหลีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

ญี่ปุ่นพยายามที่จะกลืนชาติเกาหลีให้เป็นญี่ปุ่น การกระทำใดๆ ที่เป็นแบบเกาหลีให้ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามสอนวิชาประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียน ทรัพย์สินที่มีค่าของเกาหลีถูกนำไปญี่ปุ่น ประชาชนถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็นญี่ปุ่น ล้มราชวงศ์เกาหลี ทำลายปราสาทราชวัง บังคับให้ชาวเกาหลีที่เก็บเกี่ยวข้าวได้แล้วส่งไปให้ญี่ปุ่น จนทำให้ชาวเกาหลีอยู่ในสภาพที่ยากจน ผู้ใดต่อต้านญี่ปุ่นจะถูกฆ่า ชาวเกาหลีจำนวนมากถูกชาวญี่ปุ่นบังคับให้ไปช่วยรบกับรัสเซียในช่วงสงครามญี่ปุ่น-รัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ชายชาวเกาหลีจำนวนมากถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรบในจีน สตรีเกาหลีจำนวนกว่า 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอทหารญี่ปุ่น

จนถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงกลับมาได้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้วก็ถูกมหาอำนาจที่ชนะสงครามโลก 4 ชาติ คือ รัสเซีย จีน อังกฤษ อเมริกา เข้ามาแบ่งแยกเกาหลีออกเป็นสองประเทศ ที่เส้นขนานที่ 38 เกาหลีใต้เกาหลีเหนือต้องมารบกันเอง แม้จะพยายามรวมประเทศอยู่หลายครั้งแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

บาดแผลที่เจ็บปวดและร้าวลึกทางประวัติศาสตร์กับญี่ปุ่นส่งผลให้เกาหลีใต้ต้องทุ่มเทพัฒนาขีดความสามารถของชาติให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจที่ตั้งอยู่รอบบ้าน ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน รัสเซียให้ได้ ความเจ็บปวดจากการถูกกดขี่บังคับของชาวญี่ปุ่นได้สร้างรอยแผลแห่งความโกรธแค้นที่ตกค้างในใจจนเกิดเป็น "สัญชาตญาณ ฮัน (Han)" อันเป็นอาการที่ยังคงมีความเจ็บปวดฝังลึกที่ไม่ได้ล้างแค้นจากอาการโกรธแค้น (Anger Illness) ยังอยู่ในหัวใจของคนเกาหลีทุกคน

ปัจจัย ความรู้สึก Han นี้เป็นคุณลักษณะที่ขับดันให้ชาวเกาหลีเกิดความสำเร็จในการสร้างชาติ เกิดเป็นอุดมการณ์ที่ได้ประกาศไว้ในหัวใจของทุกคนว่า "เกาหลีจะแพ้ชาติใดในโลกก็ได้ แต่ยกเว้นต้องไม่แพ้ญี่ปุ่น" ญี่ปุ่นจึงกลายเป็น Benchmark ของชาวเกาหลี ที่ใช้เป็นเพดานเกณฑ์มาตรฐาน เอาญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งขันเป็นเป้าหมายของความสำเร็จ

ปัจจัยความเชื่อทางศาสนา ขงจื้อ วัฒนธรรม ขงจื้อ ที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเกาหลี จะให้ความสำคัญต่อการศึกษา ยกย่องคนที่มีการศึกษาเป็นคนที่มีเกียรติ คนที่เรียนสูงจะได้รับการยอมรับได้รับการยกย่อง ชาวเกาหลีให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการจัดการศึกษาอย่างสูงยิ่ง พ่อแม่ผู้ปกครองจะพยายามทุ่มเทส่งลูกหลานของตนเองให้ได้เข้าเรียนหนังสือในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงสูง ลูกหลานชาวเกาหลีทุกคนจึงต้องแข่งขันขยันอดทนเรียน ลูกใครที่ได้รับการศึกษาดี สูงจะได้รับการยกย่อง ลูกหลานใครที่ได้รับการศึกษาต่ำ หรือไม่ประสบผลสำเร็จจะได้รับการดูถูกการแข่งขันกันสอบเข้าเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงเป็นแรงกดดันให้นักเรียนต้องทุ่มเทการเรียน ทั้งในโรงเรียนและเรียนพิเศษตลอดเวลาจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนหนักแบบหามรุ่งหามค่ำ ความขยันในการเรียนและการใฝ่รู้ใฝ่เรียนจึงถูกฝังอยู่ในสายเลือดของคนเกาหลี พ่อแม่ผู้ปกครองในยุค Baby Bloom ต่างทุ่มเท แข่งขันกันส่งลูกเข้าโรงเรียนเพื่อให้ลูกได้หนีจากความลำบากสมัยที่พ่อแม่เคยประสบมา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งให้เด็กในวัยเรียนฆ่าตัวตายสูง

วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ในปี พ.ศ.2540 ทำให้เด็กนักเรียนเกาหลีทุกคนต้องการความมั่นคงในชีวิตและความมั่นคงในการทำงาน เด็กเก่งๆ จึงหันมาเรียนครู เพราะอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีหน้ามีตา ได้รับการยอมรับ ทำให้เกาหลีใต้ได้เด็กเก่งได้คนเก่งมาเป็นครู

ประเทศเกาหลีมีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเพราะเกาหลีมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ วางแผนพัฒนาประเทศจนประสบผลสำเร็จ กล้าที่จะทุ่มงบประมาณอุดหนุนกลุ่มธุรกิจใหม่คือกลุ่มแชโบล Charbol (กลุ่ม Hyundai และ Samsung) จนสามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจให้ครอบคลุมไปทั่วโลก มีศักยภาพในการพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สารสนเทศ สร้างเครื่องยนต์อุตสาหกรรมหนัก สร้างกระแสวัฒนธรรม Kpop สร้างภาพยนตร์ถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีจนเกิดกระแสเกาหลีฟีเว่อร์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ทุกห้องเรียนมีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยกว่าหลายประเทศ

เกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 10 เมกะบิต (เฉลี่ยอยู่ที่ 14.6 เมกะบิต) เร็วที่สุดในโลก แซงญี่ปุ่น มีนโยบายให้นักเรียนทุกคนได้เรียนฟรีและมีอาหารกลางวันให้ฟรี

เกาหลีมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพมีทักษะแรงงานของประชากรสูง รัฐบาลสร้างระบบเว็บไซต์ EDUNET.20, EDUNET.T.or.kr ให้เป็นศูนย์การค้นคว้าของนักเรียนนักศึกษา สร้าง RISS.KR ให้เป็นศูนย์รวบรวมวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของทั่วโลกไว้ให้คนเกาหลีได้ศึกษาฟรี มีระบบเว็บไซต์ ระบบข้อมูลการศึกษาชาติ (ไนซ์-NEIS) เว็บไซต์ มีข้อมูลนักเรียนและอาจารย์ EDUNET ให้เป็นห้องสมุดดิจิตอล สร้างเว็บไซต์ระบบการเรียนรู้ Online สามารถเรียนได้ที่บ้านหรือเรียนได้ทุกสถานที่ทุกเวลา พัฒนาทักษะระบบไอทีให้กับครูผู้บริหารโรงเรียนจัดห้องเรียนประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียนคุณภาพ U Classroom ,ที่มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยจัดการศึกษา แบบ Smart Education เพื่อเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ให้เลิกการเรียนแบบ E-learning และ Mobile Learning นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.2 มีโน้ตบุ๊ก ระบบ iPod ทุกคน

การเรียนในหลักสูตรจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ เนื้อหาทางวิชาการ กิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งเด็กจะได้ออกไปเรียนนอกชั้นเรียนในชุมชนเรียนรู้อย่างสนุก และมีวิชาเลือกที่หลากหลายให้เลือกเรียนได้เลือกตามความสนใจของผู้เรียน เด็กนักเรียนจึงต้องมีวินัย มีความรับผิดชอบ ทำงานหนัก ชาตินิยมสูง และให้ความเคารพพ่อแม่ เชื่อฟังครูอาจารย์สูง

เด็กนักเรียนเกาหลีไปโรงเรียนปีหนึ่ง จำนวน 220 วัน (ประเทศไทย 200 วัน) นักเรียนที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาต้องเรียนวันละจำนวน 15 คาบ เวลาเรียนเริ่มตั้งแต่ 07.30-22.30 น. ช่วงเวลา 19.30-22.30 น. จะเป็นช่วงที่นักเรียนต้องเรียนด้วยตนเอง (Self Study) เด็กที่ขยันมากจะเรียนเพิ่มเกี่ยวกับวิชาการตลอดเวลาส่วนคนที่ขยันน้อยหน่อยก็จะเรียนกีฬา ศิลปะ คนตรี ในช่วงสอบเด็กจะไปเรียนพิเศษหรืออ่านหนังสือในห้องสมุดจนถึงตีหนึ่งตีสอง แล้วเมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า เจ็ดโมงเช้าก็ต้องไปเข้าเรียน ชีวิตเด็กนักเรียนเกาหลีจึงกดดันมาก

จากการฝึกการเรียนมาแบบนี้ตั้งแต่เด็ก ทำให้คนเกาหลีเป็นคนขยัน จริงจังกับชีวิต สังคมเกาหลีมีความเครียดสูง เวลาคนเกาหลีทำอะไรผิดนิดหน่อยก็จะฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายของคนเกาหลีจึงมีสูง ผู้เขียนมีเพื่อนเป็นชาวเกาหลีที่เข้ามาสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย

เธอบอกว่า เธอไม่ชอบระบบการศึกษาของเกาหลีเพราะมันกดดันมาก เรียนหนัก เด็กเครียดไม่มีความสุข

ส่วนประเทศไทยอะไรก็สบายไปหมด เด็กมาโรงเรียนก็เรียนแบบสบายๆ ถึงเด็กสอบตกก็ซ่อมได้ เรียนไม่ได้อะไรก็สบาย ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน

ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเกาหลีมหาโหด หิน การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียงครั้งเดียวตัดสินอนาคตของเด็กได้ เด็กจึงมีความเครียด พ่อแม่ยอมย้ายบ้านไปอยู่ใกล้โรงเรียนดีๆ เพื่อที่จะให้ลูกได้เรียนใกล้บ้าน บริษัทใหญ่ๆ รับแต่คนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยดังๆ ความคาดหวังสูงได้กดดันให้นักเรียนต้องแสดงความเข้มแข็งที่เหนือกว่า ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนแทนที่จะเป็นมิตรกลับกลายเป็นศัตรู กลายเป็นคู่แข่ง ส่งผลให้เกิดระบบอันธพาลในสถานศึกษา เด็กนักเรียนถูกเพื่อนกลั่นแกล้งรังแก ถูกทำร้ายทั้งในห้องเรียนห้องน้ำ ชั่วโมงพลศึกษา และในชุมชน เด็กจึงมีความก้าวร้าวสูง

ระบบการจัดชั้นเรียนของเกาหลีก็เหมือนกับประเทศไทยคือ 6-3-3-4 ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และอุดมศึกษา 4 ปี แต่ระบบการจัดหลักสูตรเนื้อหารายวิชา การวัดผลการเรียนรายวิชาการสอบไล่ และวิธีสอนไม่เหมือนกัน เป็นสาระที่นักปฏิรูปการศึกษาไทยควรให้ความสนใจ

ครูมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับเด็กสูง เด็กให้ความเคารพเชื่อฟังครู (Student Teacher Relationship) ครูมีวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพครูสร้างไมด์เซ็ตของนักเรียน Growth Mindset ครูสอนคิดแบบโซเครติส (Socratic Method) ครูได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถดูแลเด็กพิเศษได้ (Inclusion) ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับทางโรงเรียน (Parental Involvement)

แผนการปฏิรูปการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เกาหลีใต้จัดระบบ Smart Education ให้ทุกโรงเรียนเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนไปเป็นระบบดิจิตอล ใช้ตำราเรียนดิจิตอลแทนตำราเรียนที่เป็นกระดาษให้ทันในปี 2015 นี้ ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการสอน ทำให้เด็กอยากเรียนเพิ่มมากขึ้น นักเรียนเห็นภาพปรากฏและได้ดูวีดิทัศน์ ได้เห็นบทเรียนเสมือนจริง สามารถแก้ไขปัญหาบทเรียนได้ และสามารถค้นหาข้อมูลทางวิชาการได้ง่าย ช่วยให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เป็น สามารถเลือกข้อมูลได้หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษาเพื่ออนาคตในศตวรรษที่ 21 การศึกษาในอุดมคติ (Edutopia) เน้นจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Education Preparing for the Future) จัดการศึกษาแบบ Smart Education ใช้ห้องเรียน U classroom ใช้ตำราเรียนดิจิตอลแทนตำรากระดาษ เปิดโอกาสให้แก่ทุกคนได้เรียนรู้เต็มขีดความสามารถ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานที่มีทักษะมีขีดความสามารถที่ผสมผสานเรียนรู้และสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างดี มีจริยธรรม มีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองโลก

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาสามารถถ่ายโอนหน่วยการเรียนกันได้มีพันธะที่ศักดิ์สิทธิ์คือ Think Globally Act Locally เด็กมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาสามารถถ่ายโอนการเรียนกันได้ให้ถ่ายโอนหน่วยการเรียนได้ทุกสถาบันการศึกษา มีธนาคารหน่วยกิตส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีในทุกรายวิชาตลอดหลักสูตร สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เน้นการพัฒนาจริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ สุนทรียภาพและการสร้างสรรค์ การปฏิรูปการศึกษาต้องทำตลอดเวลา

 

 

ที่มา มติชน

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"


ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ:เกาหลีใต้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)


เปิดอ่าน 8,354 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

 ปิดเทอมนี้ให้ลูกวัยรุ่นทำอะไรดีนะ/ดร.แพง ชินพงศ์

ปิดเทอมนี้ให้ลูกวัยรุ่นทำอะไรดีนะ/ดร.แพง ชินพงศ์

เปิดอ่าน 21,555 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เฉลยข้อสอบผิด! บทเรียนในอดีต และปัจจุบัน
เฉลยข้อสอบผิด! บทเรียนในอดีต และปัจจุบัน
เปิดอ่าน 22,549 ☕ คลิกอ่านเลย

วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้
วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้
เปิดอ่าน 12,790 ☕ คลิกอ่านเลย

"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
เปิดอ่าน 9,545 ☕ คลิกอ่านเลย

ถอดบทเรียนปฏิรูปการศึกษาเวียดนาม ทำอย่างไรถึงสำเร็จ
ถอดบทเรียนปฏิรูปการศึกษาเวียดนาม ทำอย่างไรถึงสำเร็จ
เปิดอ่าน 15,771 ☕ คลิกอ่านเลย

สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
เปิดอ่าน 10,019 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
เปิดอ่าน 23,023 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำงานเกินกำลัง...ทำให้ป่วย
ทำงานเกินกำลัง...ทำให้ป่วย
เปิดอ่าน 9,275 ครั้ง

7 รายชื่อ นวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ 2552
7 รายชื่อ นวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ 2552
เปิดอ่าน 14,414 ครั้ง

รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
เปิดอ่าน 108,640 ครั้ง

โรคเหน็บชา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9
โรคเหน็บชา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9
เปิดอ่าน 21,769 ครั้ง

พบดาวฤกษ์ดวงใหม่ สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 10 ล้านเท่า
พบดาวฤกษ์ดวงใหม่ สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 10 ล้านเท่า
เปิดอ่าน 20,368 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ